เหม เวชกร : ชีวิตและผลงานในอัตลักษณ์ไทย

ผู้แต่ง

  • สาธิต ทิมวัฒนบรรเทิง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

เหม เวชกร, ภาพประกอบ, อัตลักษณ์ไทย, ภาพลักษณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยศึกษาจากเอกสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาชีวิตและประสบการณ์การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะภาพสะท้อนสังคมและวัฒนธรรมผ่านผลงานภาพประกอบ และ 2. ศึกษาการพัฒนาการในแวดวงศิลปะไทยร่วมสมัยกับเหม เวชกร มาจนถึงปัจจุบัน โดยศึกษาและวิเคราะห์ด้วยการใช้เกณฑ์ 1. แนวคิดในเนื้อเรื่องและรูปแบบอัตลักษณ์ไทย 2. หลักการทางศิลปะ การจัดวางองค์ประกอบของภาพ และการใช้สี ผลการศึกษาพบว่า เหม เวชกร ไม่ได้ผ่านการเรียนศิลปะมาตามระบบ ครูสอนศิลปะคนแรกโดยบังเอิญเป็นชาวอิตาลีชื่อ คาร์โล ริโกลิ โดยมีพื้นฐานของครอบครัวที่แตกแยก แต่มีพรสวรรค์ในการวาดภาพเป็นที่ตรึงตราใจต่อสังคมไทยในยุคนั้นเป็นอย่างยิ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 โปรดฝีมือการวาดภาพของครูเหม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รับเขาไว้เป็นจิตรกรในพระบรมราชานุเคราะห์ ผลงานที่นํามาวิเคราะห์เป็นการวิเคราะห์จากประวัติชีวิตของสุนทรภู่ ผ่านภาพวาด จำนวน 3 ภาพ คือ ภาพ “ผู้เริ่มเห็นโลกพร้อมกับความเศร้าใจ” ภาพ “เมื่อยากไร้กายเราก็เท่านี้ ไม่มีพสุธาจะอาศัย” ภาพ “รสชีวิต” จากภาพนางงามในวรรณคดี จำนวน 6 ภาพ คือ ภาพ “พิมพิลาไล” ภาพ “กากี” ภาพ “ไกร ทอง” ภาพ “มัทรี” ภาพ “พระเพื่อนพระแพง” ภาพ “รจนา” และ ภาพ “ผีไทย” ภาพ “เราหยุดแล้ว แต่ท่านยังไม่หยุด” ภาพ “ให้ชีพชื่นเหมือนบรรเลงเพลงสวรรค์” ได้สะท้อนแนวคิดผ่านการวาดภาพด้วยการนําภาพผลงานบางส่วนเป็นภาพตัวแทน จากจำนวนผลงานของเหม เวชกร ซึ่งกล่าวกันว่ามีจำนวนสี่หมื่นกว่าภาพ ที่เป็นเพียงภาพประกอบอยู่ในหนังสือหรือสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ดังที่ผ่านมา แต่ในสภาพของสังคมยุคปัจจุบัน ผลงานดังกล่าวได้กลับกลายเป็นผลงานที่ทรงคุณค่าและมูลค่า ด้วยจากการที่ เหม เวชกรมีวัตรปฏิบัติจากบุคคลธรรมดาคนหนึ่งและไม่ผ่านการศึกษาด้านศิลปะจากสถาบันใด ที่ได้รังสรรค์ผลงานเป็นที่ประจักษ์ต่อวงการศิลปะตามที่ผ่านมาจนมาสู่ยุคปัจจุบันที่ได้ก้าวผ่านจากภาพประกอบถูกตีความใหม่ให้เป็นผลงานศิลปะที่ทรงคุณค่าไปสู่ผลงานที่สะท้อนความคิดและจินตนาการอย่างไม่มีที่สิ้นสุดได้ด้วยเช่นกัน

Downloads

References

หนังสือพิมพ์. (2562). น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ เดินตามรอยเบื้องพระยุคลบาท คำพ่อสอน. แนวหน้า. หน้า 13, 15.

เอนก นาวิกมูล. (2545). คนนอกศตวรรษ นักวาดชั้นครู. กรุงเทพฯ: เนชั่นบุ๊คส์ อินเตอร์เนชั่นเนล.

อาจินต์ ปัญจพรรค์. (2512). แด่ เหม เวชกร. ม.ป.ท

ปยุต เงากระจ่าง. (2554). เหม เวชกร. กรุงเทพฯ: ห้องสมุดการ์ตูนไทย.

ศรัณย์ ทองปาน. (2553). เหม เวชกร จิตกรไร้สำนักเรียน ช่างเขียนนอกสถาบัน. สารคดี, 16(188), 135-155.

ตำรา ณ เมืองใต้, และเหม เวชกร. (2504). ภาพชีวประวัติสุนทรภู่. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ตำรา ณ เมืองใต้, และจักรพันธุ์ โปษยกฤต. (2515). ภาพวิจิตร-วรรณคดี อิเหนา. ม.ป.ท.

เอนก นาวิกมูล. (2547). ลิ้นชักเกร็ดเก่า. กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์.

เหม เวชกร. (2521). ชุดเปิดกรุผี. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า.

เปลื้อง ณ นคร. (2512). วิทยาสาร. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-31

How to Cite

ทิมวัฒนบรรเทิง ส. (2024). เหม เวชกร : ชีวิตและผลงานในอัตลักษณ์ไทย. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 16(32, July-December), 1–14, Article 275902. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/275902