ประสิทธิผลและความพึงพอใจในการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านสื่อการสอนเสมือนจริง ในการดูแลแผลกดทับของนิสิตพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (STEM LEARNING APPROACH AND PROBLEM SOLVING USING THE 4WP FORMAT FOR MATHAYOMSUKSA III STUDENTS, PATUMWAN DEMONSTATION)
Keywords:
Effectiveness, Satisfaction, Vital Teaching Media, Pressure Injury, Nursing StudentAbstract
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษากึ่งทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาประสิทธิผลและความพึงพอใจของการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านสื่อเสมือนจริงในเรื่องของการดูแลแผลกดทับของนิสิตพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 111 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยสื่อประกอบการเรียนวิธีทำแผลกดทับด้วยตนเองผ่านสื่อการเรียนการสอนเสมือนจริงที่พัฒนาขึ้น และเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความรู้และทักษะการดูแลแผลกดทับ ความพึงพอใจที่พัฒนาขึ้น โดยจะเก็บข้อมูลก่อน-หลังการเรียนรู้ผ่านสื่อเสมือนจริง ผลการศึกษาวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ในเรื่องของแผลกดทับหลังการเรียนรู้ผ่านสื่อ (คะแนนเฉลี่ย 10.82 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.96) สูงกว่าก่อนการเรียนรู้ผ่านสื่อ (คะแนนเฉลี่ย 7.57 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.30) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ 0.000 มีทักษะการปฏิบัติการดูแลแผลกดทับในระดับดี (คะแนนมากกว่าร้อยละ 80) ร้อยละ 68.5 ในระดับความพึงพอใจทั้งในภาพรวมและรายด้านต่อการใช้สื่อเสมือนจริงอยู่ในระดับดีถึงดีมาก จากผลการศึกษาข้างต้นสามารถสรุปได้ว่าการเรียนรู้ผ่านสื่อการสอนที่มีสิ่งเร้า และตรงต่อความสนใจของผู้เรียน นอกจากนี้ยังเอื้อต่อการเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลาและสามารถเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนิสิตพยาบาลศาสตร์ได้ดียิ่งขึ้น
Downloads
References
[2] สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. (2552). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และแนวทางการปฏิบัติ. สืบค้นจาก http://www.mua.go.th/users/tqf-hed
[3] Piaget, Jean. (1950). The Psychology of Intelligence. New York: Routledge.
[4] ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[5] วิจารณ์ พานิช. (2555). การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงษ์.
[6] สำนักงานส่งเสริมส่งสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน. (2555). ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 คือ อย่างไร ?. สืบค้นจาก http://www.qlf.or.th/Home/Details?contentId=417
[7] Mishra, P. & Kereluik, K. (2011). What 21st Century Learning? A Review and a Synthesis. M. Koehler & P. Mishra (Eds.). In Proceedings of Society for Information Technology & Teacher Education International Conference 2011. pp. 3301-3312.
[8] สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. (ม.ป.พ.). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. 2560. สืบค้นจาก www.mua.go.th/users/tqf-hed/news/news6.php.
[9] สภาการพยาบาล. (ม.ป.พ.). กรอบยุทธศาสตร์สภาการพยาบาล พ.ศ. 2557-2561. สืบค้นจาก https://www.tnmc.or.th/news/107
[10] จิณพิชญ์ชา มะมม. (2555). บทบาทพยาบาลกับแผลกดทับ: ความท้าทายในการป้องกันและการดูแล. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 20(5), 478-490.
[11] สภาการพยาบาล. (2558, 12 สิงหาคม). คำประกาศสิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย. สืบค้นจากhttps://www.tnmc.or.th/images/userfiles/files/AA01.pdf
[12] พิกุล รักษ์ธรรม, สิริชัย ซ้ายโพธิ์กลาง, และอุไรวรรณ ขวัญทอง. (2559). แอนิเมชั่น เรื่อง สวยประหยัดสมุนไพรจัดให้. ปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิต (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.
[13] สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์. (2556). แนวคิดและหลักเกณฑ์ในการปรับหลักสูตรและสื่อการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ใน เอกสารสัมมนาการจัดทำยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดความรับผิดชอบ. หน้า 13-25. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
[14] ยืน ภู่วรวรรณ. (2538). การประยุกต์เทคโนโลยีทางด้านการศึกษา. ใน เอกสารสัมมนาทางวิชาการ เรื่องบทบาทและทิศทางเทคโนโลยี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
[15] วรรณิภา สายหล่า. (2560). Pressure Ulcer (Injury). สืบค้นจาก https://www.si.mahidol.ac.th/Th/division/nursing/NDivision/N_qd/admin/download_files/167_72_1.pdf
[16] รุ่งทิวา ชอบชื่น. (2556). Nursing Care in Pressure Sore. Srinagarind Medical Journal. 28 (suppl.), 41-46.
[17] สายฝน พรมเทพ, กฤติกา สังขวดี และปัญญา สังขวดี (2559). การพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนระบบปฏิบัติการแอนดรอย์ เรื่องกีฬาแบดมินตัน ใน การประชุมสัมมนาวิชาการราชภัฏนครสวรรค์วิจัยครั้งที่ 1. หน้า 739-750. นครสวรรค์: ราชภัฏนครสวรรค์.
[18] สุปาณี เสนาดิชัย. (2560). การพยาบาลพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: บริษัทจุดทองจำกัด.
[19] ชุติมาภรณ์ กังวาฬ. (2561). การพยาบาลเพื่อการดูแลแผล. ใน หนังสือคู่มือปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐาน. บรรณาธิการโดย ณัฐวรา จันทร์เอี่ยม, หน้า 90-110. นครนายก: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
[20] จันทกานต์ สถาพรวจนา, และสกนธ์ ม่วงสุก. (2557, มีนาคม). รายงานการวิจัย เรื่อง การออกแบบและ พัฒนาสื่อเรียนที่ใช้เทคโนโลยีออคเมนต์เตต. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. สืบค้นจาก https://repository.rmutr.ac.th/bitstream/handle/123456789/497/ Fulltext.pdf?sequence=1&isAllowed=y
[21] ณัฏฐ์ ดิษเจริญ, กลวัฒน์ พลเยี่ยม, พนิดา วังคะฮาต และปุริม จารุจำรัส. (2557). การพัฒนาการสื่อสารเรียนรู้เรื่องโครงสร้างอะตอมและพันธะเคมีด้วยเทคโนโลยีออกเมนเต๊ดเรียลลิตี้. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโลโลยีและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้. 5(1), 21-27.
[22] Ronan T Bree. (2017). Incorporating augmented reality to enrich student learning. Journal of Learning Development in Higher Education. Retrieved from https://journal.aldinhe.ac.uk/index.php/jldhe/article/view/400/pdf
[23] Hinshaw AS, and Atwood JR. (1982). A Patient Satisfaction Instrument: precision by replication. Nursing Research. 31, 170-175.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences is licensed Under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivs 4.0 International (CC-BY-NC-ND 4.0) License, Unless Otherwise Stated. Please Read Journal Policies Page for More Information on Open Access, Copyright and Permissions.