แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (DEVELOPING QUALITY OF LIFE BASED ON THE PHILOSOPHY OF THE SUFFICIENCY ECONOMY)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวปฏิบัติของชุมชนที่เป็นเลิศในการวิเคราะห์ข้อมูลบัญชีครัวเรือนเพื่อการวางแผนชุมชน และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง วิธีวิจัยที่ใช้คือวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสังเคราะห์เอกสารโครงการความร่วมมือฯ จำนวน 44 ชุดและสัมภาษณ์เชิงลึกตัวแทนชุมชนที่เป็นเลิศ 17 จังหวัด จำนวน 34 คน นำผลการสัมภาษณ์มาออกแบบแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แล้วให้ผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คนรับรองแนวทางด้วยการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุมชนส่วนใหญ่ใช้สมุดบัญชีรายรับ-รายจ่าย ส่งผลให้ชุมชนรู้จักตนเอง ลดรายจ่าย มีการออม ลดต้นทุนการผลิต วางแผนชีวิตด้วยการปรับลดปลดหนี้ ตั้งวิสาหกิจชุมชน สวัสดิการชุมชน และศูนย์การเรียนรู้ 2) แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ยึดหลักความพอประมาณ หลักความมีเหตุผล หลักการมีภูมิคุ้มกันที่ดี และเงื่อนไขความรู้คู่คุณธรรม โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต 6 ขั้นตอน ได้แก่ การวิเคราะห์ชุมชน การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค การออกแบบแนวทางการพัฒนาชุมชน การวางแผนพัฒนาชุมชน การดำเนินงานตามแผน และ การติดตามและประเมินผล ทั้งนี้การพัฒนาต้องเป็นไปตามสภาพความเป็นจริง คำนึงถึงความสัมพันธ์กับสิ่งรอบข้าง ตอบสนองด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านการเรียนรู้ และ ด้านสุขภาวะ
This research study had two objectives: 1) to study practices of the best communities in analysis of household data for community planning, and 2) to study guidelines for developing quality of community life based on the Philosophy of the sufficiency economy. The qualitative research was used. The synthesis document projects 44 series. The researchers conducted in-depth interview with 34 representatives from best practice communities in 17 provinces. The interview results were used to design guidelines for developing quality of community life based on the Philosophy of the sufficiency economy. The research findings were:
1) most communities used income-expense record books led to community self-awareness, expense reduction, savings, production cost reduction, life planning through reduction of debts, set up community enterprise and community welfares, leaning center. 2) Guidelines for developing quality of life based on the Philosophy of the sufficiency economy included moderation, reasonableness, and reasonable immune, and two conditions of knowledge and virtue; with six steps for quality of life planning: community analysis; strengths, weaknesses, opportunities, threats analysis, community development design, community plan development, implement community plan, and evaluation and follow up study; the development based on real situations and circumstances, interconnected with surrounding, response to economic, social, culture, natural resources and environments, learning, and well-being.
Downloads
References
[2] พัทธนันท์ หรรษาภิรมย์โชค. (2556). คู่มือ..การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. นครปฐม: บ้านการพิมพ์.
[3] Krippendorff, Klaus. (1980). Conten Anaysis: An introduction to its methodology. California: SAGE.
[4] สุธีระ ประเสริฐสรรพ์. (2553). ถอดรหัสความหมายข้อมูลวิจัย: ฉบับนักวิจัยสามัญ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
[5] สนธยา พลศรี. (2545). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
[6] พระมหาสุทิตย์ อาภากโร (อบอุ่น); และ เขมณัฏฐ์ อินทรสุวรรณ. (2553). ตัวชี้วัด: กลยุทธ์การสร้างและการใช้เพื่อชุมชนเป็นสุข. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข.
[7] สถาบันการจัดการเพื่อชนบทและสังคม มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. (2552). แผนที่เดินทาง (Road Map) เศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนวิจัย.
[8] สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2553). คู่มือการประกวดผลงานตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ครั้งที่ 2. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2553, จาก http://122.155.0.114/enough2/web/Download.aspx
[9] โกวิทย์ พวงงาม. (2553). การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท บพิธการพิมพ์ จำกัด.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences is licensed Under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivs 4.0 International (CC-BY-NC-ND 4.0) License, Unless Otherwise Stated. Please Read Journal Policies Page for More Information on Open Access, Copyright and Permissions.