การยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนรู้ภายใต้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับ อุดมศึกษาสำหรับนิสิตครูโดยการเรียนรู้แบบค้นพบ THE ENHANCEMENT OF LEARNING MANAGEMENT QUALITY UNDER THAI QUALIFICATIONS FRAMEWORK FOR HIGHER EDUCATION (TQF:HEd) FOR PRESERVICE TEACHERS THROUGH

Authors

  • สุนีย์ เหมะประสิทธิ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ

Keywords:

Discovery Learning, Academic Achievement, Learning Management Skill, Teacher Professional Ethic

Abstract

บทคัดย่อ
   การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนรู้วิชาชีพครู
โดยการเรียนรู้แบบค้นพบ 2 ประเภท คือ 1) การเรียนรู้แบบค้นพบที่มีการชี้แนะ (Guided Discovery) และ 2) การเรียนรู้แบบค้นพบอย่างแท้จริงหรืออย่างอิสระ (Pure or Free Discovery) โดยมีรูปแบบการจัดเรียนรู้ซึ่งประกอบด้วย ขั้นที่ 1 ขั้นสำรวจ (Exploration) ขั้นที่ 2 ขั้นสืบเสาะหาข้อมูล (Inquiry and Acquisition) ขั้นที่ 3 ขั้นค้นพบและประยุกต์ใช้ (Discovery and Application) การวิจัยนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน (Classroom Action Research) ใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (One Group Pretest-Posttest Design) และกลุ่มเดียวทดสอบ หลังการทดลอง (One Group Posttest Only Design) กับกลุ่มตัวอย่างที่เลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) คือ นิสิตครูชั้นปีที่ 3 วิชาเอกการสอนคณิตศาสตร์ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการ เรียนรู้แบบค้นพบ แบบทดสอบปรนัยเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบอัตนัยเพื่อวัดทักษะการจัดการเรียนรู้ แบบวัดจรรยาบรรณวิชาชีพครูและแบบสอบถามความคิดเห็นของนิสิตครูต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบดังกล่าว ผลวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนิสิตครูสูงขึ้นกว่าก่อนเรียน และสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทางสถิติที่ระดับ 0.01 ทั้งโดยรวมและรายด้านทุกด้าน
2) ทักษะการจัดการเรียนรู้ของนิสิตครูหลังเรียนโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (คือระดับดี) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) คะแนนจรรยาบรรณวิชาชีพครูก่อนเรียนของนิสิตครูต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด แต่คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนและสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 4) นิสิตครูมีความคิดเห็นเชิงบวกต่อการจัดการเรียนรู้ คือ เกิดความรู้ความเข้าใจและมั่นใจในความสามารถของตนในการประยุกต์ใช้ความรู้ด้านการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้รองลงไปคือ การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ การเห็นคุณค่าวิชาชีพครู การทำงานเป็นทีม และการรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง ตามลำดับ

 

Abstract
   The purpose of this research was to study the effect of enhancing learning management quality under Thai Qualifications Framework for Higher Education (TQF:HEd) for preservice teachers through discovery learning approach: guided discovery learning and free discovery
learning. The model of learning management comprised 3 stages, Exploration stage, Inquiry and Acquisition stage, and Discovery and Application stage. The research was conducted in classroom action research using one group pretest-posttest design and one group posttest only design with the third year preservice mathematics teachers teaching major by purposive sampling. Research tools consisted of the discovery learning lesson plans, the multiple-choice
test to measure academic achievement, the subjective test to measure learning management skills, the questionnaire to measure teacher professional ethics and the questionnaire to survey preservice teachers’ opinions towards discovery learning. The results were as the followings 1) the academic achievement of preservice teachers after learning through discovery learning was statistically higher than before the experiment at the 0.01 level of significance and higher than the criterion at the 0.01 level of significance both in total and in every aspect, 2) the learning management skill of preservice teachers learning through discovery learning by average was at the very good level which was statistically higher than the criterion (good level)
at the 0.01 level of significance, 3) the pretest score about teacher professional ethics of preservice teachers was lower than the criterion but the posttest score was higher than before the experiment and the criterion at the 0.01 level of significance, and 4) the preservice
teachers had positively comments towards discovery learning such as confidence and deep understanding about writing lesson plans, learning activities design, classroom assessment, self esteem of the teaching profession, teamwork and recognition of the different opinions, respectively.

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

สุนีย์ เหมะประสิทธิ์, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ

ฝ่ายสำนักพิมพ์สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Downloads

Published

2015-01-09

How to Cite

เหมะประสิทธิ์ ส. (2015). การยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนรู้ภายใต้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับ อุดมศึกษาสำหรับนิสิตครูโดยการเรียนรู้แบบค้นพบ THE ENHANCEMENT OF LEARNING MANAGEMENT QUALITY UNDER THAI QUALIFICATIONS FRAMEWORK FOR HIGHER EDUCATION (TQF:HEd) FOR PRESERVICE TEACHERS THROUGH. Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences, 6(11, January-June), 199–211. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/28436