ตัวแบบพยากรณ์จำนวนผู้ว่างงานในประเทศไทย (FORECASTING MODEL FOR THE NUMBER OF UNEMPLOYED PERSON IN THAILAND)
Abstract
วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ คือ การศึกษาและพยากรณ์จำนวนผู้ว่างงานในประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลจากเว็บไซต์ของระบบฐานข้อมูลด้านสังคมและคุณภาพชีวิต ตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี 2545 ถึงไตรมาสที่ 4 ปี 2557 จำนวน 52 ค่า ผู้วิจัยได้แบ่งข้อมูลออกเป็น 2 ชุด ชุดที่ 1 คือ ข้อมูลตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี 2545 ถึงไตรมาสที่ 4 ปี 2556 จำนวน 48 ค่า สำหรับการสร้างตัวแบบพยากรณ์ด้วยวิธีการทางสถิติ 2 วิธี ได้แก่ วิธีบอกซ์-เจนกินส์ และวิธีการปรับเรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กำลังของวินเทอร์แบบคูณ ชุดที่ 2 คือ ข้อมูลตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ถึงไตรมาสที่ 4 ปี 2557 จำนวน 4 ค่า สำหรับการตรวจสอบความแม่นของตัวแบบพยากรณ์ด้วยเกณฑ์เปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย และเกณฑ์รากที่สองของความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ยที่ต่ำที่สุด ผลการวิจัยพบว่า วิธีบอกซ์-เจนกินส์มีความแม่นมากที่สุด อย่างไรก็ตาม ค่าพยากรณ์ของทั้ง 2 วิธี มีความน่าเชื่อถือ เนื่องจากไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
The purpose of this research was to study and forecast the number of unemployed person in Thailand. The data gathered from the website of Social and Quality of Life Database System during the first quarter, 2002 to the fourth quarter, 2014 (52 values) were used and divided into two categories. The first category had 48 values, which were the data during the first quarter, 2002 to the fourth quarter, 2013 for the modeling by the methods of Box-Jenkins and Winters’ multiplicative exponential smoothing. The second category had 4 values, which were the data from all four quarters in 2014 for checking the accuracy of the forecasting models via the criteria of the lowest mean absolute percentage error and root mean squared error. The results showed that, Box-Jenkins method was the most accurate. However, the forecast values of two methods were reliable because there was no statistically significant difference.
Downloads
References
การมีงานทำ และค่าจ้าง. สืบค้นเมื่อ 11 เมษายน 2558, จาก http://www.nesdb.go.th/
portals/0/news/plan/p4/m2_5.doc
[2] กองวิจัยตลาดแรงงาน กรมการจัดหางาน. (2557). แนวโน้มสถานการณ์กำลังแรงงาน การมีงาน ทำและการว่างงาน ปี 2557. สืบค้นเมื่อ 11 เมษายน 2558, จาก http://www.sskcat.ac.th/
doc/labormarket57.pdf
[3] ระบบฐานข้อมูลด้านสังคมและคุณภาพชีวิต. (2558). ผู้ว่างงาน จำแนกตามระดับการศึกษาที่
สำเร็จ ทั่วราชอาณาจักร ปี พ.ศ. 2545-2557. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2558, จาก
http://social.nesdb.go.th/SocialStat/StatReport_Final.aspx?reportid=411&template
=2R2C&yeartype=M&subcatid=9
[4] กัญญ์ลภัส มหิพันธุ์. (2555). การพยากรณ์อัตราการว่างงานในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์
ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
[5] ทรงศิริ แต้สมบัติ. (2549). การพยากรณ์เชิงปริมาณ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
[6] Box, G.E.P., Jenkins, G.M. and Reinsel, G.C. (1994). Time Series Analysis: Forecasting
and Control. 3rd ed. New Jersey: Prentice Hall.
[7] Bowerman, B.L. and O’Connell, R.T. (1993). Forecasting and Time Series: An Applied
Approach. 3rd ed. California: Duxbury Press.
[8] วรางคณา กีรติวิบูลย์. (2557). การพยากรณ์ปริมาณการส่งออกยางคอมปาวด์. วารสาร
วิทยาศาสตร์ มศว. 30(2): 41-56.
[9] Winters, P. (1960). Forecasting Sale by Exponentially Weighted Moving Average.
Management Science. 6(3): 324-342.
[10] สมเกียรติ เกตุเอี่ยม. (2548). เทคนิคการพยากรณ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. สงขลา: มหาวิทยาลัย
ทักษิณ.
[11] วรางคณา กีรติวิบูลย์. (2556). ตัวแบบพยากรณ์ราคาขายปลีกน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 ในเขต
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ (จากงานประชุมวิชาการ
ระดับชาติ มหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 23 ปี 2556). 16(3): 1-10.
[12] วรางคณา กีรติวิบูลย์. (2557). ตัวแบบพยากรณ์ปริมาณน้ำฝนจังหวัดสงขลา. วารสาร
มหาวิทยาลัยทักษิณ. 17(1): 40-48.
[13] วรางคณา กีรติวิบูลย์. (2557). การเปรียบเทียบวิธีการพยากรณ์ราคาไข่ไก่ด้วยวิธีบอกซ์-เจน
กินส์ และวิธีการปรับเรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กำลังของโฮลต์. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ.
17(2): 35-43.
[14] วรางคณา กีรติวิบูลย์. (2558). ตัวแบบพยากรณ์มูลค่าการส่งออกกุ้งสดแช่แข็งของประเทศ
ไทย. วารสารวิทยาศาสตร์ มข. 43(1): 148-162.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences is licensed Under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivs 4.0 International (CC-BY-NC-ND 4.0) License, Unless Otherwise Stated. Please Read Journal Policies Page for More Information on Open Access, Copyright and Permissions.