การรื้อปรับโครงสร้างองค์การและระบบการบริหารจัดการศึกษา รูปแบบใหม่โดยใช้ผลการวิจัยสถาบัน: กรณีศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว)
Keywords:
Restructuring, Reengineering, Management Core Process, Academic program clusters, Faculty of EducationAbstract
บทคัดย่อ ในช่วงเวลา 1 ทศวรรษที่ผ่านมา คณะศึกษาศาสตร์ มศว ได้เผชิญกับวิกฤติการณ์หลายประการ อาทิ ผู้สมัครเข้าศึกษาต่อ อาจารย์ผู้สอนและเงินงบประมาณมีจำนวนลดลง และเทคโนโลยีการสอนที่มีอยู่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก ส่งผลต่อการดำเนินพันธกิจในเชิงรุกอย่างมีคุณภาพเพื่อให้ทันกับบริบทของการจัดการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป จึงจำเป็นอย่างยิ่งต้องรื้อปรับโครงสร้างและระบบการบริหารจัดการศึกษาใหม่ขององค์การ การวิจัยสถาบันเรื่องนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนารูปแบบโครงสร้างองค์การและระบบการบริหารจัดการศึกษาใหม่ของคณะศึกษาศาสตร์ มศว โดยใช้สารสนเทศจากผลการวิจัยสถาบันเรื่องนี้เป็นแนวทางในการออกแบบและพัฒนารูปแบบ วิธีการวิจัยประกอบด้วยการวิเคราะห์เอกสาร การสำรวจด้วยแบบสอบถาม การสร้างภาพอนาคต และการสนทนากลุ่มระดมการมีส่วนร่วม รวบรวมข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการศึกษาและครุศึกษา รวมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการจัดการศึกษาหลากหลายกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า เนื้อหาของรายวิชาในบางกลุ่มสาขาวิชามีสาระเหลื่อมซ้อนกันมาก โครงสร้างองค์การและระบบบริหารจัดการใหม่ควรแบนราบและเชื่อมไขว้แบบเมตริกซ์ เพื่อประสิทธิภาพการสื่อสารและเอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงานเชิงรุกบูรณาการและยืดหยุ่นต่อการใช้ทรัพยากรร่วมกัน โครงสร้างใหม่ขององค์การคณะฯ ที่ร่างขึ้นจากสารสนเทศผลการวิจัยสถาบัน ประกอบด้วย 4 กลุ่มสาขาวิชา/แขนงวิชา และ 4 สำนักงานการบริหารจัดการ
Abstract
For the last ten years, SWU Faculty of Education has been severely affected by the crises of, for example, declining enrolments and budgets, an insufficient number of faculties, and rapidly changed technological context of teaching. The impact of these crises has essentially led to the reengineering of the organizational structure and core management processes. This institutional research was conducted with the purpose of using its findings for designing the new structure and processes that were better fit to the face of such crises. Documentary analysis, scenario building, questionnaire surveys, and focus group interviews were research methods employed for gathering data from experts in administration and teacher education and various groups of stakeholders. The findings indicated that there was some overlap among the contents of graduate courses in 3 program areas. The findings also showed that the new structure should be a flat and matrix format to enhance the efficiency and effectiveness of communication and to facilitate the cooperative working, and be flexible for sharing the use of resources among the members. The new structure designed on the basis of the findings was composed of 4 academic program clusters, and 4 administrative offices.
Downloads
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences is licensed Under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivs 4.0 International (CC-BY-NC-ND 4.0) License, Unless Otherwise Stated. Please Read Journal Policies Page for More Information on Open Access, Copyright and Permissions.