การใช้ภาษาแม่เป็นสื่อในการสอนในประเทศไทย: มีผลกระทบอย่างไรกับพฤติกรรมของเด็กจีนยูนนาน (USING MOTHER TONGUE AS A MEDIUM OF INSTRUCTION IN THAILAND: HOW DOES IT AFFECT YUNNANESE CHILDREN’S BEHAVIOR?)
Keywords:
Mother-tongue, Medium of instruction, Yunnanese ChineseAbstract
บทคัดย่อ ระบบการศึกษาอย่างเป็นทางการในประเทศไทยมีความสำคัญสำหรับคนไทยทุกคน ในปัจจุบันเป็นที่ทราบกันอย่างชัดเจนว่ากลุ่มชาติพันธุ์ต้องเผชิญกับปัญหาการเรียนภาษาไทยเมื่อเข้าเรียนในการศึกษาภาคบังคับ ซึ่งทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนค่อนข้างต่ำ เป็นเพราะว่าผู้เรียนกลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้ไม่คุ้นเคยกับคำศัพท์วิชาการภาษาไทยที่ใช้ในโรงเรียน
เด็กจีนยูนนานที่โรงเรียนบ้านใหม่หนองบัว จังหวัดเชียงใหม่ ก็ประสบปัญหานี้เช่นกัน ครูที่โรงเรียนนี้จึงพยายามที่จะใช้ภาษาแม่ของเด็กในการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1 เป็นต้นไป อย่างไรก็ตามด้วยเหตุที่โรงเรียนเองไม่มีครูที่เป็นคนจีนยูนนานที่สามารถพูดภาษาของเด็กได้ จึงต้องหาครูผู้ช่วยที่เป็นคนจีนยูนนานและสามารถพูดภาษาเดียวกับเด็กได้ มาฝึกเป็นครูสอนให้เด็ก แม้ว่าโครงการวิจัยนี้จะเพิ่งเริ่มสอนในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2554 (พฤษภาคม พ.ศ. 2554) ก็ตาม แต่ครูประจำชั้นซึ่งเป็นครูไทยและครูผู้ช่วยที่สอนเด็กชั้นอนุบาล 1 ห้องทดลอง ได้สังเกตเห็นพฤติกรรมของเด็กที่เปลี่ยนไปในทางบวกหลายประการ ตัวอย่างเช่น เด็กไม่กลัวที่จะมาโรงเรียน มีความสุขกับการเรียน มีปฏิสัมพันธ์กับครูผู้ช่วยในกิจกรรมต่างๆ และกล้าแสดงออก
บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อเสนอผลการวิจัยที่เกิดกับเด็กที่ใช้ภาษาแม่ร่วมกับภาษาไทยเป็นสื่อในการสอนในชั้นอนุบาล 1 บทความนี้ไม่เพียงมุ่งผลของพฤติกรรมเด็กเท่านั้น แต่จะอภิปรายปฏิกริยาของผู้ปกครองเด็กด้วย
The formal education system in Thailand is very important for all Thais. At present, it’s clear that ethnolinguistic minority groups in Thailand encounter mostly academic Thai language when they start their formal education. As a result, their educational achievement is rather low. This is because the minority learners are not very familiar with the academic Thai used in the classroom.
The Yunnanese-Chinese children at Ban Mai Neong Bua School, in Chiang Mai province have had to confront this educational challenge. The teachers at this school try to use the children’s first language as a medium of instruction from kindergarten 1 (KG1) onwards. However, at the school itself there are no Yunnanese teachers. Consequently, teaching assistants (TA) who are Yunnanese and speak Yunnanese Chinese have been trained, to teach the children. Although this project has just started in the first semester of 2010 (May 2010), the homeroom Thai-teacher and the teaching assistant in an experimental classroom at KG1 have observed that the children’s behavior has changed in positive ways. For example, they are no longer afraid to go to school; they enjoy learning, actively participate in various activities with the TA, and even dare to act out.
The purpose of this paper is to describe the results after the learners’ mother tongue, in addition to Thai, has been introduced as an auxiliary medium of instruction. The focus is not only on the children’s behavior, but the paper also discusses parents’ reactions.
Downloads
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences is licensed Under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivs 4.0 International (CC-BY-NC-ND 4.0) License, Unless Otherwise Stated. Please Read Journal Policies Page for More Information on Open Access, Copyright and Permissions.