การศึกษาปัจจัยจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการลดน้ำหนักที่เหมาะสมของวัยรุ่น A STUDY OF PSYCHOSOCIAL FACTORS RELATED TO APPROPRIATE WEIGHT-LOSS BEHAVIORS OF ADOLESCENTS
คำสำคัญ:
ปัจจัยจิตสังคม, พฤติกรรมการลดน้ำหนัก, วัยรุ่นบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจิตลักษณะเดิม ได้แก่ เอกลักษณ์แห่งตนและลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน ปัจจัยสถานการณ์ ได้แก่ ตัวแบบภาพลักษณ์ทางกายและการเปิดรับข่าวสาร และปัจจัยจิตลักษณะตามสถานการณ์ ได้แก่ ทัศนคติต่อการลดน้ำหนักและความพึงพอใจในภาพลักษณ์ทางกายกับพฤติกรรมการลดน้ำหนักที่เหมาะสม 2) เพื่อทำนายพฤติกรรมการลดน้ำหนักที่เหมาะสม โดยใช้ปัจจัยจิตลักษณะเดิม ปัจจัยสถานการณ์ และปัจจัยจิตลักษณะตามสถานการณ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นวัยรุ่นตอนปลายคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 360 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณทั้งชนิดโดยรวม (Enter) และเป็นขั้น (Stepwise) ผลการวิจัยพบว่า 1. เอกลักษณ์แห่งตน ตัวแบบภาพลักษณ์ทางกาย การเปิดรับข่าวสาร และความพึงพอใจในภาพลักษณ์ทางกายมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการลดน้ำหนักที่เหมาะสม (**p>.01) ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการลดน้ำหนักที่เหมาะสม (*p>.05) 2. เอกลักษณ์แห่งตน ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน ตัวแบบภาพลักษณ์ทางกาย การเปิดรับข่าวสาร ทัศนคติต่อการลดน้ำหนัก และความพึงพอใจในภาพลักษณ์ทางกาย สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการลดน้ำหนักที่เหมาะสมได้ร้อยละ 33.9 และสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการลดน้ำหนักที่เหมาะสมในด้านการบริโภคร้อยละ 25.6 และด้านการออกกำลังกายร้อยละ 26.4 โดยตัวแปรที่สามารถทำนายพฤติกรรมการลดน้ำหนักที่เหมาะสมทั้งด้านการบริโภคและด้านการออกกำลังกาย ลำดับแรก คือ การเปิดรับข่าวสาร รองลงมา ได้แก่ เอกลักษณ์แห่งตน ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน และทัศนคติต่อการลดน้ำหนัก ตามลำดับ
Downloads
References
[2] Centers for Disease Control and Prevention. (2017). Youth Risk Behavior Surveillance - United States, 2017. Retrieved from https://www.cdc.gov/healthyyouth/data/yrbs/pdf/2017/ss6708.pdf
[3] Elena V. Zinovyeva, Tatyana V. Kazantseva, & Anna N. Nikonova. (2016). Self-esteem and Loneliness in Russian Adolescents with Body Dissatisfaction. Procedia – Social and Behavioral Sciences, 233, 367-371. doi:10.1016/j.sbspro.2016.10.160
[4] Cristi L. Kamps, & Steven L. Berman. (2011). Body image and identity formation: the role of identity distress. Revista Latinoamericana de Psicología, 43(2), 267-277.
[5] The National Eating Disorders Association’s NED Awareness Week. (2015). The War on Women's Bodies the Media, Body Hatred & Eating Disorders. Retrieved from http://newspaper.amsacs.org/a-spotlight-on-eating-disorders-and-help/
[6] Marika Tiggemann, & Amy Slater. (2017). Facebook and body image concern in adolescent girls: A prospective study. International Journal of Eating Disorders, 50(1), 80-83. doi:10.1002/eat.22640
[7] กุศลิน อินทชาญ, เบญจวรรณ โพแก้ว, พรรณธิกา เลี้ยงประเสริฐ, พิสมัย ดวงตะปะ, วรพีพร แซ่ลิ่ม, วลัยลักษณ์ อัคฮาด, และอาลิษา ศรีบุญเรือง. (2551). การศึกษาพฤติกรรมการลดความอ้วนของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
[8] วิชัย เอกพลากร. (2557). การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
[9] พินิจ ลิ้มสุคนธ์. (2551, ธันวาคม). ตายจากยาลดความอ้วน. หมอชาวบ้าน, 30(356), 10-11.
[10] Carlijn G. N. Voorend, Shane A. Norris, Paula L. Griffiths, Modiehi H. Sedibe, Marjan J. Westerman, & Colleen M. Doak. (2012). We eat together; today she buys, tomorrow I will buy the food: adolescent best friends’ food choices and dietary practices in Soweto, South Africa. Public Health Nutrition, 16(3), 559-567. doi:10.1017/S1368980012003254
[11] Anu Joki, Johanna Makela, & Mikael Fogelholm. (2017). Permissive flexibility in successful lifelong weight management: A qualitative study among Finnish men and women. Appetite, 116, 157-163. doi:https://doi.org/10.1016/j.appet.2017.04.031
[12] มารศรี ศรีบัวทอง. (2551). สาเหตุการสูญเสียเอกลักษณ์แห่งตนในผู้ป่วยโรคบกพร่องในการกิน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (จิตวิทยาการให้คำปรึกษา). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
[13] Erik H. Erikson. (1963). Childhood and society. 2nd ed. New York: Norton.
[14] Carole A. Bisogni, Margaret Jastran, Marc Seligson, & Alyssa Thompson. (2012). How People Interpret Healthy Eating: Contributions of Qualitative Research. Journal of Nutrition Education and Behavior, 44(4), 282-301. doi:https://doi.org/10.1016/j.jneb.2011.11.009
[15] ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2559). สื่อทศวรรษใต้ร่มทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
[16] Julian Rotter. (1954). Social Learning and Clinical Psychology. Englewood Cliffs, N.J.: Prentice Hall.
[17] Albert Bandura. (2006). Autobiography in M.G. Linsey & W.M. Runyan (Eds.) (Vol. 9). Washington, D.C.: American Psychological Association.
[18] นิจนันท์ มั่นจริง. (2551). การเปิดรับสื่อ ความรู้ และการมีส่วนร่วมในปัญหาความรุนแรงต่อสตรีในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารศาสตรมหาบัณฑิต (สื่อสารมวลชน). คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
[19] Mary L. Gavin. (2018). The Deal with Diets. Retrieved from https://kidshealth.org/en/teens/dieting.html
[20] Justin Healey. (2014). Positive Body Image: The Spinney Press.
[21] นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2543). พรมแดนความรู้ด้านการวิจัยและสถิติ : รวมบทความทางวิชาการของ ดร.นงลักษณ์ วิรัชชัย. ชลบุรี: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
[22] Joseph F. Hair, William C. Balck, Barry J. Babin, & Rolph E. Anderson. (2010). Multivariate Data Analysis: A Global Perspective. New Jersey: Pearson Prentice Hall.
[23] อุษา ศรีจินดารัตน์. (2533). พัฒนาการของเอกลักษณ์แห่งอีโก้ที่เกี่ยวกับการรับรู้คุณค่าของการทำงานและการรับรู้คุณค่าของศาสนาในวัยรุ่นไทยภาคใต้. ปริญญานิพนธ์ วท.ม. (การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
[24] ยุภาวรรณ ดวงอินตา. (2549). การวิจัยเพื่อสร้างแบบวัดลักษณะมุ่งอนาคต ควบคุมตนสำหรับนักศึกษา. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
[25] Sitsira-at, S. (2018). A Study of Psychosocial Factors Related to Preserving Thai Traditions of Undergraduate Students. International Journal of Engineering & Technology, 7(4.38), 1314-1318.
[26] สุรีรัตน์ รงเรือง. (2554, มกราคม). พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วารสารพฤติกรรมศาสตร์. 17(1), 109-123.
[27] Yun Doshik, & Silk Kami J. (2011). Social Norms, Self-identity, and Attention to Social Comparison Information in the Context of Exercise and Healthy Diet Behavior. Health Communication, 26(3), 275-285. doi:10.1080/10410236.2010.549814
[28] Cobb-Clark Deborah A., Kassenboehmer Sonja C., & Schurer Stefanie. (2014). Healthy habits: The connection between diet, exercise, and locus of control. Journal of Economic Behavior & Organization, 98, 1-28. doi:https://doi.org/10.1016/j.jebo.2013.10.011
[29] ดุจเดือน พันธุมนาวิน. (2558). ปัจจัยเชิงเหตุของพฤติกรรมเสี่ยงอย่างมีสติของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาการวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 21(1), 75-94.
[30] ภัคพล นันตาวิราช. (2551). แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ทัศนคติต่อการออกกำลังกาย และความเชื่ออำนาจภายในตนที่พยากรณ์พฤติกรรมออกกำลังกายของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
[31] รวีวรรณ อังคนุรักษ์พันธุ์. (2533). เอกสารคำสอนวิชา วผ 306 : การวัดทัศนคติเบื้องต้น. ชลบุรี: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยบูรพา.
[32] Jr. William C Shiel. (2018). Weight Loss: Symptoms & Signs. Retrieved from https://www.medicinenet.com/weight_loss/symptoms.htm
[33] ศศิภา โรจน์จิรนันท์, และอังคณา ขันตรีจิตรานนท์. (2559, พฤษภาคม-สิงหาคม). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนในกรุงเทพมหานคร. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 31(2), 97-105.
[34] ณัฐกฤตา นันทะสิน. (2558, มกราคม-มิถุนายน). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคและความภักดีต่ออาหารเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารกระแสวัฒนธรรม, 16
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivs 4.0 International (CC-BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของวารสารสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต