วิถีคนและวิถีคลองนาทับ ตำบลนาทับ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา (HUMAN WAY OF LIFE AND THE WAY OF LIFE OF PEOPLE ALONG NA THAP CANAL, NA THAP SUB-DISTRICT, CHANA DISTRICT, SONGKHLA PROVINCE)

Authors

  • สวรินทร์ เบ็ญเต็มอะหลี สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • อุทัย ปริญญาสุทธินันท์

Keywords:

Human way of life, Way of life of people along a canal, Community rights, Social movement, Na Thap Canal

Abstract

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์สิทธิชุมชนของชุมชนคลองนาทับ ตำบลนาทับ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่รัฐในพื้นที่ และกลุ่มชาวบ้าน ทั้ง 14 หมู่บ้าน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้นจำนวน 68 คน การสนทนากลุ่ม และการสังเกตแบบไม่เป็นทางการ จากการศึกษาพบว่า คลองนาทับเป็นแหล่งทรัพยากรสำคัญของชุมชนที่ก่อเกิดความผูกพันระหว่างคน กับสายน้ำ วิถีคน วิถีคลอง ที่ดำเนินมายาวกว่า 400 ปี ชุมชนคลองนาทับแห่งนี้มีปัญหาจากการละเลยสิทธิชุมชนของรัฐ และกลุ่มทุนภายในชุมชนที่ดำเนินกิจกรรมซึ่งส่งผลกระทบต่อแหล่งทรัพยากรสำคัญของชุมชน

ปัจจุบันคลองนาทับมีสภาพน้ำที่มีมลภาวะในขั้นวิกฤติ และส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของผู้คนในชุมชน โดยบ่งชี้สถานการณ์ได้จากการรับรู้ของกลุ่มชาวประมงพื้นบ้านที่พบว่า สัตว์น้ำมีปริมาณลดลงหรือสูญพันธุ์ไปจากคลองนาทับ ที่สุดนำไปสู่การลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อต่อต้านโครงการของรัฐที่กำลังเข้าสู่ชุมชน โดยรูปแบบการเคลื่อนไหวทางสังคมของชุมชนพบว่า มีการยื่นหนังสือร้องเรียนไปยังหน่วยงานของรัฐ และใช้ทางเลือกสุดท้ายของการต่อสู้ในระดับรากหญ้า คือ การชุมนุมประท้วงเพื่อคัดค้านโครงการ ทว่าระยะเวลาที่ใช้ในการชุมนุมไม่ยาวนานซึ่งมีสาเหตุสำคัญ 2 ประการ คือ (1) ปัญหาที่เกิดขึ้นกับคลองนาทับไม่ได้รับการแก้ปัญหาที่ชัดเจนทำให้พลังในการรวมตัวของชุมชนไม่เข้มแข็ง และ (2) ชุมชนขาดผู้นำโดยธรรมชาติที่จริงจังและเข้มแข็ง

อนึ่ง ท่ามกลางสภาวะวิกฤติของคลองนาทับ ชุมชนได้มีการปรับตัวในรูปแบบต่างๆ ตามเงื่อนไขทางทรัพยากรของแต่ละครัวเรือน โดยกลุ่มครัวเรือนที่ยังยืนหยัดเลี้ยงปลาในกระชังต่อไปปรับตัวโดยการเพาะพันธุ์ปลาเอง หรือเปลี่ยนชนิดพันธุ์ปลาที่ทนต่อสภาวะน้ำที่มีมลภาวะได้ ส่วนครัวเรือนที่มีที่ดินปรับตัวโดยยึดอาชีพเพาะปลูกสวนผัก สวนยางพารา ขณะที่ครัวเรือนที่ยึดอาชีพประมงซึ่งต้องออกเรือไกลจากฝั่งมากขึ้นกว่าในอดีตจะปรับตัวโดยแสวงหาวิธีรักษาสภาพสัตว์น้ำที่หาได้ให้สามารถเก็บความสดไว้ได้นานขึ้น

กล่าวได้ว่า การปรับตัวของชุมชนเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ชุมชนดำรงอยู่ได้ท่ามกลางกระแสการพัฒนา ที่มิอาจเลี่ยงได้ ขณะเดียวกันภาครัฐควรตระหนักในสิทธิของชุมชนโดยดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของโครงการอย่างโปร่งใสและให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจอย่างแท้จริง ตลอดจนปรับแนวนโยบายให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชน


Abstract


      This study is a qualitative study which aimed to investigate the community rights situation of Na Thap Canal Community, Na Thap Sub-district, Chana District, Songkhla Province through in-depth interviews with community leaders, local government officials and groups of villagers in all the 14 villages totaling 68 informants. Focus group discussions and informal observations were also conducted. From the study, it was found that Na Thap Canal had been a source of important resources for the community that resulted in the relationship between man and the river; humans’ way of life and way of the canal for over 400 years. Na Thap Canal had problems resulting from the state’s negligence of community rights and those resulting from capitalist groups in the community that affected important community resources. 

Presently, the water in Na Thap Canal is critically polluted and affects the way of life of people in the community as evidenced by native fishermen’s awareness in the decreasing number, and extinctions of aquatic animals. These problems have eventually caused people to rise up against the state’s projects that are coming to the community. Regarding the social movement types, it was found that complaints were filed with government agencies and the last choice of fight at the grassroots level was a demonstration to protest the project. However, the length of the demonstration was not very long because of two important reasons: (1) the solutions for problems in Na Thap Canal were not clear which caused the power of protest to become weak; and (2) the community still lacked natural community leaders who were earnest and strong.

Amidst the critical situations in Na Thap Canal, the community has adapted itself according to the conditions of each household’s resources. The group of households that insists in raising fish in baskets have adapted themselves by breeding their own fish or change to raise the species of fish that can withstand polluted environments. The group of households that own plots of land grow vegetables and engage in rubber plantations, and the group of fishery households adapt themselves by seeking methods that can keep their catch fresh longer because nowadays they have to go further away from the coast for fishing than they did in the past. As can be seen, community’s adaptation is a crucial part that maintains the community’s existence amidst the development tide that is unavoidable for the community.  At the same time, the government sector should realize about community rights; perform project activities transparently by allowing the community to truly participate in decision-makings; and adapt policy to correspond with the community’s way of life.


Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

สวรินทร์ เบ็ญเต็มอะหลี, สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

 

 

อุทัย ปริญญาสุทธินันท์

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

 

 

Downloads

Published

2015-03-24

How to Cite

เบ็ญเต็มอะหลี ส., & ปริญญาสุทธินันท์ อ. (2015). วิถีคนและวิถีคลองนาทับ ตำบลนาทับ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา (HUMAN WAY OF LIFE AND THE WAY OF LIFE OF PEOPLE ALONG NA THAP CANAL, NA THAP SUB-DISTRICT, CHANA DISTRICT, SONGKHLA PROVINCE). Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences, 4(8, July-December), 129–139. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/32369