ความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน และระดับความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม ของผู้สูงอายุ: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอนช้าง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น (ABILITY IN DAILY LIVING AND THE SEVERITY OF OSTEOARTHRITIS OF THE KNEEOF THE ELDERLY: DON CHANG HEALTH P
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน และระดับความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลดอนช้าง ทั้งสิ้น 454 คน สุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูล การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และประมาณค่าสัดส่วนด้วยสถิติ 95%CI
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เพศหญิงมีโรคประจำตัว ร้อยละ 63.24 ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 54.00 กลุ่มตัวอย่างที่มีโรคประจำตัว อายุเฉลี่ย 69.79 ปี (อายุ 60 – 89 ปี) กลุ่มที่ไม่มีโรคประจำตัว อายุเฉลี่ย 69.23 ปี (อายุ 60 – 93 ปี) ประวัติการป่วยด้วยโรคประจำตัว พบกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 44.93 มีโรคประจำตัว โดยพบว่าป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง มากที่สุด ร้อยละ 30.39 รองลงมาป่วยเป็นโรคเบาหวาน ร้อยละ 27.94 และมีโรคประจำตัวมากกว่า 1 โรค ร้อยละ 10.79 กลุ่มตัวอย่างจำแนกตามการป่วยด้วยโรคประจำตัว พบเป็นเพศชาย ร้อยละ 39.4 (95%CI : 32.5 ถึง 46.4) เป็นเพศหญิง ร้อยละ 48.8 (95%CI : 42.8 ถึง 54.8) มีอายุน้อยกว่า 71 ปี ร้อยละ 42.8 (95%CI : 37.0 ถึง 48.6) และอายุ 71 ปีขึ้นไป ร้อยละ 48.2 (95%CI : 40.8 ถึง 55.7) กลุ่มตัวอย่างมีความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน ร้อยละ 95.59 รองลงมาร้อยละ 3.92 สามารถพึ่งพาตนเองได้แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือ ในด้านความรุนแรงของโรคข้อเข้าเสื่อม กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 2.94 เป็นโรคข้อเสื่อมอย่างรุนแรง ร้อยละ 5.39 มีอาการข้อเข้าเสื่อมระดับปานกลาง และร้อยละ 15.69 เริ่มมีอาการข้อเข้าเสื่อม จากผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนดูแลสุขภาพผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ
This is a cross-sectional research aiming to study the ability in daily living and the severity of osteoarthritis of the knee. 454 research participants of this study were the elderly living in Don Chang Subdistrict area. The participants were derived from simple random sampling. The data was analyzed using frequency, percentage, average, standard deviation, maximum, and minimum and the proportion was estimated with 95 percent confidence interval.
The results showed as following. The majority of the participants were female. 63.24 percent of the female participants had congenital diseases and 54 percent had no congenital diseases. The average ages of these participants were 69.79 years old (60-89 years old) and 69.23 years old (60-93 years old) respectively. According to the patient history, 44.93 percent of the participants had congenital diseases. The most found disease was high blood pressure. Diabetes is the second most found disease, 27.94 percent. 10.79 percent of the participants had more than one congenital disease. The participants could be categorized according to their congenital diseases. 39.4 percent of the participants (95%CI: 32.5 to 46.4) were male and 48.8 percent (95%CI: 42.8to 54.8) were female. They were younger than 71 years old, 42.8 percent of the participants (95%CI: 37.0 to 48.6) while 48.2 percent (95%CI: 40.8 to 55.7) were older than 71 years old. 95.59 percent of the participants had the ability in daily living while 3.92 percent of the participants had some abilities to take care of themselves, but still needed some help from others. In the aspect of the severity of the osteoarthritis of the knee, the results showed that 2.94 percent of the participants had experienced severe osteoarthritis of the knee. 5.39 percent had experienced moderate osteoarthritis of the knee and 15.69 percent had just had some signs of osteoarthritis. The results of the study would be used in planning to take care of the elderly effectively.
Downloads
References
จำกัด.
[2] สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2556). สุขภาพผู้สูงอายุไทย. สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม2557.
จาก http://www.ipsr.mahidol.ac.th/ipsr-th/
[3] สำนักงานสถิติแห่งชาติกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2555). การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศ
ไทย ปี 2557. 0kd Service.nso.go.th/nso/-1pdf
[4] พิพัฒน์ เพิ่มพูน. (2553). ความรุนแรงของโรคและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมของโรงพยาบาลศิริ
ราช.ปริญญานิพนธ์ สาขาวิทยาการสังคมและการจัดการระบบสุขภาพ. นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศิลปากร.
[5] โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอนช้าง. (2556). รายงานการใช้ยาปีงบประมาณ 2556. ขอนแก่น.
[6] อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2551). ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานา.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences is licensed Under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivs 4.0 International (CC-BY-NC-ND 4.0) License, Unless Otherwise Stated. Please Read Journal Policies Page for More Information on Open Access, Copyright and Permissions.