การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาเคมีทั่วไป โดยใช้สมองเป็นฐานสำหรับนักศึกษาสถาบันการพลศึกษา (THE DEVELOPMENT OF GENERAL CHEMISTRY BRAIN-BASED LEARNING MODEL FOR PHYSICAL EDUCATION STUDENTS)
Keywords:
Learning Management Model, Brain-based Learning, Achievement, Scientific MindAbstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาเคมีโดยใช้สมองเป็นฐาน (BRAISE Model) สำหรับนักศึกษาสถาบันการพลศึกษาและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและจิตวิทยาศาสตร์ของนักศึกษา เนื้อหาเคมีที่ใช้ในการศึกษานี้ประกอบด้วย 2 เรื่อง คือ ปฏิกิริยาเคมี และเคมีอาหาร โดยใช้นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา ชั้นปีที่ 1 คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม ปีการศึกษา 2554 จำนวน 40 คน เป็นกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งได้มาจากการเลือกอย่างเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้วิชาเคมีทั่วไป เรื่องปฏิกิริยาเคมีและเคมีอาหาร แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน เปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังเรียนด้วยการทดสอบค่าที ชนิด t-test for dependent sample ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (BRAISE Model) ที่เหมาะสมประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นบริหารสมอง (Brain-Gym) 2) ขั้นกระตุ้นสมอง (Rouse) 3) ขั้นจัดประสบการณ์ (Accessing to Information) 4) ขั้นฝึกประสบการณ์ (Implementation) 5) ขั้นสรุปประสบการณ์ (Summary) และ 6) ขั้นขยายความรู้ (Extension) ซึ่งหลังจากที่นักศึกษาได้เรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (BRAISE Model) ผลปรากฏว่านักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนและสูงกว่าคะแนนจุดตัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีจิตวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนและสูงกว่าคะแนนจุดตัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
This study aimed to (1) develop the general chemistry brain-based learning model for physical education students, and (2) study the effectiveness of the BRAISE Model on the students’ learning achievement and scientific mind. The samples were 40 students who were first year students at Institute of Physical Education Mahasarakham. They were selected by using purposive sampling. The contents involved in this study were chemical reaction and food chemistry. The research instruments were lesson plans of general chemistry in concept of chemical reaction and food chemistry, achievement test and scientific mind assessment test. The collected data were analyzed using basic statistics and t-test for dependent sample. The findings indicated that the feasible BRAISE model consists of 6 steps: Brain-Gym, Rouse, Accessing to Information, Implementation, Summary, and Extension. In addition, the results showed that the students' mean score of achievement and scientific mind after learning with the BRAISE Model were significantly higher than that before at 0.05 level. Furthermore, both of the students’ achievement and scientific mind mean scores were significantly higher than cut-off scores at 0.05 level.
Downloads
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences is licensed Under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivs 4.0 International (CC-BY-NC-ND 4.0) License, Unless Otherwise Stated. Please Read Journal Policies Page for More Information on Open Access, Copyright and Permissions.