ศักยภาพในการจัดการป่าต้นน้ำ เทือกเขาบรรทัดในจังหวัดตรัง (POTENTIAL IN WATERSHED FOREST MANAGEMENT: BANTHAT MOUNTAIN RANGE)

Authors

  • กมลรัตน์ พรหมสิงห์ สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม คระศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • อุทิศ สังขรัตน์ ภาควิชาสารัตถศึกษา คระศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Keywords:

Watershed, The Potential of Community, Management of Natural Resources

Abstract

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการจัดการทรัพยากรป่าต้นน้ำของชุมชน และวิเคราะห์ถึงศักยภาพของชุมชนในการจัดการป่าต้นน้ำ ผู้วิจัยได้เลือกศึกษาวิจัย ตำบลนาชุมเห็ด อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ และเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามจากการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มย่อย การสังเกตทั้งแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม และศึกษาข้อมูลจากเอกสารรายงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง นำมาวิเคราะห์และเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการศึกษาวิจัยบนฐานคิดการจัดการทรัพยากรธรรมชาติแบบนิเวศวัฒนธรรม ซึ่งเป็นแนวทางการศึกษาที่ให้ความสำคัญกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในเชิงจิตสำนึก โดยการมองอย่างเป็นองค์รวม ไม่แยกธรรมชาติออกจากระบบสังคมของมนุษย์ เน้นศึกษาจิตสำนึกทางวัฒนธรรม ระบบความสัมพันธ์ของชุมชนและความมีเหตุมีผลของชุมชนในการจัดการทรัพยากรป่าต้นน้ำ ทั้งนี้เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้นำไปกำหนดนโยบายที่เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติมากยิ่งขึ้น เนื่องจากในปัจจุบันมักจะมีปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัฐกับชุมชนบ่อยครั้ง โดยรัฐมักจะมองว่าชุมชนเป็นผู้ที่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ

     ผลการศึกษาพบว่า ชาวบ้านในชุมชนนาชุมเห็ดมีวิถีชีวิตผูกพันอยู่กับธรรมชาติ คนกับป่ามีลักษณะความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกันตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และมีวิธีการดูแลรักษาป่าผ่านระบบความรู้ ความเชื่อ ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมต่างๆ ของชุมชน มีกระบวนการจัดการทรัพยากรโดยเน้นการมีส่วนร่วมของชาวบ้านในชุมชน นอกจากนี้ทางชุมชนยังมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าต้นน้ำ โดยมองเห็นถึงความสำคัญของป่าต้นน้ำ ว่าหากขาดป่า ขาดน้ำ ย่อมส่งผลกระทบต่อชุมชนที่อยู่ปลายน้ำต่อไป จากการศึกษาวิจัยนี้ทำให้มองเห็นถึงศักยภาพของชุมชนในการจัดการทรัพยากรป่าต้นน้ำ ทั้งนี้การจัดการทรัพยากรป่าต้นน้ำนั้นจะต้องเกิดจากการร่วมมือกันอย่างเป็นพหุภาคี ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และชาวบ้านในชุมชน ที่ควรจะเข้ามามีส่วนในจัดการทรัพยากรร่วมกันอย่างบูรณาการเพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติเกิดความยั่งยืนและการจัดการป่าต้นน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


Abstract


     This research aims to study the process of manage forest resources of watershed community and analyze the potential of community in forest management. Researcher have chosen to study is Na-Chum hed Yantakaw district, Trang province. By using qualitative research methods, and collected field data from in-depth interviews, the focus group, the participant and non-participant observations and by researching relevant documents and reports. The data was analysed and classified into related data. This study was based on eco-culture natural resource management. This concept focuses on natural resource management in conscious mind by looking on holistic approach not distinguish natural from human society. The study focuses on cultural awareness, relationship of the community and the reason of community in watershed forest resource management. According, the relevant agencies can formulate policies that focus on community participation in natural resource management even more. Present often has conflict between the government and the community. By the state have the opinion that the natural resources was destroyed by community.

     The results showed that villager’s way of life in Na-Chumhed community had bound with nature. Villager and forest had the interdependent relationship from the past to present and they had attendance forests through a system of knowledge, wisdom and cultural beliefs of the community. Resource management processes, with emphasis on the participation of villager in the community. In addition, the community also has an awareness of watershed forest resource conservation by looking at the importance of forest watershed that if the water would affect forest communities that are further downstream. This study showed the potential of community to manage watershed forest. The watershed resource management is the result of a multilateral cooperation, both public and private residents in the community. They should take part in the management of shared resources and integration of resources for sustainable forest management and efficiency.


Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

กมลรัตน์ พรหมสิงห์, สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม คระศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

อุทิศ สังขรัตน์, ภาควิชาสารัตถศึกษา คระศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Downloads

Published

2015-03-18

How to Cite

พรหมสิงห์ ก., & สังขรัตน์ อ. (2015). ศักยภาพในการจัดการป่าต้นน้ำ เทือกเขาบรรทัดในจังหวัดตรัง (POTENTIAL IN WATERSHED FOREST MANAGEMENT: BANTHAT MOUNTAIN RANGE). Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences, 6(12, July-December), 1–13. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/32154