ไวยากรณ์เยอรมันจากมุมมองของไทย (GERMAN GRAMMAR FROM THE PERSPECTIVE OF THAI)

Authors

  • กรกช อัตตวิริยะนุภาพ ภาควิชาภาษาเยอรมัน คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Keywords:

Grammar, German, Thai, Contrastive study

Abstract

บทคัดย่อ

     บทความวิจัยนี้นำเสนอผลการวิจัยที่เป็นภาพสรุปรวมของโครงการวิจัยเรื่อง “ไวยากรณ์เยอรมันจากมุมมองของไทย” ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมความรู้เกี่ยวกับไวยากรณ์เยอรมันในลักษณะเปรียบเทียบกับไวยากรณ์ไทย และสังเคราะห์องค์ความรู้ดังกล่าว ศึกษาเปรียบต่างภาษาเยอรมันกับภาษาไทยบางประเด็นที่เกี่ยวข้องกับคำกริยา อันได้แก่ มโนทัศน์เกี่ยวกับเวลาและทัศนภาวะ เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้มาเป็นส่วนหนึ่งในการทดลองผลิตร่างคู่มือไวยากรณ์เปรียบต่างภาษาเยอรมันกับภาษาไทย เรื่อง คำกริยา

ผลจากการสังเคราะห์งานวิจัยที่เป็นการศึกษาเปรียบต่างภาษาเยอรมันกับภาษาไทยในช่วงปี พ.ศ. 2521-2551 พบว่าส่วนใหญ่ยังไม่ได้เป็นงานวิจัยที่นำเสนอข้อมูลเชิงปริมาณ และยังไม่มีงานวิจัยที่ศึกษาหน่วยทางไวยากรณ์ที่เป็นหน่วยคำผันได้ ในการศึกษาเปรียบต่างไวยากรณ์เยอรมันกับไวยากรณ์ไทยในหัวข้อการสื่อมโนทัศน์เรื่องเวลาและทัศนภาวะ ผู้วิจัยจึงเลือกใช้คลังข้อมูลรูปแบบใหม่ที่เป็นผลงานเรื่องสั้นจากทั้งภาษาไทยและภาษาเยอรมันและบทแปลจากทั้งสองทิศทาง เพื่ออาศัยความแตกต่างระหว่างสองระบบภาษามาสะท้อนภาพมโนทัศน์ที่เหมือนและแตกต่างกัน ผลจากการศึกษาเรื่องการสื่อมโนทัศน์เกี่ยวกับเวลาพบว่า “กาล” ในภาษาเยอรมันสามารถพรรณนาจากมุมมองของภาษาไทยได้โดยการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของบริบทที่ปรากฏร่วมกันระหว่างกาลแต่ละกาลในภาษาเยอรมันกับตัวบ่งชี้การณ์ลักษณะของภาษาไทยกลุ่มต่างๆ ในส่วนของการสื่อทัศนภาวะผ่านรูปคำกริยานั้น ภาษาไทยมีแนวโน้มที่จะพัฒนาไปสู่การแยกรูปกันระหว่างการสื่อทัศนภาวะแบบปริศักดิ์กับแบบสัญชาน

สรุปได้ว่า แม้ภาษาเยอรมันกับภาษาไทยจะเป็นภาษาที่แตกต่างกันเป็นอันมากในเชิงแบบลักษณ์ภาษา แต่มโนทัศน์หลายประการโดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคำกริยาในภาษาเยอรมันนั้นสามารถพรรณนาได้ชัดเจนขึ้นเมื่อเปรียบต่างกับภาษาไทย การมองย้อนสะท้อนไปมาระหว่างระบบไวยากรณ์อันซับซ้อนของภาษาเยอรมันกับความหลายหลายหน้าที่ของหน่วยคำทางไวยากรณ์ในภาษาไทยยังทำให้การบรรยายไวยากรณ์เฉพาะภาษาของทั้งสองภาษาได้ภาพที่คมชัดขึ้นด้วย ซึ่งองค์ความรู้ที่ได้รับจากการวิจัยนั้นมิเพียงแต่จะสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนภาษาเยอรมันสำหรับคนไทยและในการเรียนการสอนภาษาไทยสำหรับผู้เรียนที่พูดภาษาเยอรมันเท่านั้น แต่สามารถเป็นคู่มือที่ช่วยให้นักแปลมีความละเอียดอ่อนในการถ่ายทอดจากภาษาหนึ่งไปสู่อีกภาษาหนึ่งด้วย


Abstract


     This paper aims to present an overview on the results of the research project “German Grammar from the Perspective of Thai”. Its objectives are to collect information in German grammar in comparison to the grammar of the Thai language and synthesize it; to conduct contrastive studies of German and Thai focusing on the verbal system, i.e. temporality and modality; and to convey the results of the contrastive studies of these two languages in the form of a handbook of German-Thai contrastive grammar on verb.

After the survey and synthesis of German-Thai linguistic contrastive studies between 1978 and 2008, it has been found that none of these researches use quantitative methods to show any observable tendency in the grammar of the studied languages. There was no contrastive studies on any inflected grammatical morphemes in German either. For the own contrastive studies on temporality and modality, the so-called bidirectional parallel corpus consisting of contemporary Thai and German contemporary short stories and their translation into the other language is used. The results of the studies of the expression of temporality in German and Thai show that German tense system can be described from the perspective of Thai. There is a correlation between the use of German tenses and different groups of Thai aspect markers. In terms of modality, Thai shows a tendency to grammaticalize two different sets of markers to express only either deontic or epistemic modality.

Even though German and Thai are two typologically different languages, some similarities of universal concepts can be found, especially in the verbal system. The reflections between the complicate grammar of German and the multifunctionality of Thai grammatical morphemes make it possible to explain the grammar of these two languages more clearly. The knowledge from this research cannot only be made useful in German language teaching for Thai learners and Thai teaching for German native speakers, but can also be used as guidelines for translators who will be more sensitive while transferring message from one language to the other.


Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

กรกช อัตตวิริยะนุภาพ, ภาควิชาภาษาเยอรมัน คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Downloads

Published

2015-03-23

How to Cite

อัตตวิริยะนุภาพ ก. (2015). ไวยากรณ์เยอรมันจากมุมมองของไทย (GERMAN GRAMMAR FROM THE PERSPECTIVE OF THAI). Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences, 4(8, July-December), 1–17. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/32342