การศึกษาข้ามวัฒนธรรมของความสัมพันธ์ระหว่างการจัดสภาพแวดล้อม การเรียนรู้ตามแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และทัศนคติต่อการเรียน วิชาสถิติของนักศึกษาไทยและนักศึกษาจีน A CROSS-CULTURUL STUDYOFTHE RELATIONSHIPBETWEENTHE CONSTRUCTIVIST LEARNINGENVIRONMENTAND ATT

Authors

  • มาริสา ต่อทีฆะ ภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

Keywords:

Cross-cultural Study, Constructivist Learning Environment, Attitudes toward Statistics

Abstract

บทคัดย่อ
   การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงเปรียบเทียบถึงความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะการรับรู้ต่อการ
จัดสภาพแวดล้อมของการเรียนการสอนวิชาสถิติตามแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์กับทัศนคติ ต่อการเรียนวิชาสถิติเพื่อทราบถึงความคล้ายคลึงและความแตกต่างของทัศนคติและการรับรู้ ต่อการจัดสภาพแวดล้อมของการเรียนการสอนวิชาสถิติตามแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ระหว่างนักศึกษาไทยและนักศึกษาจีนประชากรศึกษาคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ลงทะเบียนเรียน วิชาสถิติพื้นฐานในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2554 จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ประเทศไทย และจากมหาวิทยาลัยกว่างซี สาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 134 คน และ 152 คน ตามลำดับ สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ได้จำนวนตัวอย่างจากประเทศไทย 96 คน และจากสาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 105 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบสำรวจสภาวะการรับรู้ต่อการจัดสภาพแวดล้อมของการเรียนการสอนตามแนวคิดของทฤษฎี คอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist Learning Environment Survey) หรือแบบวัด CLES ของ Taylor,
Fraser และ Fisher และแบบวัดทัศนคติต่อการเรียนวิชาสถิติ (Attitude Toward Statistics Scale) หรือ ATS ของ Wise ที่ผ่านการแปลด้วยกระบวนการแปลย้อนกลับเป็นภาษาไทยและภาษาแมนดาริน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบหลายตัวแปรการวิเคราะห์ความแตกต่าง ระหว่างค่าเฉลี่ยของประชากรอิสระ 2 กลุ่มการวิเคราะห์การถดถอยและสหสัมพันธ์แบบพหุผล จากการศึกษาพบว่า การรับรู้ต่อการจัดสภาพแวดล้อมของการเรียนการสอนวิชาสถิติตามแนวคิดของทฤษฎี คอนสตรัคติวิสต์มีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อการเรียนวิชาสถิติของทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาจีน อย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาจีนมีการรับรู้และความต้องการการจัดสภาพแวดล้อม ของการเรียนการสอนวิชาสถิติตามแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เหมือนกันโดยนักศึกษาจีน มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาสถิติและมีความลงตัวของการรับรู้ต่อการจัดสภาพแวดล้อมของการเรียนการสอนวิชา สถิติตามแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์มากกว่านักศึกษาไทย การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า
การที่ประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีนอยู่ในทวีปเอเชีย มีขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม ส่วนใหญ่คล้ายคลึงกัน มีการยอมรับและนำความรู้ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของชาติตะวันตกมาผสมผสานกับการศึกษาของตนเช่นเดียวกัน สามารถทำให้นักศึกษาไทย และนักศึกษาจีนมีทัศนคติต่อวิชาสถิติมีการรับรู้และความต้องการการจัดสภาพแวดล้อมของการเรียนการสอนตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่มีความเป็นสากลโดยรวมเหมือนกัน แต่ด้วยนโยบายของการพัฒนาการศึกษาที่มุ่งเน้นสู่การเปิดโลกอนาคตที่สาธารณรัฐประชาชนจีนให้ความสำคัญและดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นรูปธรรม รวมทั้งความเคร่งครัดของการถือปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณีที่มุ่งเน้นความกตัญญูและสืบทอดวัฒนธรรมอันดีงามของบรรพบุรุษ ตลอดจนความรู้สึกภูมิใจในความยิ่งใหญ่ของเชื้อชาติได้หล่อหลอมให้นักศึกษาจีนเป็นผู้ที่มีความขยัน ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค กระตือรือร้น ใฝ่หาความรู้ และมีความพร้อมที่จะก้าวไปสู่การพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์ ตลอดจนมีทัศนคติที่ดีต่อวิธีการที่มีความเป็นสากลมากกว่านักศึกษาไทย แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าผู้เรียนจะมีขนบธรรมเนียม ประเพณี หรือวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงหรือ แตกต่างกันเช่นไรผู้เรียนยังคงมีการรับรู้และความต้องการแบบเดียวกันเสมอ คือต้องการที่จะมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียน ต้องการการรับฟังการแสดงความคิดเห็นของตนจากผู้สอน ต้องการความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในกลุ่มของผู้เรียน ต้องการเห็นความเชื่อมโยงของวิชาสถิติกับชีวิตภายนอกชั้นเรียน และท้ายสุดต้องการเห็นว่าวิชาสถิติต้องมีการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ โดยหัวใจสำคัญของความสำเร็จของการเรียนรู้วิชาสถิติในโลกทัศน์ใหม่นั้น ต้องประกอบด้วยความสามารถในการที่จะนำแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ทั้ง 5 ด้าน มาประยุกต์ใช้กับการจัดสภาพแวดล้อมของการเรียนการสอนวิชาสถิติได้อย่างเหมาะสมของผู้สอนและคุณสมบัติในการเป็นผู้ที่มีความขยัน ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค มีความกระตือรือร้นสนใจใฝ่รู้ในสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอของผู้เรียนซึ่งเป็นผลมาจากการถูกหล่อหลอมด้วยขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมของตน

 

Abstract
   This study is a cross-cultural comparison that aims to examine the relationshipbetween the perceptions of the constructivist learning environment and the attitudes toward statistics of Thai and Chinese students.The criterion for the selection of the participants was that they be undergraduatestudents of statistics in an introductory level course in semester I, 2011. The sample of 96 was drawn from 134 Thai students ofBangkok University, Thailand, and 105of 152 were drawn from Guangxi Normal University, Republic of China. The instruments were the Constructivist Learning Environment Survey (CLES) developed by Taylor, Fraser & Fisher (1997), and the Attitude toward Statistics Scale (ATS) developed by Wise (1985), translated by the back translation procedure to Thai and Mandarin. The obtained data were analyzed by the multivariate analysisof variance (MANOVA),
the analysis of variance(ANOVA), the differences between two independent means (t test), and the multiple regression andcorrelation analysis. The results showed that the perceptions of the constructivist learning environment were significantly related to the attitudes toward statistics. Furthermore, both Thai and Chinese students perceived their constructivist learning environments.Chinese students had a morepositive attitude toward statistics, and perceived their learning environment as more constructivist. By the study of the similarities and differences of perceptions and attitudes toward statistics between Thai and Chinese students, it was known that because of the similar cultures of Thai and Chinese, they both perceived a constructivist learning environment. They wanted to be heard and shared in their learning environment. Nevertheless, they also wanted to have the real-world situation, the student negotiation and the uncertainty realization in their learning environment. However,with the diligence, patience, and enthusiasm of Chinese students were strictly taught by their culture and ancestors, they had a more positive attitude toward statistics and perceived their learning environment as more constructivist than Thai students. Therefore, the cross-cultural comparisons of two different countries can present the constructivist approaches to be a useful method for providing the new important insights of teaching in statistics class, which was composed of the talent ofinstructors and the scientific skill of students, were taught by their cultures.

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

มาริสา ต่อทีฆะ, ภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ฝ่ายสำนักพิมพ์สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Downloads

Published

2015-01-09

How to Cite

ต่อทีฆะ ม. (2015). การศึกษาข้ามวัฒนธรรมของความสัมพันธ์ระหว่างการจัดสภาพแวดล้อม การเรียนรู้ตามแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และทัศนคติต่อการเรียน วิชาสถิติของนักศึกษาไทยและนักศึกษาจีน A CROSS-CULTURUL STUDYOFTHE RELATIONSHIPBETWEENTHE CONSTRUCTIVIST LEARNINGENVIRONMENTAND ATT. Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences, 6(11, January-June), 132–148. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/28422