ผลของการใช้แอปพลิเคชันติดตามพฤติกรรมสุขภาพที่มีต่อพฤติกรรมสุขภาพและทุนจิตวิทยาด้านสุขภาพของผู้ใหญ่วัยทำงานที่มีความเสี่ยงจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

ผู้แต่ง

  • วิธัญญา วัณโณ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ดุษฎี สีวังคำ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

แอปพลิเคชันติดตามพฤติกรรมสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ, ทุนจิตวิทยาด้านสุขภาพ, กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง, ผู้ใหญ่วัยทำงาน

บทคัดย่อ

ผู้ใหญ่วัยทำงานที่มีความเจ็บป่วยจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือกลุ่มโรค NCDs เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนับเป็นปัญหาสุขภาพสำคัญที่นำมาสู่ความเจ็บป่วยและการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของคนวัยนี้ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้แอปพลิเคชันติดตามพฤติกรรมสุขภาพที่มีต่อพฤติกรรมสุขภาพ และทุนจิตวิทยาด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มโรค NCDs ของผู้ใหญ่วัยทำงานที่มีความเสี่ยงจากกลุ่มโรคนี้ ผู้เข้าร่วมวิจัย ได้แก่ ผู้ใหญ่วัยทำงานที่มีความเสี่ยงจากกลุ่มโรค NCDs 41 คน ซึ่งถูกสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยวิธีสุ่มอย่างง่าย ตัวแปรจัดกระทำ คือ การใช้/ไม่ได้ใช้แอปพลิเคชันติดตามพฤติกรรมสุขภาพ และตัวแปรตาม คือ พฤติกรรมสุขภาพ และทุนจิตวิทยาด้านสุขภาพ เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แอปพลิเคชันติดตามพฤติกรรมสุขภาพ แบบวัดพฤติกรรมสุขภาพ (แอลฟา = .782) และแบบวัดทุนจิตวิทยาด้านสุขภาพ (แอลฟ่า = .897) การวิจัยนี้เป็นแบบกึ่งทดลองที่มีกลุ่มควบคุม โดยมีการทดสอบก่อนและหลังทดลอง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลวิจัยพบว่า หลังใช้แอปพลิเคชันผู้ใหญ่วัยทำงานมีคะแนนพฤติกรรมสุขภาพสูงกว่าก่อนใช้แอปพลิเคชันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และมีคะแนนพฤติกรรมสุขภาพก่อนและหลังทดลองเพิ่มขึ้นมากกว่าของกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ใช้แอปพลิเคชันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่ผู้ใหญ่วัยทำงานที่ใช้แอปพลิเคชันมีคะแนนทุนจิตวิทยาด้านสุขภาพก่อนและหลังใช้แอปพลิเคชันไม่แตกต่างกัน และมีความแตกต่างของคะแนนทุนจิตวิทยาด้านสุขภาพก่อนและหลังทดลองไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ใช้แอปพลิเคชัน ผลวิจัยแสดงให้เห็นว่าแอปพลิเคชันนี้มีประสิทธิผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเท่านั้น ดังนั้น แอปพลิเคชันนี้ควรได้รับการปรับปรุงส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างทุนจิตวิทยาด้านสุขภาพก่อนที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในอนาคต

Downloads

References

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). วัยทำงานกับการดูแลสุขภาพ. http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). จำนวนและสัดส่วนประชากรจากการทะเบียน จำแนกตามกลุ่มอายุ (วัยเด็ก วัยแรงงาน วัยสูงอายุ) เพศ ภาค และจังหวัด พ.ศ. 2554 – 2563. http://statbbi.nso.go.th/staticreport/Page/sector/TH/report/sector_01_11103_TH_.xlsx

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). จำนวนประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป จำแนกตามการทำกิจกรรมทางกาย กลุ่มอายุ เพศ เขตการปกครอง และภาค พ.ศ. 2558. http://statbbi.nso.go.th/staticreport/Page/sector/TH/report/sector_05_3_TH_.xlsx

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2557). ระบบเฝ้าระวัง 5 กลุ่มโรค 5 มิติ. บริษัท ฮีซ์ จำกัด.

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562. สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2560). รูปแบบการบริการป้องกันควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง สำหรับสนับสนุนการดำเนินงาน NCD Clinic Plus. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จุฬาวรรณ วิสภา. (2563). ผลของโมบายแอปพลิเคชันการควบคุมน้ำหนักต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร กิจกรรมทางกายและน้ำหนักตัวในวัยรุ่นที่มีภาวะน้ำหนักเกิน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วิธัญญา วัณโณ. (2564). โปรแกรมเสริมสร้างทุนจิตวิทยาด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง: การพัฒนาและประเมินผลโปรแกรม และการถ่ายทอดการเรียนรู้จากผู้เข้าร่วมโปรแกรมสู่ครอบครัว. กรุงเทพฯ: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิธัญญา วัณโณ. (2565). ผลของโปรแกรมเสริมสร้างที่มีต่อทุนจิตวิทยาด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 31(supplement 2), s280-s291.

วิธัญญา วัณโณ. (2566). การถ่ายทอดการเรียนรู้ของผู้เข้าร่วมโปรแกรมเสริมสร้างทุนจิตวิทยาด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังสู่ครอบครัว: การวิเคราะห์ข้อมูลระดับบุคคลและระดับครอบครัว. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 36(1), 47-62.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2555). วิธีการที่ถูกต้องและทันสมัยในการกำหนดขนาดตัวอย่าง. ใน เอกสารประกอบการบรรยายเรื่องวิธีการที่ถูกต้องและทันสมัยในการกำหนดขนาดตัวอย่าง. หน้า 1-20. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., and Anderson, R. E. (2014). Multivariate data analysis (new international edition). Essex, UK: Pearson Education Limited.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2560). แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ. 2ส. ของประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ฉบับปรับปรุงปี 2561. http://www.hed.go.th/linkHed/333

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2563). แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนวัยทำงานในหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ. http://www.hed.go.th/linkHed/403

ทรงศักดิ์ ภู่สีอ่อน. (2561). ปกิณกะ การทดสอบโฮเทลลิ่งทีสแควร์. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12, 133-137.

Samsen-Bronsveld, H. E., van der Ven, S. H., Bogaerts, S., Greven, C. U., and Bakx, A. W. (2022). Sensory processing sensitivity does not moderate the relationship between need satisfaction, motivation and behavioral engagement in primary school students. Personality and Individual Differences, 195, Article number 111678.

สุกัญญา คณะวาปี, และเกศินี สราญฤทธิชัย. (2565). ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคอ้วนในเด็กวัยเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 8(3), 105-118.

อ้อมฤทัย มั่นในบุญธรรม. (2562). ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและชะลอไตเสื่อมของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสำราญ. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น, 1(2), 121-132.

Ryan, P. (2009). Integrated theory of health behavior change: Background and intervention development. Clinical nurse specialist CNS, 23(3), 161-172.

Ryan, P., and Sawin, K. J. (2009). The individual and family self-management theory: Background and perspectives on context, process, and outcomes. Nursing outlook, 57(4), 217-225.

Luthans, F., Avey, J. B., Avolio, B. J., Norman, S. M., and Combs, G. M. (2006). Psychological capital development: toward a micro‐intervention. Journal of Organizational Behavior, 27(3), 387-393.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-31

How to Cite

วัณโณ ว., & สีวังคำ ด. (2024). ผลของการใช้แอปพลิเคชันติดตามพฤติกรรมสุขภาพที่มีต่อพฤติกรรมสุขภาพและทุนจิตวิทยาด้านสุขภาพของผู้ใหญ่วัยทำงานที่มีความเสี่ยงจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 16(32, July-December), 1–12, Article 275937. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/275937