การพัฒนาบุคลากรของธุรกิจโรงแรมสีเขียวภายใต้ความเป็นกลางทางคาร์บอนในเกาะสมุยและจังหวัดภูเก็ต

ผู้แต่ง

  • วิสาขา ภู่จินดา คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • ภารณ วงศ์จันทร์ คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์, โรงแรมสีเขียว, หลักสูตรอบรมพนักงานโรงแรม

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรโรงแรมสีเขียวภายใต้ความเป็นกลางทางคาร์บอน ในเกาะสมุยและจังหวัดภูเก็ต และ 2) เพื่อสร้างหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพบุคลากรโรงแรมสีเขียวภายใต้ความเป็นกลางทางคาร์บอน โดยผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามพนักงานโรงแรมสีเขียว ในเกาะสมุยและจังหวัดภูเก็ต จำนวน 410 คน ในประเด็นข้อมูลทั่วไปพนักงานโรงแรมสีเขียว และข้อมูลการให้บริการธุรกิจโรงแรมสีเขียวในส่วนการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงาน และการมีส่วนร่วมท้องถิ่นและชุมชน นำข้อมูลมาใช้ในการออกแบบหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพบุคลากรโรงแรมสีเขียวภายใต้ความเป็นกลางทางคาร์บอน ผลการศึกษาพบว่า ตำแหน่งงานของพนักงานกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นพนักงานระดับปฏิบัติการและอยู่ฝ่ายห้องพัก โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความต้องการให้ธุรกิจโรงแรมสีเขียวเป็นส่วนหนึ่งในกลไกการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในสถานที่ท่องเที่ยวและมีความสะดวกอบรมในช่องทางออนไลน์ นำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อสร้างเป็นหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพบุคลากรโรงแรมสีเขียวภายใต้ความเป็นกลางทางคาร์บอน 5 หมวดวิชา ประกอบด้วย หมวดวิชาที่ 1 นโยบายด้านการบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หมวดวิชาที่ 2 การพัฒนาบุคลากร หมวดวิชาที่ 3 การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ หมวดวิชาที่ 4 การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และหมวดวิชาที่ 5 การจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงาน เป็นหลักสูตรที่ให้ความสำคัญกับการจัดการด้านทรัพยากร ความปลอดภัยของผู้เข้ารับบริการ ความรับผิดชอบต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม การประหยัดพลังงาน รวมถึงความตระหนักถึงท้องถิ่นทั้งทางด้านสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ โดยพนักงานโรงแรมสามารถนำความรู้มาใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับการปฏิบัติและการดำเนินงานจริงของโรงแรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดผลกระทบต่อการเกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างอย่างยั่งยืน

Downloads

References

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2562). โรงแรมสีเขียว. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2565, จาก https://greenhotelthai.com/th/file-download

องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก. (2564). 8 องค์กร 3 กระทรวง ผนึกพลังขับเคลื่อนท่องเที่ยว “คาร์บอนบาลานซ์”. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2565, จาก http://www.tgo.or.th/2020/index.php/th/post/8-

วิสาขา ภู่จินดา. (2564). แผนขับเคลื่อนสู่การท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศไทย. หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.).

วิสาขา ภู่จินดา. (2565). การท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศไทยจากองค์ความรู้สู่นโยบายเพื่อการนำไปปฏิบัติ. หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.).

วิสาขา ภู่จินดา. (2566). การประกอบธุรกิจโรงแรมสีเขียวภายใต้ความเป็นกลางทางคาร์บอน. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ฉัฐชสรณ์ กาญจนศิลานนท์. (2555). คุณภาพบริการ: ความจำเป็นของการพัฒนาคุณภาพบุคลากรในธุรกิจโรงแรม. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 18(4), 37-77.

Ardahaey, F. (2012). Human resources empowerment and its role in the sustainable tourism. Asian Social Science, 8(1), 33-38.

พรพิมล ศรีธเนศ, และแสงแข บุญศิริ. (2562). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อสร้างการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมของพนักงานโรงแรมสีเขียวใน

ประเทศไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 7(4), 1058-1072.

Luekveerawattana, R. (2018). Key factors affecting of tourists’ decisions to stay at environmental friendly hotels. Polish Journal of Management Studies, 17(2), 11-12.

ธีชวัน ญาณอุดม. (2554). พฤติกรรมการอนุรักษ์ป่าชายเลนของประชาชนในท้องถิ่น: กรณีศึกษาตำบลหงาว อำเภอเมือง จังหวัดระนอง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหิดล.

สมพร พิมลรัตน์. (2545). แรงจูงใจในการประเมินพลังงานไฟฟ้าของครัวเรือนในจังหวัดพะเยา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จุฑามาศ พรหมมา, และณัฏฐ์วรดี คณิตินสุทธิทอง. (2564). แนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมของโรงแรมสีเขียวในอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 13(2), 9-19.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-31

How to Cite

ภู่จินดา ว., & วงศ์จันทร์ ภ. (2024). การพัฒนาบุคลากรของธุรกิจโรงแรมสีเขียวภายใต้ความเป็นกลางทางคาร์บอนในเกาะสมุยและจังหวัดภูเก็ต. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 16(32, July-December), 1–13, Article 275951. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/275951