การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ทางการศึกษาเพื่อการพัฒนาสำหรับอนาคต EDUCATIONAL PARADIGM SHIFT FOR FUTURE DEVELOPMENT
Keywords:
Paradigm shift, Education, Future developmentAbstract
บทคัดย่อ
ในช่วงเปลี่ยนกระบวนทัศน์กระแสหลักของสังคมจะมีแบบแผนการศึกษาเพื่อสื่อสารกระบวนทัศน์แบบใหม่เกิดขึ้น ดังที่ปรากฏว่าในโลกตะวันตกช่วงการเปลี่ยนกระบวนทัศน์แบบสังคมจารีตพิธีกรรมไปเป็นสังคมที่เน้นเหตุผลเชิงปรัชญา ได้มีแบบแผนการศึกษาแบบสำนักปรัชญาเกิดขึ้นในช่วงการเปลี่ยนกระบวนทัศน์จากสังคมที่เน้นเหตุผลเชิงปรัชญาไปเป็นสังคมในวิถีศาสนาก็ได้มีการจัดการศึกษาโดยศาสนจักรมาแทนที่สำนักปรัชญา ต่อมาในช่วงการเปลี่ยนกระบวนทัศน์จากสังคมในวิถีศาสนาไปเป็นสังคมในวิถีวิทยาศาสตร์และการมุ่งมั่นการพัฒนา ก็ได้มีการศึกษาที่จัดโดยอาณาจักรมาแทนที่ศาสนจักร บทบาทของการศึกษาในช่วงนี้เป็นการเข้าไปรองรับอำนาจของอาณาจักรทำให้มีการพัฒนาอุดมการณ์รัฐแบบชาตินิยมและรัฐแบบประชาธิปไตยขึ้น กระบวนทัศน์หลักของสังคมในช่วงนี้แยกเป็น 2 แนวทางคือ (1) แบบปฏิฐานนิยม (Positivism) ซึ่งมีท่าทีแบบจักรกลนิยมและให้ความสำคัญกับโครงสร้างมากกว่าระดับปัจเจก ทัศนะนี้สัมพันธ์กับแนวคิดรัฐชาตินิยมและ (2) แบบประสบการณ์นิยม
(Experimentalism) ซึ่งให้ความสำคัญกับระดับปัจเจกมากขึ้น ทัศนะนี้สัมพันธ์กับแนวคิดรัฐแบบประชาธิปไตย ผลของความมุ่งมั่นการพัฒนาที่มีวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือได้นำพาสังคมเข้าสู่ยุควัตถุนิยมและทำให้รัฐผูกโยงกับสังคมการผลิต เกิดเป็นรัฐ 2 รูปแบบ คือ รัฐที่ควบคุมการผลิตและการตลาดแบบสังคมคอมมิวนิสต์ และรัฐที่เอื้ออำนวยและสนับสนุนการผลิตแบบทุนนิยม-เสรีนิยม การศึกษาที่รองรับสังคมการผลิตแบบคอมมิวนิสต์ทำหน้าที่กล่อมเกลาเยาวชนให้เข้าถึงปรัชญาชนชั้นกรรมาชีพส่วนการศึกษาที่รองรับสังคมการผลิตแบบทุนนิยม-เสรีนิยม ใช้ปรัชญาแบบปฏิบัตินิยม/ประโยชน์นิยม ซึ่งในทางการศึกษาจะเรียกว่า ปรัชญาการศึกษาแบบพิพัฒนาการนิยม (Progressivism) เป็นการศึกษาที่พัฒนามนุษย์แบบปัจเจก เน้นความก้าวหน้าเป็นรายบุคคล และพัฒนาไปสู่ศูนย์กลางของความเจริญ
ภายนอกชุมชน
แต่เนื่องจากปัจจุบันกระบวนทัศน์แบบทุนนิยม-เสรีนิยมเริ่มสั่นคลอนเพราะเกิดวิกฤตใหญ่
บ่อยครั้งและรุนแรงขึ้น สังคมเริ่มแสวงหากระบวนทัศน์การพัฒนาสำหรับอนาคตที่เน้นการพึ่งพาตนเองและความเป็นธรรมในสังคมมากขึ้น ในการนี้จำเป็นต้องมีการศึกษาแบบใหม่ที่ย้ายฐานคิดจาก การพัฒนามนุษย์แบบปัจเจกมาเป็นการพัฒนามนุษย์ร่วมกับสังคมชุมชนของตน ทั้งนี้ กระบวนทัศน์การศึกษาแบบปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) หรือการศึกษาแนววิถีชุมชน และการสอนสิ่งที่ไม่รู้ของฌาคส์ ร็องซีแยร์น่าจะเป็นการศึกษาเพื่อรองรับการพัฒนาดังกล่าวได้
Abstract
The revolution of major paradigm shift in society has also resulted in educational approach for conveying new emerged paradigm. As could be seen in the western society, during a paradigm shift from traditional to philosophical paradigm, the philosophical educational
plan had emerged. When there was a shift from philosophical to religious society, education was shaped by the church. Later, when there was a shift from religious to scientific society, education was then designed by the state in stead of the church. Preliminary, education role was to serve the state that contributed to the development of nationalism and democratic state. At that time, there were two major paradigms in the society: 1) Positivism which emphasis mechanism
and structure than individual. This approach is associated with nationalism; and 2) Empiricism that in consistent to democratic state philosophy. Afterwards, the development used sciences as tools has led to materialism which allowed the state to collaborate with productive society. This development had led to the emergence of Socialism and Capitalism. Socialism allows state to control production and marketing, whereas in capitalist state must facilitate and support mass production. Education supported socialist would persuade youth to understand labour class. On the other hand, education that supported capitalist used Pragmatism/Utilitarianism, in education called ‘Progressivism’, underlines development on individual basis and development comparing with growth center that out of their communities.
Presently, however the capitalism has been insecure because of socio-economic crisis many times. Society has started to seek new paradigm for future development which emphasises self reliance and social justice. Hence, it is crucial to develop new educational paradigm which shift from individual development to individual and community development. Reconstructionism as community-based education or teaching of the unknown created by Jacques Rancière is expected to be the educational philosophy that will contribute to this development.
Downloads
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences is licensed Under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivs 4.0 International (CC-BY-NC-ND 4.0) License, Unless Otherwise Stated. Please Read Journal Policies Page for More Information on Open Access, Copyright and Permissions.