การสังเคราะห์งานวิจัยการจัดการเรียนรู้ของอาจารย์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน A SYNTHESIS RESEARCH OF TEACHER’S LEARNING MANAGEMENT, PATUMWAN DEMONSTRATION SCHOOL, SRINAKHARINWIROT UNIVERSITY
คำสำคัญ:
การสังเคราะห์, งานวิจัย, การจัดการเรียนรู้บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสังเคราะห์วิธีดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย ประชากรที่ศึกษา ประเภทของการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ผลการวิจัย และสถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล 2) เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้/นวัตกรรมจากผลงานวิจัยการจัดการเรียนรู้ของอาจารย์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน กลุ่มตัวอย่างเป็นงานวิจัยการจัดการเรียนรู้ของอาจารย์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน ที่แล้วเสร็จในปีการศึกษา 2553-2561 จำนวน 25 เรื่อง ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง การสังเคราะห์ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ผลการสังเคราะห์วิจัย สรุปได้ ดังนี้ 1. ผลการสังเคราะห์วิธีดำเนินการวิจัยพบว่า มีการเก็บข้อมูลมาจากกลุ่มตัวอย่างมากที่สุด (96%) การเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นการสุ่มแบบกลุ่มมากที่สุด (48%) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้มากที่สุดเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (32%) เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยมากที่สุดคือวิชาวิทยาศาสตร์ (28%) ใช้ระเบียบวิจัยเชิงทดลองมากที่สุด (76%) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ ชุดการเรียนการสอนและชุดกิจกรรม งานวิจัยส่วนใหญ่มีตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ 1 ตัวแปร และตัวแปรตาม 1 ตัวแปร แบบแผนการวิจัยในงานวิจัยที่นำมาใช้มากที่สุดคือ Randomized One Group Pretest-Posttest Design (68%) การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ในงานวิจัยที่ใช้มากที่สุดคือความเที่ยงตรง (80%) งานวิจัยทุกเรื่องมีการวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน สรุปผล ตามสมมติฐานการวิจัย ข้อความรู้ที่ได้จากงานวิจัยทุกเรื่องสามารถนําไปใช้ได้จริง สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนใหญ่ คือ ค่าเฉลี่ย (88%) และค่า t-test (60%) 2. ด้านองค์ความรู้/นวัตกรรมของงานวิจัยพบว่า งานวิจัยการจัดการเรียนรู้ของอาจารย์ จะเป็นชุดกิจกรรม ชุดการเรียนการสอน ชุดฝึกทักษะ ชุดปฏิบัติการ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้ แบบต่าง ๆ เช่น แนวคิด CISST การจัดการเรียนรู้แบบ 5E การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง การจัดกิจกรรม 4WP Model การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก ซึ่งเป็นการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย การประเมินผลจัดการเรียนรู้ของอาจารย์มีการใช้แบบทดสอบ และแบบประเมินทักษะด้านต่าง ๆ ช่วยในการเก็บข้อมูล ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรมด้านต่าง ๆ สูงขึ้น นักเรียนสามารถสร้างสรรค์ผลงานจากกิจกรรมทัศนศิลป์ตามแนวคิด CISST ในด้านความคิดสร้างสรรค์ นักเรียนสามารถใช้ชุดกิจกรรมแนะแนว ช่วยในการตัดสินใจเลือกแผนการเรียนและอาชีพ พฤติกรรมการทำงานกลุ่มในการทำกิจกรรม 4WP Model ดีขึ้น การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยวิธี 360 องศา ช่วยให้การประเมินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 3. การนําผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ของงานวิจัยจะเป็นการนำไปใช้ในการเรียนการสอน หรือเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีการเผยแพร่งานวิจัย จำนวน 9 เรื่อง ในการประชุมนำเสนองานวิจัยหรือการลงวารสาร เช่น การจัดประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 5 วารสารวิจัยรำไพพรรณี วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วารสารบรรณศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) และ Review of Integrative Business and Economics Research
Downloads
References
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
วิชัย แหวนเพชร, และคณะ. (2554). รายงานการวิจัย การสังเคราะห์งานวิจัยด้านพัฒนาการเรียนการสอนของคณาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
กุลธิดา กุลประฑีปัญญา, จำลอง วงษ์ประเสริฐ, และอวยพร เรืองตระกูล. (2556). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับคุณภาพการศึกษาพยาบาลไทย: การวิเคราะห์อภิมาน (Meta–Analysis). Nursing Journal of the Ministry of Public Health, 25(2), 71-87.
จีราภรณ์ สุธัมมสภา, และสุรีย์ เข็มทอง. (2554). การสังเคราะห์วิทยานิพนธ์ของหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อุทุมพร พันธ์ชมภู. (2555). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับวิธีการจัดการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อการเรียนคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา : โดยการวิเคราะห์อภิมาน. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (การวิจัยการศึกษา). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ยุวลักษณ์ แสงโทโพ. (2548). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับนวัตกรรมการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ โดยการวิเคราะห์อภิมาน. วิทยานิพนธ์การวิจัยการศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อนันต์ เฮงสุวรรณ. (2555). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการส่งเสริมพฤติกรรมการอ่านของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สารนิพนธ์ กศ.ม. (การบริหาการศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศิวาลัย โนนคํา. (2552). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ระหว่างปี พ.ศ. 2546-2550. วิทยานิพนธ์ ค.ม. เพชรบูรณ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
ศิริพร ข่าขันมะลี. (2559). การสังเคราะห์งานวิจัยการจัดการเรียนการสอนวิชาเคมีที่ส่งผลต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการวิเคราะห์อภิมาน. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (วิจัยและประเมินผลการศึกษา) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปริวัตร เขื่อนแก้ว. (2551). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการเรียนการสอนและการประเมินผลในระดับ การศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (การวิจัยและสถิติการศึกษา). เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
กมลทิพย์ ยงใจยุทธ. (2558). การสังเคราะห์งานวิทยานิพนธ์สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาสารคามระหว่างปี พ.ศ. 2545-2555. ค.ม. (วิจัยและประเมินผลการศึกษา) มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สุนทรา โตบัว. (2555). การสังเคราะห์งานวิจัยที่ได้รับทุนจากภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ใน รายงานวิจัย. ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Schmid, Richard F., & others. (2009, August). Technology's Effect on Achievement in Higher Education: A Stage I Meta-Analysis of Classroom Applications. Journal of Computing in Higher Education, 21(2), 95-109.
Al-halal, Ahmad J. (2001). The Effect of Individualistic Learning and Cooperative Learning Strategies on Elementary Students’ Mathematics Achievement and use of Social Skills. In Dissertation Abstracts International. 62(05), 1697-A.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivs 4.0 International (CC-BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของวารสารสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต