การพัฒนาแบบประเมินตามสภาพจริงในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากการสอนแบบโครงงาน THE DEVELOPMENT OF EVALUATION FORMS FOR THE AUTHENTIC ASSESSMENT OF MATHEMATICS IN PRATHOMSUKSA VI BY PROJECT LEARNING APPROACH
Keywords:
The Development of Evaluation Forms for the Authentic Assessment, Project Learning ApproachAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาและศึกษาคุณภาพของแบบประเมินตามสภาพจริง และผลของการใช้แบบประเมินตามสภาพจริง ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากการสอนแบบโครงงาน ขอบเขตของการวิจัยแบ่งเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1เพื่อพัฒนาและศึกษาคุณภาพของแบบประเมินตามสภาพจริง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดหนองจอก (ภักดีนรเศรษฐ) เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 1 ห้อง มีนักเรียน 40 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย 1 ห้องเรียน ตอนที่ 2 เพื่อศึกษาผลของการใช้แบบประเมินตามสภาพจริง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนลำบุหรี่พวง เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร จำนวนนักเรียน 19 คน โดยเลือกแบบเจาะจง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ มีค่าความเชื่อมั่น 0.86 แบบวัดความสามารถในการทำโครงงานคณิตศาสตร์ มีค่าความเชื่อมั่น 0.89 ค่าความเชื่อมั่นของผู้ประเมิน 0.95 แบบวัดความมุ่งมั่นในการทำงาน มีค่าความเชื่อมั่น 0.84 แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียน มีค่าความเชื่อมั่น 0.89 ค่าความเชื่อมั่นของผู้ประเมิน 0.93 รวมทั้งแบบบันทึกการตรวจงาน ใบงาน และแบบประเมินความเหมาะสม/ความเป็นไปได้ของแบบประเมินตามสภาพจริงสำหรับผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยพบว่า
1. แบบประเมินตามสภาพจริงในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากการสอนแบบโครงงาน มีค่าความเที่ยงตรง อำนาจจำแนก ความยากง่าย ความเชื่อมั่นอยู่ในเกณฑ์ที่ดี และมีค่าความเหมาะสม/ความเป็นไปได้ในการนำแบบประเมินตามสภาพจริงไปใช้ระดับมากที่สุด
2. ผลของการใช้แบบประเมินตามสภาพจริงในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์จากการสอนแบบโครงงาน พบว่า
2.1 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความมุ่งมั่นในการทำงานอยู่ในระดับดี
2.2 ความสามารถในการทำโครงงานคณิตศาสตร์ของนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับดี และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงงานและการนำเสนอ อยู่ในระดับดี ส่วนทักษะกระบวนการ อยู่ในระดับดีมาก
2.3 พฤติกรรมทางการเรียนของนักเรียนอยู่ในระดับพอใช้ ในการประเมินครั้งที่ 1-2
และมีพฤติกรรมการเรียนอยู่ในระดับดีจากการประเมินครั้งที่ 3-6
Downloads
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences is licensed Under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivs 4.0 International (CC-BY-NC-ND 4.0) License, Unless Otherwise Stated. Please Read Journal Policies Page for More Information on Open Access, Copyright and Permissions.