การศึกษาปัญหาการจัดการเรียนรู้ ระดับความต้องการพัฒนา การรับรู้และการเข้าถึงสื่อในรูปแบบต่างๆ ของการจัดการเรียนการรู้วิชาวิทยาศาสตร์ สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศของครูแกนนำวิทยาศาสตร์

Authors

  • สิทธิศักดิ์ จินดาวงศ์ ศูนย์วิทยาศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ณสรรค์ ผลโภค สถาบันวิทยาศาสตร์ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  • กานจุลี ปัญญาอินทร์ สถาบันวิจัยและพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • นำชัย ศุภฤกษ์ชัยสกุล ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์

Keywords:

Leading science teachers’ perceptions, Problems of instruction, Astronomy and Space concepts

Abstract

บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของการจัดการเรียนรู้ และระดับความต้องการพัฒนาของการจัดการเรียนรู้ การเตรียมการจัดการเรียนรู้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ การใช้สื่อในการจัดการเรียนรู้ วิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ความเร่งด่วนของปัญหาที่ต้องการความช่วยเหลือ และการรับรู้การเข้าถึงและการใช้สื่อในการจัดการเรียนรู้ในวิชาวิทยาศาสตร์ สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศของครูแกนนำวิทยาศาสตร์โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มแบบเจาะจง ผลการศึกษาพบครูแกนนำวิทยาศาสตร์มีระดับการปฏิบัติเกี่ยวกับการเตรียมการ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ การใช้สื่อ และการวัดประเมินผลการจัดการเรียนรู้เฉลี่ยทุกประเด็น อยู่ในระดับปานกลาง (3.24) มีระดับของปัญหาในการจัดการเรียนรู้เฉลี่ยทุกประเด็น อยู่ในระดับปานกลาง (3.20) แต่มีระดับความต้องการที่จะพัฒนาในทุกประเด็น อยู่ในระดับมาก (3.45-4.18) ครูแกนนำมีการรับรู้ถึงสื่อและแหล่งเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ หลากหลาย แต่สามารถเข้าถึง และเลือกใช้สื่อได้เพียงบางชนิด และมีครูแกนนำส่วนหนึ่งเห็นว่าตนเอง ต้องการที่จะได้รับการพัฒนาด้านเนื้อหาเพิ่มเติม

 

Abstract


     The purposes of this study are to survey the situation of instruction of Astronomy and Space, the needs of instructional development, preparation of instruction, using instructional strategies, using media in teaching and learning process, instructional assessment and evaluation, urgent problems which need to be addressed, perceptions and accessibility to instructional materials. Purposive sampling technique was employed to select a sample of leading science teachers. The results showed medium to high level on following aspects: (a) the preparation of learning management, the use of instructional strategies, instructional media in teaching and learning process, and assessment and evaluation are rated at medium level (3.24); (b) requiring of the instruction of Astronomy and Space is rated at medium level (3.20); and (c) the need of instructional development is rated at high level (3.45-4.18). The results of the leading science teachers’ perception showed that they perceived various kinds of media and resources but they could only access to some of media and resources. The need of professional development in regard of content knowledge was also addressed.

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

สิทธิศักดิ์ จินดาวงศ์, ศูนย์วิทยาศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ณสรรค์ ผลโภค, สถาบันวิทยาศาสตร์ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

กานจุลี ปัญญาอินทร์, สถาบันวิจัยและพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

นำชัย ศุภฤกษ์ชัยสกุล, ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Downloads

Published

2015-03-23

How to Cite

จินดาวงศ์ ส., ผลโภค ณ., ปัญญาอินทร์ ก., & ศุภฤกษ์ชัยสกุล น. (2015). การศึกษาปัญหาการจัดการเรียนรู้ ระดับความต้องการพัฒนา การรับรู้และการเข้าถึงสื่อในรูปแบบต่างๆ ของการจัดการเรียนการรู้วิชาวิทยาศาสตร์ สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศของครูแกนนำวิทยาศาสตร์. Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences, 5(9, January-June), 141–153. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/32340