การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรินทรวิโรฒ ที่เข้าศึกษาด้วยวิธีรับตรงและวิธีระบบรับกลาง ปีการศึกษา 2558 (A COMPARISON OF ACADEMIC ACHIEVEMENT BETWEEN THE FIRST YEAR STUDENTS OF SRINAKHARINWIROT UNIVERS

Authors

  • สุทธิวรรณ พีรศักดิ์โสภณ สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • เกียรติยศ กุลเดชชัยชาญ สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Keywords:

Metapragmatic awareness, Interlanguage pragmatics, Apologies, EFL learners, Pragmatic judgment

Abstract

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒได้ปรับเปลี่ยนวิธีการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
จากการรับตรงเป็นการยื่นคะแนนสอบวิชาสามัญ 7 วิชาและวิชา GAT – PAT ในปีการศึกษา 2558 ดังนั้น ผู้วิจัย
จึงสนใจที่จะศึกษาผลการเรียนเฉลี่ยสะสมของนิสิตชั้นปีที่ 1 ระหว่างกลุ่มที่เข้าศึกษาด้วยวิธีรับตรงและวิธีระบบ
รับกลางว่าแตกต่างกันหรือไม่ ใช้วิธีการวิจัยย้อนอดีต เครื่องมือวิจัยเป็นแบบบันทึกข้อมูล โดยแหล่งข้อมูลนำมาจากฐานข้อมูลงานทะเบียนนิสิตปริญญาตรีที่เข้าศึกษาปีการศึกษา 2558 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิการกระจาย และสถิติทดสอบ t-test

ผลการวิจัยพบว่า นิสิตชั้นปีที่ 1 ที่เข้าเรียนด้วยวิธีรับตรงมี เกรดเฉลี่ยสะสมหรือผลการเรียนเฉลี่ยสะสมของนิสิตก่อนเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่มากกว่า 3.00 ยกเว้นนิสิตคณะคณะพลศึกษา และวิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม ที่มีเกรดเฉลี่ยสะสมไม่ถึง 3.00 และนิสิตวิทยาลัยโพธิวิชชาลัยทั้งกลุ่มที่เข้าศึกษาด้วยวิธีรับตรงและวิธีระบบรับกลางมีเกรดเฉลี่ยสะสมไม่ถึง 3.00 สำหรับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1  โดยภาพรวมทั้งมหาวิทยาลัย พบว่านิสิตที่เข้าศึกษาทั้งสองวิธีนี้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่แตกต่างกัน
เมื่อพิจารณาแต่ละคณะ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชั้นปีที่ 1 ของนิสิตคณะมนุษยศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์  คณะสังคมศาสตร์ คณะพลศึกษา และคณะเภสัชศาสตร์ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นอกนั้นไม่แตกต่างกัน

 

 

Srinakharinwirot University has changed selecting students admitted directly by the university in academic year 2013 by submitting 7- subject scores and GAT-PAT scores. Thus the researcher would like to know how different learning achievement average score between the first year students admitted direct examination versus those admitted by admission. The study is Retrospective Cohort and is based on data collected by case record from Database Registration undergraduate students attended academic year 2558 whereas means, standard deviation, coefficient of variation and t-test were used in data analysis. 

The result found that the grade point average before studying in the university of the first year students who entered by direct examination was more than 3.00 mostly except the grade point average of the students  in the faculty of physical education and college of social communication innovation  were less than 3.00, furthermore the grade point average before studying in the university of students who entered by direct examination and admission in college of Bhodivijjalaya  was also less than 3.00. For the accumulative learning achievement of the first year students there was no different between two groups, direct examination and admission. When comparative based on faculty, the result found that  there were significantly different between direct examination and admission of faculty of humanities, faculty of science, faculty of social science, faculty of physical education and faculty of pharmacy. In other faculties, grade point average of the first year students enrolled the direct examination and admission were not significantly different.

Downloads

Download data is not yet available.

References

[1] สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2558). ระเบียบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีการศึกษา 2558. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
[2] ไพศาล หวังพานิช. (2526). การวัดผลการศึกษา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
[3] เอื้ออารี กัลวทานนท์; และ สรัญญา ชมฉัยยา. (2558). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลการเรียนเฉลี่ยระดับมัธยมศึกษาตอนปลายกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยสยาม. ใน การประชุมวิชาการ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2558. หน้า 423-430.
[4] พัชรี น้าวานิช; และ สัมมนา มูลสาร. (2550, พฤษภาคม – สิงหาคม). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานีที่รับโดยวิธีรับตรงกับวิธีเอนทรานซ์ โดยทบวงมหาวิทยาลัย รุ่นปีการศึกษา 2542–2543. วารสารวิชาการ ม.อบ. 9(2): 88-101.
[5] เบญจรินทร์ สันตติวงศ์ไชย; และ เอมิกา ศุขโต. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา
คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล. โครงการพิเศษ (เภสัชศาสตรบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
[6] วรวิทย์ กุลตังวัฒนา; และคณะ. (ม.ป.ป.). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิต
คณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ระหว่างนิสิตที่รับตรง รับผ่านสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและรับเพิ่มเติม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร. ใน การประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. ครั้งที่ 6. หน้า 1266 – 1272.
[7] สันต์ชัย เปี้ยมุขดา; อนุรักษ์ นวพรไพศาล; และ กรีฑายุทธ เพิงใหญ่. (2554). รายงานการวิจัยการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพที่ได้ผ่านการคัดเลือกโดยระบบโควต้า ระบบสอบตรงและระบบแอดมิชชัน (Admission). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.
[8] กาญดา คันศร; และ ธารารัตน์ กิตติตระการ. (2558, มกราคม-มิถุนายน). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิต
ที่เข้าศึกษาคณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2552. วารสารสาระคาม. 6(1): 1-17.
[9] พเยาว์ ดีใจ; พจนีย์ บุญนา; รติมากานต์ ห้วยหงษ์ทอง; อองาม เปรมสุข; และ อังสนา อนุชานันท์. (2556). รายงานวิจัยการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ประเภทโควตา
และการสอบคัดเลือกของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร กรณีศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

Downloads

Published

2018-05-15

How to Cite

พีรศักดิ์โสภณ ส., & กุลเดชชัยชาญ เ. (2018). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรินทรวิโรฒ ที่เข้าศึกษาด้วยวิธีรับตรงและวิธีระบบรับกลาง ปีการศึกษา 2558 (A COMPARISON OF ACADEMIC ACHIEVEMENT BETWEEN THE FIRST YEAR STUDENTS OF SRINAKHARINWIROT UNIVERS. Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences, 9(18, July-December), 220–229. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/123775