การสร้างและพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการด้านดนตรีไทยระดับอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ESTABLISHING AND DEVELOPING AN ACADEMIC COLLABORATION NETWORK OF THAI CLASSICAL MUSIC IN HIGHER EDUCATIONAL INSTITUTIONS IN THE NORTHEAST OF THAILAND)

Authors

  • พิพัฒน์ สอนใย สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ไทย วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Keywords:

Academic Collaboration of Thai Classical Music

Abstract

บทคัดย่อ

      การวิจัยการสร้างและพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการด้านดนตรีไทย ระดับอุดมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1. ศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนดนตรีไทยของสถาบันอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2. พัฒนาส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการดนตรีไทยของสถาบันอุดมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ อาจารย์ประจำที่สอนดนตรีไทยในสถาบันอุดมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีการศึกษา 2551 เลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 30 คน ใน มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม แบ่งเป็น 3 ตอน ตอนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 เพื่อศึกษาปัญหาและสภาพความรุนแรงในการจัดการศึกษาดนตรีไทยของสถาบันอุดมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการ ด้านคณาจารย์และบุคลากร ด้านนิสิตนักศึกษา ด้านหลักสูตรและการสอนดนตรีไทย ด้านวัสดุครุภัณฑ์และอาคารสถานที่ ด้านการวิจัย ตอนที่ 3 ความคิดเห็นต่อการสร้างและพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือวิชาการด้านดนตรีไทย สถาบันอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และโครงการต่างๆ เพื่อร่วมมือแก้ไขปัญหาและพัฒนาวิชาการดนตรีไทย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน และการวิเคราะห์ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี

ผลการวิจัยพบว่า 1. สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 73.3 อายุอยู่ในช่วง 31-40 ปี ร้อยละ 43.3 วุฒิการศึกษาปริญญาโทร้อยละ 80.0 ประสบการณ์ด้านการสอนอยู่ในช่วง 1-5 ปี และช่วง 6-10 ปี ร้อยละ 30.0 ตำแหน่งทางวิชาการเป็นอาจารย์ร้อยละ 76.7 2. สภาพความรุนแรงของปัญหาส่วนใหญ่ อยู่ในระดับปานกลาง พิจารณาระดับปัญหารายด้านดังนี้ ด้านการบริหารจัดการมีปัญหาปานกลาง ด้านคณาจารย์และบุคลากรมีปัญหา ปานกลาง ด้านนิสิตนักศึกษามีปัญหามากด้านหลักสูตรและการสอนมีปัญหาปานกลาง ด้านวัสดุครุภัณฑ์ และอาคารสถานที่มีปัญหามาก ด้านการวิจัยมีปัญหาปานกลาง 3. ความคิดเห็นโดยรวมต่อเครือข่ายพัฒนาวิชาการสถาบันอุดมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และกิจกรรมโครงการ (ทั้งหมด 32 โครงการ) เห็นด้วย ร้อยละ 95.82 พิจารณาตามหัวข้อ ดังนี้ เห็นด้วย ร้อยละ 90.0 ต่อชื่อ เห็นด้วย ร้อยละ 93.3 ต่อแนวความคิด เห็นด้วย ร้อยละ 93.3 ต่อพันธกิจ เห็นด้วย ร้อยละ 98.0 ต่อวัตถุประสงค์ เห็นด้วย ร้อยละ 98.05 ต่อหน้าที่ เห็นด้วย ร้อยละ 95.2 ต่อโครงการพัฒนาองค์กรวิชาการดนตรีไทยสถาบันอุดมศึกษา เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้มาตรฐานและคุณภาพสู่สากล (จำนวน 16 โครงการ) เห็นด้วย ร้อยละ 97.22 ต่อโครงการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพนิสิตนักศึกษาดนตรีไทย (จำนวน 6 โครงการ) เห็นด้วย ร้อยละ 97.8 ต่อโครงการสร้างองค์ความรู้ด้านดนตรีไทย สื่อการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาฐานความรู้เป็นแหล่งเรียนรู้อย่างยั่งยืน (จำนวน 3 โครงการ) เห็นด้วย ร้อยละ 97.5 ต่อโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาด้านดนตรีไทย (จำนวน 4 โครงการ) เห็นด้วย ร้อยละ 100 ต่อโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายวิชาการดนตรีไทย ระดับอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จำนวน 3 โครงการ)



Abstract


     The purpose of this research study is two-fold: 1) to investigate problems pertaining to teaching and learning Thai classical music in higher educational institutions in the Northeast of Thailand, and 2) to develop and promote academic collaboration among the institutions with regard to Thai classical music. The sample group of the study includes 30 lecturers of Thai classical music, selected by means of a purposive sampling method from higher educational institutions in the Northeastern region, including Khon Kaen University, Mahasarakham University, Ubon Ratchathani University, Buriram Rajabhat University, Maha Sarakham Rajabhat University, Surin Rajabhat University, Udon Thani Rajabhat University, and Ubon Ratchathani Rajabhat University. The instrument employed for data collection is a questionnaire comprising three parts: general information on each participant, problems concerning the teaching of Thai classical music, and participants’ opinions on establishing and developing an academic collaboration network of Thai classical music and projects aiming at developing and promoting Thai music students’ potentials. In data analysis, a mixed methodology is employed, along with simple statistics, namely percentage, mean, and standard deviation.

The results of the study reveal that 73.3 per cent of the respondents were male, 43.3 per cent being 31-40 years of age, 80.0 per cent holding a master’s degree, 30.0 per cent having 1-5 and 6-10 years of teaching experience, and 76.6 per cent holding an academic position as a lecturer. The intensity degree of most problems was at a moderate level, with those of the problems regarding management, lecturers, personnel, curriculum and instruction, and research being at a moderate level, while those of the problems concerning students, materials and equipment, and buildings and ground being at a high level. In terms of participants’ opinions, 95.82 per cent agreed upon establishing an academic network of Thai classical music and related projects, with 90.0 per cent agreeing upon the network’s title, 93.3 per cent upon the rational of the network, 93.3 per cent upon its mission, 98.0 per cent upon its objectives, 98.05 per cent upon its responsibilities, 95.2 per cent upon 16 projects on developing an academic organization of international standard in higher educational institutions in the Northeast, 97.22 per cent upon 6 projects on developing and promoting Thai music students’ potentials, 97.8 per cent upon 3 projects on constructing medias for a sustainable knowledge base on Thai music, 97.5 per cent upon 4 projects on conserving and promoting art and culture as well as the wisdom of Thai classical music, and 100 per cent upon 3 projects on strengthening the academic network of Thai classical music in higher educational institutions in the Northeast of Thailand.

 

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

พิพัฒน์ สอนใย, สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ไทย วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Downloads

Published

2015-03-23

How to Cite

สอนใย พ. (2015). การสร้างและพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการด้านดนตรีไทยระดับอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ESTABLISHING AND DEVELOPING AN ACADEMIC COLLABORATION NETWORK OF THAI CLASSICAL MUSIC IN HIGHER EDUCATIONAL INSTITUTIONS IN THE NORTHEAST OF THAILAND). Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences, 4(8, July-December), 91–101. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/32352