ตัวแบบพยากรณ์โอกาสการมีสถานภาพรอพินิจของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยทักษิณ (ACADEMIC PROBATION’S PROBABILITY FORECASTING MODEL FOR UNDERGRADUATE STUDENTS AT THAKSIN UNIVERSITY)
Abstract
วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ คือ การสร้างตัวแบบพยากรณ์โอกาสการมีสถานภาพรอพินิจของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยทักษิณ โดยพิจารณาปัจจัย จำนวน 14 ปัจจัย ที่คาดว่าจะมีอิทธิพลต่อสถานภาพของนิสิต ได้แก่ ด้านส่วนบุคคล ด้านระดับความรู้พื้นฐานก่อนเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย ด้านพฤติกรรมการเรียน ด้านความเชื่อในศักยภาพของตนเอง ด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ด้านอาจารย์ผู้สอน ด้านพฤติกรรมการสอน ด้านบรรยากาศในห้องเรียน ด้านหลักสูตร ด้านสาขาวิชาที่ศึกษาอยู่ ด้านสถาบันการศึกษา ด้านสภาพแวดล้อม ด้านกลุ่มเพื่อน และด้านครอบครัว ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นิสิตระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยทักษิณ ที่ลงทะเบียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 599 คน นำมาใช้สำหรับการสร้างตัวแบบพยากรณ์โอกาสการมีสถานภาพรอพินิจด้วยการวิเคราะห์การถดถอยลอจิสติก และตัวอย่างอีกจำนวน 128 คน นำมาใช้สำหรับการตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสมของตัวแบบพยากรณ์ที่สร้างขึ้น ตัวอย่างทั้ง 2 ชุดได้มาโดยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิอย่างมีระบบวงกลม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.984 ผลการวิจัยพบว่า ตัวแบบพยากรณ์ที่สร้างขึ้นมีค่าร้อยละความถูกต้องในการจำแนกกลุ่มสถานภาพของนิสิต ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ สถานภาพปกติ และสถานภาพรอพินิจ เท่ากับ ร้อยละ 82.68
The objective of this research was to create a forecasting model of the academic probation’s probability of undergraduate students at Thaksin University. Influential expected factors were factors of individual, basic knowledge before entering university, study habits, faith their potential, achievement motivation, lecturer, teaching behavior, classroom climate, curriculum, study field, educational institution, environmental, friends, and family. Samples used to study were 599 undergraduate students of Thaksin University who enrolled in the first semester of academic year 2015. This first sample was applied for the modeling to forecast the academic probation’s probability of undergraduate students at Thaksin University, by logistic regression analysis. The second sample of 128 undergraduate students applied for checking the accuracy of the forecasting model. All two samples obtained by circular stratified systematic sampling method. The data were collected by using questionnaire which had the reliability equal to 0.984. The result showed that the forecasting model had the percentage accuracy in the classification of academic probation of undergraduate students into 2 groups, normal status and academic probation, equals to 82.68%.
Downloads
References
นักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตปัตตานี. สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2558, จาก http://kb.psu.ac.th/psukb/
handle/2010/8422
[2] นารีรัตน์ ณ นุวงศ์. (2551). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อสถานภาพรอพินิจของนักศึกษาระดับ
ปริญญาตรี วิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ. สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2558, จาก
http://www.northbkk.ac.th/research/?news=research&id=000004
[3] มหาวิทยาลัยทักษิณ. (2558). ประวัติมหาวิทยาลัยทักษิณ: มหาวิทยาลัยทักษิณจากอดีตสู่
ปัจจุบัน. สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2558, จาก http://www.tsu.ac.th/about.php
[4] ประชุม สุวัตถี. (2552). การสำรวจด้วยตัวอย่าง: การชักตัวอย่างและการวิเคราะห์. กรุงเทพฯ:
โครงการส่งเสริมและพัฒนาเอกสาร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
[5] พเยาว์ ดีใจ; น้ำทิพย์ ไชยสวัสดิ์; ชญาภัทร์ กี่อาริโย; จอมขวัญ สุวรรณรักษ์;
และ พจนีย์ บุญนา. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการออกกลางคันตามความคิดเห็นของ
นักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
รายงานผลการวิจัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
[6] หฤษฎ์ เลิศอนันตกร. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษา คณะ
เศรษฐศาสตร์ (ภาคพิเศษ) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2558, จาก
http://library.cmu.ac.th/faculty/econ/Exer751409/2554/Exer2554_no288
[7] อุบลวรรณ เปรมศรีรัตน์. (2555). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของการเรียนในระดับ
ปริญญาโท นักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิต
พัฒนบริหารศาสตร์ และการประกันคุณภาพการศึกษา. รายงานผลการวิจัย. กรุงเทพฯ:
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
[8] เจตน์สฤษฎิ์ สังขพันธ์; เกษตรชัย และหีม; เก็ตถวา บุญปราการ; และ ชุติมา หวังเบ็ญหมัด.
(2556). โมเดลเชิงสาเหตุผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในภาวะรอพินิจของนักศึกษา
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2558, จาก
http://www.hu.ac.th/conference2013/Proceedings2013/pdf/Book3/Describe2
/341_137-150.pdf
[9] พรจันทร์ โพธินาค; สมุทร ชำนาญ; และ สุรัตน์ ไชยชมพู. (2556). ปัจจัยที่ส่งอิทธิพลต่อ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตที่มีผลการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา. 8(1): 46-62.
[10] สุวัทนา สงวนรัตน์. (2556). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการรอพินิจของนักศึกษาระดับ
ปริญญาตรี. ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร. 15(2): 151-162.
[11] อำนาจ วังจีน. (2557). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ทำให้นักศึกษาปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานครมี
สภาพรอพินิจ. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย
(สสอท.). 20(2): 136-147.
[12] วรางคณา กีรติวิบูลย์. (2558). การสร้างตัวแบบพยากรณ์โอกาสการถอนรายวิชาแคลคูลัส 1
ของนิสิตมหาวิทยาลัยทักษิณ. วารสาร มทร.อีสาน ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 8(2):
79-94.
[13] บุญชม ศรีสะอาด. (2543). การวิจัยทางการวัดผลและประเมินผล. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
[14] Cronbach, L.J. (1951). Coefficient Alpha and the Internal Structure of Test.
Psychometrika. 16(3): 297-334.
[15] กัลยา วานิชย์บัญชา. (2546). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for Windows. พิมพ์ครั้งที่ 3.
กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
[16] กัลยา วานิชย์บัญชา. (2552). การวิเคราะห์ข้อมูลหลายตัวแปร. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ:
ธรรมสาร.
[17] Johnson, R.A. and Wichern, D.W. (1998). Applied multivariate statistical analysis. 4th
ed. New Jersey: Prentice Hall.
[18] Anderson, T.W. (2003). An introduction to multivariate statistical analysis. 3rd ed. New
Jersey: Wiley.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences is licensed Under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivs 4.0 International (CC-BY-NC-ND 4.0) License, Unless Otherwise Stated. Please Read Journal Policies Page for More Information on Open Access, Copyright and Permissions.