ความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพและการเลี้ยงดูของครอบครัวกับการติด สมาร์ตโฟนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 THE CORRELATION BETWEEN FAMILY RELATIONSHIP, PARENTING STYLE, AND SMARTPHONE ADDICTION AMONG 7th TO 12th GRADERS
คำสำคัญ:
การติดสมาร์ตโฟน, สัมพันธภาพ, การเลี้ยงดูของครอบครัว, นักเรียนบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปริมาณนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพและการเลี้ยงดู ของครอบครัวกับการติดสมาร์ตโฟนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามในปี พ.ศ. 2562 จำนวนผู้ตอบแบบสอมถาม 419 คน ในโรงเรียนแห่งหนึ่งในตำบลพยุหะ จังหวัดนครสวรรค์ และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยการวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติกแบบทวิภาค (Binary Logistic Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่า สัมพันธภาพและการเลี้ยงดูของครอบครัวมีความสัมพันธ์กับการติดสมาร์ตโฟนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 โดยนักเรียนที่มีสัมพันธภาพแบบธรรมดาและไม่ดีต่อครอบครัวมีสัดส่วนความเสี่ยงที่จะคลั่งไคล้และน่าจะติดสมาร์ตโฟนมากกว่านักเรียนที่มีสัมพันธภาพที่ดีต่อครอบครัวเป็น 2.2 เท่า (OR = 2.277, p = 0.011) และนักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบตามใจหรือถูกปล่อยปละละเลยหรือเข้มงวดมากเกินไปมีสัดส่วนความเสี่ยงที่จะคลั่งไคล้และน่าจะติดสมาร์ตโฟนมากกว่านักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบให้อิสระอย่างมีขอบเขตและไม่เข้มงวดจนเกินไปเป็น 1.9 เท่า (OR = 1.887, p = 0.031) นอกจากนี้ยังพบว่าตัวแปรเพศ กิจกรรมที่ใช้บนสมาร์ตโฟน ระยะเวลาการใช้ และทัศนคติในการใช้สมาร์ตโฟน มีความสัมพันธ์กับการติดสมาร์ตโฟนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อมูลดังกล่าวสะท้อนว่า การสร้างสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว การอบรมเลี้ยงดูบุตรหลานแบบให้มีอิสระอย่างมีขอบเขตและไม่เข้มงวดจนเกินไป จะช่วยให้นักเรียนมีโอกาสติดสมาร์ตโฟนน้อยลง
Downloads
References
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). การสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2561 (ไตรมาส 4). กรุงเทพฯ: สำนักสถิติพยากรณ์.
วาสนา ศิลางาม. (2561). อันตรายของการเสพติดสมาร์ตโฟน. วารสาร มฉก.วิชาการ, 22(43-44), 193-204.
จุฑามาศ กิติศรี, รัญชนา หน่อคา, และคนึงนิจ เพชรรัตน์. (2560). พฤติกรรมการใช้สมาร์ตโฟนและการรับรู้ภาวะสุขภาพของนักศึกษาพยาบาล. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน, 5(1), 19-34.
Moon, J.H., Kim, K.W., & Moon, N.J. (2016). Smartphone use is a risk factor for pediatric dry eye disease according to region and age: A case control study. Retrieved from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5084437 Doi:10.1186/s12886-016-0364-4
Lemola, S., Perkinson-Gloor, N., Brand, S., Dewald-Kaufmann, J.F., & Grob, A. (2015). Adolescents’ electronic media use at night, sleep disturbance, and depressive symptoms in the smartphone age. Journal of Youth and Adolescence, 44(2), 405-418.
İnal, E.E., Demİrcİ, K., Çetİntürk, A., Akgönül, M., & Savaş, S. (2015). Effects of smartphone overuse on hand function, pinch strength, and the median nerve: smartphone overuse. MUSCLES & NERVE, 52(2), 183-188.
สุภาวดี เจริญวานิช. (2557). พฤติกรรมการติดเกม: ผลกระทบและการป้องกัน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 22(6), 871-879.
ปริญญ์ ศรีวรสาร. (2555). การเสพติดโทรศัพท์มือถือแบล็คเบอรี่ กรณีศึกษาวัยรุ่นในเขตเทศบาลนครขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (ภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการสื่อสารและการพัฒนา). นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
Botha, F., Wouters, E., & Booysen, F. (2017). Validity and reliability of the Family Attachment and Changeability Index (FACI8) in South Africa. Retrieved from https://www.researchgate.net/ publication/326632151_Validity_and_reliability_of_the_Family_Attachment_and_
Changeability_Index_FACI8_in_South_Africa
จุฬาลักษณ์ สมภารวงค์. (2552). เชาว์อารมณ์ รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูของบิดามารดากับการจัดการความขัดแย้งของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง. วิทยานิพนธ์. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชาญวิทย์ พรนภดล. (2554). แบบทดสอบการติดเกม GAST. สืบค้นจาก http://www1.si.mahidol.ac.th/Healtygamer/webform/430
Silverstein, M., & Bengtson, V. L. (1997). Intergenerational Solidarity and the Structure of Adult Child–Parent Relations in American Families. American Journal of Sociology, 103(2), 429-460.
จันทกานติ์ ตันเจริญพานิช. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างประชากรต่างรุ่น: การทบทวนวรรณกรรม. ใน เอกสารการประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 7. หน้า 1376-1383. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.
กัลยา วานิชย์บัญชา, และฐิตา วานิย์บัญชา. (2558). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามลดา.
เฉลิมพงษ์ จันทร์สุขา. (2559). พฤติกรรมการใช้สมาร์ตโฟนกับสังคมก้มหน้า: กรณีศึกษานักศึกษาระดับอุดมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (พัฒนาสังคมและมนุษย์). เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
Farrell, M.P., & Branes, G.M. (1993). Family Systems and Social Support: A Test of the Effects of Cohesion and Adaptability on the Functioning of Parents and Adolescents. Journal of Marriage and the Family, 55(1), 119-132.
สุรเชษฐ์ เวชกามา. (2551). สาเหตุการติดเกมคอมพิวเตอร์ของนักเรียนในเขตเทศบาลนครขอนแก่นช่วงชั้นที่ 2-4. วิทยานิพนธ์ (เทคโนโลยีการศึกษา). มหาสารคาม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปัทมา อนุมาศ. (2552). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการติดเกมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์. นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivs 4.0 International (CC-BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของวารสารสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต