นวัตกรรมการจัดการป่าชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน: กลไกการจัดการ การมีส่วนร่วม และความสำเร็จของชุมชนในการอนุรักษ์ป่าชุมชนห้วยแม่หิน จังหวัดลำปาง

Authors

  • พรเทพ สรธนาธร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

Keywords:

Community Forest, Community Organization, Sufficiency Economy

Abstract

บทคัดย่อ

     แนวคิดเรื่องป่าชุมชนเป็นแนวทางการดูแลรักษาป่าที่ให้ความสำคัญกับชุมชน (Local Community) และการมีส่วนร่วมของประชาคม (Participative Approach) ได้รับความสนใจและปฏิบัติอย่างแพร่หลายในประเทศที่กำลังพัฒนาและมีทรัพยากรป่าไม้เป็นฐานการผลิต อาทิ อินเดีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย เป็นต้น ภายใต้แนวคิดดังกล่าว ชุมชนในฐานะเจ้าของทรัพยากรธรรมชาติมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการรักษา ดูแล ทรัพยากรป่าไม้โดยรัฐเป็นผู้สนับสนุนและกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือของภาคส่วนต่างๆ ในสังคม สำหรับประเทศไทย แนวคิดป่าชุมชนมีความสำคัญเพิ่มขึ้นตามลำดับ สอดคล้องกับจำนวนที่เพิ่มขึ้นของป่าชุมชนที่ขึ้นทะเบียนอย่างเป็นทางการกับกรมป่าไม้ งานวิจัยชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของการลงพื้นที่ป่าชุมชนในภาคเหนือเพื่อศึกษากลไกการจัดการ ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จ และการมีส่วนร่วมในการจัดการป่าของชุมชนท้องถิ่น โดยได้ทำการศึกษาป่าชุมชนห้วยแม่หิน บ้านหัวทุ่ง อำเภองาว จังหวัดลำปาง ในเชิงคุณภาพ ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ควบคู่กับการใช้สถิติเชิงพรรณาประกอบ

ผลการศึกษาแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1) กลไกการจัดการป่าชุมชนโดยพบว่า มีการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ นำเอาภูมิปัญญาในการจัดการป่าไผ่ มาใช้ในการจัดสรร แบ่งปัน และอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไผ่ในชุมชน ส่วนที่ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการจัดการป่าชุมชนพบว่า ปัจจัยความสำเร็จ ได้แก่ การมีผู้นำที่เข้มแข็ง วัฒนธรรมประเพณี การมีองค์กรของชุมชนที่เป็นทางการในการจัดการดูแลรักษาป่า การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน และการนำเอาหลักแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้กับการบริหารจัดการป่าชุมชน และส่วนที่ 3) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการรักษาป่าและรูปแบบกิจกรรมการมีส่วนร่วมในการรักษาป่า คือ ชุมชนบ้านหัวทุ่งมีส่วนร่วมในกิจกรรมการรักษาป่าทุกด้าน ได้แก่ การค้นหาปัญหาและความต้องการ การตัดสินใจ การปฏิบัติการ ผลประโยชน์ และการประเมินผล โดยพบว่าชุมชนให้ความสำคัญมากกับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการรักษาป่า เช่น การปลูกป่า การสร้างฝายแม้ว และการจัดเลี้ยงผีขุนน้ำ ซึ่งเป็นประเพณีท้องถิ่นทางภาคเหนือ


Abstract


     The concept of community forest, which underlines the significance of process of local people participation has been widely accepted and implemented in developing countries, where production based on the forest resources, such as India, Philippine, and Indonesia. In accordance with this concept, the forest is perceived as a valuable asset and belonged to local community itself. In light of this notion, accountability in conserving the forest is not particularly narrowed to such government officials or forest officials as it was in the past, but the locals in community forest-those who gain direct and indirect benefits from the forest-are facilitated by the authorities to share responsibility in taking care of the forest as well. In Thailand, the role of community forest has become important for a decade, and the number of community forests officially registered with the Royal Forest Department has been increasing in every year. This research aims to study management practice, people participation and successful factors that allow Huay-Mae-Hin, a small community forest in Lampang Province, to recover their dreadful forest and finally accomplish forest conservation. Based on qualitative study, the major findings were highlighted on 1) the ability and practice of local community forest in applying their indigenous knowledge or local wisdom to help the forest survive, 2) major factors that allow the community to achieve their success, mainly include strong leader, local traditions and beliefs, community organization, people participation, and the application of philosophy of sufficiency economy, and 3) The quantitative study identifies that community participates in all activities, focusing on such forest activities as forest planting, check dam building, and worshiping to the forest guardian.

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

พรเทพ สรธนาธร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Downloads

Published

2015-03-23

How to Cite

สรธนาธร พ. (2015). นวัตกรรมการจัดการป่าชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน: กลไกการจัดการ การมีส่วนร่วม และความสำเร็จของชุมชนในการอนุรักษ์ป่าชุมชนห้วยแม่หิน จังหวัดลำปาง. Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences, 5(9, January-June), 99–115. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/32336