การวิเคราะห์ความยากจนของผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงราย (AN ANALYSIS OF THE POVERTY IN ELDERLY IN CHIANG RAI PROVINCE)

ผู้แต่ง

  • ปวีณา ลี้ตระกูล คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

ความยากจน, ผู้สูงอายุ, เมืองและชนบท

บทคัดย่อ

          การวิเคราะห์ความยากจนของผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา ได้แก่ 1) เพื่อวิเคราะห์รายได้ ฐานะทางเศรษฐกิจ และสถานการณ์ความยากจน ของผู้สูงอายุของจังหวัดเชียงราย และ 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความยากจนของผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงราย การศึกษาในครั้งนี้การวิจัยแบบผสม ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ของผู้สูงอายุ จำนวน 526 ตัวอย่าง และมีสนทนากลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับนโยบายผู้สูงอายุของท้องถิ่น ผลการศึกษาพบว่า รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของผู้สูงอายุรวม เท่ากับ 5,670.25 บาทต่อเดือน รายได้หลักของผู้สูงอายุมาจากการทำงานมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด และผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่มีเงินออมและไม่มีการเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยเกษียณ สำหรับสถานการณ์ความยากจนของผู้สูงอายุ พบว่า  สัดส่วนของผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงรายที่ตกอยู่ในความยากจน คิดเป็นร้อยละ 29.47 ช่องว่างความยากจน คิดเป็นร้อยละ 14.57 และความรุนแรงของความยากจน คิดเป็นร้อยละ 8.76 เมื่อจำแนกตามลักษณะต่าง ๆ พบว่า ผู้สูงอายุในพื้นที่เมืองมีสัดส่วนความยากจนน้อยกว่าผู้สูงอายุในพื้นที่ชนบท กลุ่มผู้สูงอายุตอนต้นมีสัดส่วนความยากจนน้อยกว่าผู้สูงอายุตอนกลางและผู้สูงอายุตอนปลาย ผู้สูงอายุเพศชายมีสัดส่วนความยากจนมากกว่าผู้สูงอายุเพศหญิง ในขณะที่ผู้สูงอายุที่อยู่ลำพังกับหลานมีสัดส่วนความยากจน มากกว่าผู้สูงอายุกลุ่มอื่น ๆ นอกจากนี้ผู้สูงอายุที่มีการศึกษาน้อยมีสัดส่วนความยากจนมากกว่ากลุ่มผู้สูงอายุที่มีการศึกษาสูง

          เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความยากจนโดยใช้แบบจำลองโพรบิต พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้ความยากจนของผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ ระดับการศึกษาต่ำ และการขาดเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณอายุ ในขณะที่ปัจจัยที่ส่งผลให้ความยากจนของผู้สูงอายุลดลง คือ การทำงานหลังเกษียณอายุ จำนวนบุตรที่มีชีวิตอยู่เพิ่มขึ้น การมีเงินออมในครัวเรือน และการอาศัยในพื้นที่เมือง  

          ดังนั้นแนวทางลดความยากจนของผู้สูงอายุและครัวเรือน ได้แก่ การส่งเสริมการทำงานของผู้สูงอายุ  การสนับสนุนการศึกษาตลอดชีวิต (Lifelong Education) กับคนทุกวัย เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุให้เป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพและมีทักษะเพื่อรองรับความต้องการของนายจ้างหรือสถานประกอบการได้
การเตรียมความพร้อมก่อนวัยเกษียณ และการส่งเสริมการระบบการออมในครัวเรือนเป็นการลดความเสี่ยงในสถานการณ์ที่คาดไม่ถึงของครัวเรือนที่มีผู้สูงอายุ นอกจากนี้การสร้างระบบเพื่อการแบ่งเบาภาระของสมาชิกที่มีภาระพึ่งพา โดยรัฐจำเป็นต้องคัดกรองครัวเรือนดังกล่าวและเฝ้าระวังกลุ่มนี้เป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นครัวเรือนที่เปราะบางที่ตกอยู่ในภาวะยากจนโดยง่าย


Downloads

References

[1] วาสนา อิ่มเอม. (2557). การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร : ไทยกับประเทศอาเซียน. ใน เอกสารประกอบการสัมมนา เรื่อง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรกับอนาคตการพัฒนาประเทศ. สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่วมกับกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
[2] คณะกรรมการปฏิรูประบบรองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. (2558). สรุปข้อเสนอการปฏิรูประบบเพื่อรองรับสังคมสูงวัย. สภาปฏิรูปแห่งชาติ.
[3] วรเวศม์ สุวรรณระดา, และปวีณา ลี้ตระกูล. (2557). โครงการศึกษาผลกระทบจากเบี้ยยังชีพต่อการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุและเศรษฐกิจในระดับชุมชน. วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับทุนสนับสนุนจากสหภาพยุโรป ดำเนินงานโดยมูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ และ HelpAge International.
[4] ธนาคารโลก. (2555). การลดปัญหาความยากจนของผู้สูงอายุในประเทศไทย : บทบาทของโครงการบำนาญและความช่วยเหลือทางสังคม. กรุงเทพฯ.
[5] มนสิการ กาญนะจิตรา. (2561, เมษายน-พฤษภาคม.). ผู้สูงอายุและความยากจน. จดหมายข่าวประชากรและการพัฒนา. 38(4). สืบค้นจาก http://www.newsletter.ipsr.mahidol.ac.th/index.php/2012-11-08-03-49-15/vol38-no4/125-popdev-vol38-no4/530-2018-04-02-00-33-38.html
[6] วรเวศม์ สุวรรณระดา. (2557). การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรกับผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม. ใน เอกสารประกอบการสัมมนา เรื่อง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรกับอนาคตการพัฒนาประเทศ.สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่วมกับกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
[7] Mohd Saidatukmal. (2014). Poverty Issues among Malaysian Elderly. In Proceeding of the Social Sciences Research ICSSR 2014. (e-ISBN 978-967-11768-7-0). 9-10 June 2014, Kota Kinabalu, Sabah, Malaysia.
[8] Khan, et al. (2017). Explore the Factors that Influence Elderly Poverty. Journal of Southeast Asian Research. 2017(2017). Article ID 938459. doi:10.5171/2017.938459
[9] อานันท์ชนก สกนธวัฒนท์. (2558). ความยากจนและความเหลื่อมล้ำ. สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ.
[10] อิศรา ศาสติศาสน์. (2554). การวัดและการสร้างตัวแบบทางเศรษฐศาสตร์เพื่อวิเคราะห์การกระจายรายได้. คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.
[11] Cai Fang, et al. (2012). Poverty and Vulnerability among China’s Rural Elderly. 29-43. doi.org/10.1596/9780821386859_CH02
[12] Urosevic, et al. (2015). Quality of Life of the Elderly in Urban and Rural Areas in Serbia. Vojnosanitetski Pregled. 72(11): 968-974. doi:10.2298/VSP140831107U.
[13] Jensen Leif, and McLaughlin K. Diane. (1997). The Escape from Poverty among Rural and Urban Elders. The Gerontologist. 37(4), 462-468.
[14] วรเวศม์ สุวรรณระดา, และคณะ. (2561). โครงการการศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันของการจ้างงานต่อเนื่องในสถานประกอบการและทัศนคติของนายจ้างในภาคเอกชน. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.).
[15] สมพร โกมารทัต, และคณะ. (2560). การสำรวจสถานะเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทประเทศไทย และทางเลือกมาตรการทางเศรษฐศาสตร์ สังคม และกฎหมาย เป้าหมายที่ 1 ขจัดความยากจน. ใน โครงการประสานงานการวิจัยเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-03-25

How to Cite

ลี้ตระกูล ป. . (2020). การวิเคราะห์ความยากจนของผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงราย (AN ANALYSIS OF THE POVERTY IN ELDERLY IN CHIANG RAI PROVINCE). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(22, July-December), 95–110. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/240646