ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร (CAUSAL FACTORS INFLUENCING GRADE 6 STUDENTS’ SCIENCE ACHIEVEMENT IN WATTANA DISTRIC, BANGKOK)
Keywords:
Causal factors, Science achievement, Primary StudentAbstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสาเหตุกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ 2) ตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่สร้างขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลทางตรงและอิทธิพลทางอ้อมต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนในโรงเรียนเขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร ที่กำลังศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 จำนวน 11 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายเพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างโรงเรียนละ 1 ห้องเรียน รวมเป็นจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 554 คน
เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วยแบบทดสอบ 2 ฉบับ ได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดเชิงเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ 2) แบบทดสอบวัดความถนัดทางการเรียน และแบบสอบถาม 5 ฉบับ ได้แก่ 1) แบบสอบถามการสนับสนุนของครอบครัวเพื่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 2) แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ 3) แบบสอบถามการสนับสนุนของโรงเรียนเพื่อการเรียนวิทยาศาสตร์ 4) แบบสอบถามคุณภาพการสอนวิทยาศาสตร์ 5) แบบวัด เจตคติทางวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์แบบเส้นทาง (Path Analysis) โดยใช้โปรแกรม LISREL version 8.54
ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้
1. ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสาเหตุ ได้แก่ การสนับสนุนของครอบครัวเพื่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ความถนัดทางการเรียน ทักษะการคิดเชิงเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ การสนับสนุนของโรงเรียนเพื่อการเรียนวิทยาศาสตร์ และจิตวิทยาศาสตร์ พบว่ามีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนตัวแปรสาเหตุ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ พบว่ามีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
2. โมเดลสมมติฐานไม่สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพบว่า มีค่าไค-แสควร์ เป็น 17.6250 (df = 6, p= 0.0079), GFI = 0.9922, AGFI = 0.9532, SRMR = 0.0319 และค่า RMSEA = 0.0589, หลังจากปรับแก้โมเดลแล้วทำให้ได้โมเดลที่มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยค่าไค-สแควร์ เป็น 6.7501 (df = 12, p = 0.8737) GFI = 0.9970, AGFI = 0.9910, SRMR = 0.0161, RMSEA = 0.0
3. ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ความถนัดทางการเรียน (β = 0.4721) ทักษะการคิดเชิงเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ (β = 0.1717) และการสนับสนุนของครอบครัวเพื่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (β = 0.1085)
4. ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ความถนัดทางการเรียน (β = 0.0917) และการสนับสนุนของโรงเรียนเพื่อการเรียนวิทยาศาสตร์ (β = 0.0217) ตัวแปรทั้งสองมีอิทธิพลทางอ้อมโดยผ่านทางทักษะการคิดเชิงเหตุผลทางวิทยาศาสตร์
5. ตัวแปรสาเหตุทั้ง 5 ตัวแปร สามารถอธิบายความแปรปรวนของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ได้ร้อยละ 63.26
Abstract
The purposes of this study were 1) to study the relationships between the causal factors and science achievement, 2) to test whether the hypothetical model is consistent with the empirical data of Grade 6 students, 3) to study the causal factors that influence science achievement in Grade 6 students in Wattana District, Bangkok.
The population of this study was the sixth grade students in the second semester of the academic year 2008 from school located in Wattana distric, Bangkok. There were 11 schools. One classroom from each school was selected random as the sample. The sample size of this study was 554.
The research instruments composed of 2 tests: 1) a scientific reasoning skills test; 2) an aptitude test; and 5 questionnaires on the following: 1) home educational support for learning science 2) motivation 3) school support 4) science teaching quality 5) scientific attitudes. The hypotheses were tested and the data were analyzed by Path Analysis through LISREL version 8.54. The results were the following:
1. The simple correlation coefficients show that causal variables; home educational support, aptitude, scientific reasoning skills, school support, and scientific attitude were statistically significant related towards science achievement at 0.01 level, however the motivation was at 0.05 level.
2. The hypothetical model was not consistent with the empirical data. Chi-square was 17.6250 (df = 6, p= 0.0079), goodness of fit index (GFI) = 0.9922, adjusted goodness of fit index (AGF) = 0.9532, standardized root mean square of approximation (SRMR) = 0.0319, and root mean square error of approximation (RMSEA) = 0.0589; The revised model by measuring model fit using chi-square was 6.7501 (df = 12, p= 0.8737), goodness of fit index (GFI)= 0.9970, adjusted goodness of fit index (AGFI) = 0.9910, standardized root mean square of approximation (SRMR) = 0.0161, and root mean square error of approximation (RMSEA) = 0.0
3. The variables positively affecting on science achievement directly were aptitude (β = 0.4721), scientific reasoning skills (β = 0.1717), and home educational support (β = 0.1085).
4. The variables affecting on science achievement indirectly were aptitude (β = 0.0917) and school support (β = 0.0217) and by mediating through scientific reasoning skills.
5. The revised model explained 63.26% of the variance in science achievement.
Downloads
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences is licensed Under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivs 4.0 International (CC-BY-NC-ND 4.0) License, Unless Otherwise Stated. Please Read Journal Policies Page for More Information on Open Access, Copyright and Permissions.