ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวร่างกายของนิสิตคณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (FACTORS INFLUENCED ON PHYSICAL MOVEMENT OF FACULTY OF PHYSICAL EDUCATION STUDENT AT SRINAKHARINWIROT UNIVERSITY)

ผู้แต่ง

  • พิมพา ม่วงศิริธรรม ม่วงศิริธรรม

คำสำคัญ:

ปัจจัยพื้นฐาน (ภายใน), ปัจจัยสิ่งแวดล้อม (ภายนอก), การเคลื่อนไหวร่างกาย, นิสิต

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวร่างกายของนิสิตคณะพลศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตคณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 6 สาขาวิชา ได้แก่ พลศึกษา สุขศึกษา สุขศึกษาและพลศึกษา สันทนาการ วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย และสาธารณสุขศาสตร์ จำนวน 400 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีจำนวนทั้งหมด 59 ข้อ ซึ่งถามเกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐาน (ภายใน) และปัจจัยสิ่งแวดล้อม (ภายนอก) ที่ทำให้เคลื่อนไหวร่างกายมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่า ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที วิเคราะห์ความแปร ปรวนแบบทางเดียว ทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีของบอนเฟอโรนี และวิเคราะห์ปัจจัยโดยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) การเคลื่อนไหวร่างกายของนิสิตคณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีการออกกำลังกายมากกว่าหรือเท่ากับ 5 ครั้งต่อสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 29.30 โดยใช้เวลาใน การออกกำลังกายมากกว่าหรือเท่ากับ 60 นาทีต่อครั้ง คิดเป็นร้อยละ 36.50 และระดับความหนักที่ใช้ในการออกกำลังกายที่ทำให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยโดยวัดจากอัตราชีพจรที่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย คิดเป็นร้อยละ 36.00 2) ผลการวิเคราะห์กาเคลื่อนไหวร่าง กายของนิสิตคณะพลศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พบว่า มีความแตกต่างกันระหว่างเพศ และนิสิตที่เรียนสาขาวิชาต่างกันมีการเคลื่อนไหวร่างกายแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ปัจจัยมีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวร่างกายของนิสิตคณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒอยู่ในระดับมาก ( = 4.06, S.D. = 0.43) โดยพบว่า นิสิตคณะพลศึกษา มีการเคลื่อนไหวร่างกายอันเนื่องมาจากปัจจัยพื้นฐาน (ภายใน) อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.27, S.D. = 0.46) และปัจจัยสิ่งแวดล้อม (ภายนอก) อยู่ในระดับมาก ( = 3.76, S.D. = 0.60) 4) ผลการวิเคราะห์ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวร่างกายของนิสิตคณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พบว่า ปัจจัยพื้นฐานมีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวร่างกายของนิสิตชายแตกต่างกับนิสิตหญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และทั้งปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวร่างกายของนิสิตที่เรียนสาขาวิชาต่างกันและนิสิตที่มีลักษณะของการเคลื่อนไหวร่างกายที่ต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5) ปัจจัยพื้นฐานด้านแรงจูงใจในการออกกำลังกาย ปัจจัยสิ่งแวดล้อมด้านการสนับสนุนของครอบครัว การสนับสนุนของคณะ/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การมีกลุ่ม/การเป็นสมาชิกของกลุ่ม และความพร้อมของอุปกรณ์/สถานที่ สามารถร่วมกันพยากรณ์เพื่อจำแนกกลุ่มนิสิตที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายแตกต่างกันได้ร้อยละ 38 โดยปัจจัยพื้นฐานด้านแรงจูงใจในการออกกำลังกาย และปัจจัยสิ่งแวดล้อมด้านการสนับสนุนของครอบครัว การสนับสนุนของคณะ/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การมีกลุ่ม/การเป็นสมาชิกของกลุ่ม และความพร้อมของอุปกรณ์/สถานที่สามารถอธิบายการผันแปรการเคลื่อนไหวร่างกายของนิสิตสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกายได้ระหว่าง 25.05 - 103.17 หน่วย หมายถึงมีการเคลื่อนไหวร่างกายในชีวิตประจำวันน้อยกว่าที่ควรจะเป็นจนถึงการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างฉับไวเพื่อให้มีสุขภาพดี


Downloads

References

[1] สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี. 21 เซ็นจูรี่.
[2] สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
[3] ฉัตรชัย ประภัศร. (2560, กรกฎาคม-ธันวาคม). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกาย กรณีศึกษา: นักศึกษาสาขาการบัญชี และนักศึกษาสาขาการจัดการ ระดับปริญญาตรี ภาคพิเศษ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558. วารสารราชนครินทร์มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์. 20(2), 81-92.
[4] อรุณรัตน์ สารวิโรจน์, และกานดา จันทร์แย้ม. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. วารสารเกษตรศาสตร์ (สังคม). 35(2), 223-234.
[5] พงษ์เอก สุขใส. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการออกกำลังกายของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร. ใน รายงานการวิจัย. หน้า 1-129. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
[6] สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2558). การสำรวจพฤติกรรมการเล่นกีฬา หรือออกกำลังกายของประชาชน พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี. สืบค้นจาก http://164.115.22.104/NSOdatacenter/images/documents/doc_HealthS-58.pdf
[7] พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
[8] Kusinitz, I.; & M. Fine. (1995). Your Guide to Getting Fit. 3rd ed. Mountain View, California: Mayfield.
[9] ฐิติมา เมืองจันทร์. (2553). แรงจูงใจในการเล่นกรีฑาของนักเรียนโรงเรียนกีฬา. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (พลศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
[10] ชาคริต เทพรัตน์. (2540). ปัจจัยที่ทำนายพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (การส่งเสริมสุขภาพ). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
[11] สุดจิต ไตรประคอง, และคณะ. (2555, เมษายน-มิถุนายน). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของบุคลากรฝ่ายบริการพยาบาล โรงพยาบาลสงขลานครินทร์. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 20(2), 75-92.
[12] สมนึก แก้ววิไล. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อการออกกำลังกายของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
[13] วราภรณ์ คำรศ, และคณะ. (2556). พฤติกรรมและการเข้าถึงการออกกำลังกายของประชาชนในเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร. ใน รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม.
[14] Hanspeter Stamm, and Markus Lamprecht. (2005). Structural and Cultural Factors Influencing
Physical Activity in Switzerland. Journal of Public Health. 13(4), 203-211. Retrieved from http://www.springerlink.com
[15] นฤพนธ์ วงศ์จตุรภัทร. (2556, เมษายน). ความมั่นใจในการเล่นกีฬา: ตามหลักของการ บันดูรา. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬา. 13(153), 1513-2867.
[16] เกียรติศักดิ์ เจริญสุข. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของครูในจังหวัดนครพนม ปี พ.ศ.2550. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (พลศึกษา) กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
[17] Alejandro Silva Cortés, Ana María Correa-Díaz, Martha Luz Benjumea-Arias Alejandro Valencia- Arias, & Lemy Bran-Piedrahita. (2017). Motivational Factors and Effects Associated with Physical-Sport Practice in Undergraduate Students. In Procedia-Social and Behavioral Sciences. Published by Elsevier Ltd. 237(2017), 811-815. Retrieved from http://www.scienceDirect.com
[18] Symeon Dagkas, and Afroditi Stathi. (2007). Exploring Social and Environmental Factors Affecting Adolescent’s Participation in Physical Activity. European Physical Education Review. Published by Sage Ltd. 13(3), 369-384. Retrieved from http://epe.sagepub.com
[19] Alairu Aminat. (2016). Socio-Cultural Perspectives of Sport Participation Among Female Students in
Tertiary Institution in Kano State, Nigeria. World Scientific News. 25(2016), 37-44. Retrieved from http://www.worldscientificnews.com
[20] Zahra Salmani, and Hojat Allah Amini. (2014). Factors Affecting Female Participation in Sports Activities of Iranian Universities with Emphasis on Feminist Attitudes (Case Study: University of Tehran and Urmia University). Indian J.Sci. Res. 1(1), 31-37. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/272793659

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-03-25

How to Cite

ม่วงศิริธรรม พ. . (2020). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวร่างกายของนิสิตคณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (FACTORS INFLUENCED ON PHYSICAL MOVEMENT OF FACULTY OF PHYSICAL EDUCATION STUDENT AT SRINAKHARINWIROT UNIVERSITY). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(22, July-December), 141–161. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/240649