การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพมาตรวัดการควบคุมตนเอง: การศึกษาแยกภาวะสันนิษฐาน (DEVELOPMENT AND VALIDATION OF SELF-CONTROL SCALE: A CONSTRUCT SEPARATION STUDY)

Authors

  • สิทธิพงษ์ วัฒนานนท์สกุล ภาควิชจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Keywords:

Self-control, Adolescence, Measurement Model, Second-order Confirmatory Factor Analysis, Scale Development

Abstract

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของมาตรวัดการควบคุมตนเองในวัยรุ่นไทยโดยแยกภาวะสันนิษฐานออกเป็นการควบคุมตนเองที่ดี (good self-control scale) และการควบคุมตนเองที่ไม่ดี (poor self-control scale) ตามการศึกษาวิจัยก่อนหน้า การศึกษาที่ 1 การพัฒนาข้อกระทงเพื่อให้ครอบคลุมภาวะสันนิษฐานของการควบคุมตนเองที่ดี และการควบคุมตนเองที่ไม่ดี กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชน จำนวน 102 คน การศึกษาที่ 2 การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวัดด้านความตรงเชิงภาวะสันนิษฐาน ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง (second-order factor analysis) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชน จำนวน 237 คน การศึกษาที่ 3 การตรวจสอบคุณภาพของมาตรวัดด้านความเที่ยงด้วยวิธีการวัดซ้ำต่างช่วงเวลา (test-retest) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชน จำนวน 100 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง เพื่อตรวจสอบโมเดลการวัดที่มีตัวแปรแฝง และการทดสอบซ้ำต่างช่วงเวลาเพื่อทดสอบคุณภาพเครื่องมือด้านความเที่ยงของมาตร ทั้ง 2 เทคนิค วิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (Structure Equation Modeling) 

สรุปผลการวิจัยที่สำคัญดังนี้
การศึกษาที่ 1 ผลการวิจัยพบว่า ข้อกระทงทุกข้อในมาตรวัดทั้ง 2 มาตรวัด จำนวน 24 ข้อ ผ่านเกณฑ์การวิเคราะห์รายข้อกระทง ด้วยการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างข้อกระทงกับข้อรวมทั้งฉบับ (CITC) ค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยง (Cronbach’s Alpha) มาตรวัดการควบคุมตนเองที่ไม่ดี และมาตรวัดการควบคุมตนเองที่ดี มีค่าเท่ากับ 0.89 และ 0.85 ตามลำดับ

การศึกษาที่ 2 ผลการวิจัยพบว่า โมเดลการวัดการควบคุมตนเอง ที่แยกภาวะสันนิษฐานออกเป็นการควบคุมตนเองที่ไม่ดี และการควบคุมตนเองที่ดี ตามสมมติฐานวิจัยมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดี พิจารณาเกณฑ์จากค่าไค-สแควร์ ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้ (AGFI) ค่าดัชนีรากของกำลังสองเฉลี่ยของเศษเหลือ (RMR) และค่าดัชนีรากของกำลังสองเฉลี่ยของเศษเหลือมาตรฐาน (RMSEA) โดยองค์ประกอบการควบคุมตนเองที่ดี ได้แก่ ความสามารถในการสงบอารมณ์ ความสามารถในการชะลอความปรารถนา และความสามารถในการแก้ปัญหา องค์ประกอบของการควบคุมตนเองที่ไม่ดี ได้แก่ ความหุนหันพลันแล่น การขาดความอดทนอดกลั้น และการขาดสมาธิจดจ่อ

การศึกษาที่ 3 ผลการวิเคราะห์โดยการวัดซ้ำ (test retest analysis) พบว่า คะแนนการควบคุมตนเองที่ดี และคะแนนการควบคุมตนเองที่ไม่ดีในการวัดครั้งแรก มีความสัมพันธ์กับคะแนนการควบคุมตนเองที่ดี (r=0.93, p<0.05) และคะแนนการควบคุมตนเองที่ไม่ดี (r=0.81, p<0.05) จากการวัดครั้งที่สอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อธิบายความแปรปรวนร่วมกันคิดเป็นร้อยละ 87 และ 66 ตามลำดับ และโมเดลการวัดซ้ำต่างช่วงเวลามีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดี

การศึกษาคุณภาพเครื่องมือด้วยวิธีการจิตมิติ (psychometric) และผลการศึกษาที่ได้จะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ใช้วัดการควบคุมตน และเป็นแนวทางในการพัฒนากลุ่มนักเรียน นักศึกษาวัยรุ่นตามตัวชี้วัดนี้ต่อไป

 

 

Abstract



     The purposes of this study were to develop and validate the self-control scale in Thai adolescents. The constructs of self-control were distinct into good and poor self-control as showed in previous studies. In study 1, Items were developed for each construct of good self-control and poor self-control with 102 university students. Study 2 validated self-control scale by using the second-order confirmatory factor analysis technique with 237 university students. Study 3 calculated the reliability by using the test retest method model with 100 university students. Second order confirmatory factor analyses technique were used to test the measurement model of latent constructs and test-retest model were used to test the reliability of the scale. Both processes were analysed by using structural equation modeling technique.

Results showed that the 24-items of self-control using collected items total correlation criterion showed high internal consistency reliability (0.89 for poor self-control scale and 0.85 for good self-control scale) and the validation by using second-order factor analysis technique and test retest method were showed as follows: (1) The 3 indicators of student ‘s good self-control consisted of soothability, delay of gratification and problem solving. (2) The 3 indicators of student’s poor self-control consisted of impulsiveness, impatience and distractibility. Additionally, The measurement model of self-control was fit with the empirical data indicated by Chi-square, GFI, AGFI, RMR, and RMSEA criterions. (3) The results of the test retest model was fit with the empirical data and scale accounted for 87%, and 66% of total variance of good self-control and poor self-control, respectively.

The psychometric properties and implications for promoting and teaching by separating on good and poor self-control issues are discussed.


Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

สิทธิพงษ์ วัฒนานนท์สกุล, ภาควิชจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Downloads

Published

2015-03-24

How to Cite

วัฒนานนท์สกุล ส. (2015). การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพมาตรวัดการควบคุมตนเอง: การศึกษาแยกภาวะสันนิษฐาน (DEVELOPMENT AND VALIDATION OF SELF-CONTROL SCALE: A CONSTRUCT SEPARATION STUDY). Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences, 4(8, July-December), 153–167. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/32371