การแก้ไขปัญหาการเปิดเผยข้อมูลสุขภาพในสถานพยาบาล: ศึกษากรณีร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ... (RESOLVING PROBLEMS RELATED TO DISCLOSURE OF HEALTH INFORMATION IN HOSPITALS: CASE STUDY IN THE DRAFT OF PRIVATE INFORMATION PROTECTION ACT B.E...)

Authors

  • รัชดาพร สังวร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

Keywords:

disclosure of health information, consent, private information, hospital

Abstract

บทคัดย่อ

     สถานพยาบาลประสบปัญหาอย่างมากกับการร้องขอให้มีการเปิดเผยข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยจากบุคคลต่างๆ โดยเฉพาะครอบครัวของผู้ป่วย ซึ่งหากผู้ป่วยให้ความยินยอมปัญหาดังกล่าวก็จะหมดไป แต่หากผู้ป่วยไม่ให้ความยินยอมต่อสถานพยาบาลในการเปิดเผยข้อมูลสุขภาพต่อผู้อื่น หรือผู้ป่วยอยู่ในสภาวะที่ไม่มีสติที่จะให้ความยินยอมได้ ปัญหาของสถานพยาบาลเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยจะเกิดขึ้นทันที เนื่องจากสถานพยาบาลยังมีความไม่แน่ใจว่าตนสามารถที่จะเปิดเผยข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยต่อบุคคลอื่นได้หรือไม่ ซึ่งความไม่ชัดเจนและความไม่เหมาะสมของกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันก็เป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งของปัญหาดังกล่าวเนื่องจากกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันมีความเคร่งครัดเกินไป นอกจากนี้ กฎหมายเหล่านั้นยังบัญญัติอยู่อย่างกระจัดกระจาย และไม่เหมาะสมกับสภาวะสังคมในปัจจุบันทำให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ได้มีความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาโดยการออกกฎหมายใหม่ที่คิดว่าจะมีความเหมาะสมกว่าเดิมเพิ่มเข้ามา โดยในปัจจุบันได้มีการยกร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ... ขึ้นมาโดยมุ่งหวังว่าจะทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลได้รับความคุ้มครองที่ดีขึ้น บทความนี้ จึงมุ่งที่จะพิจารณาเปรียบเทียบและให้ความเห็นเกี่ยวกับปัญหาของกฎหมายในปัจจุบัน และแนวทางการแก้ไขปัญหาตามร่างกฎหมายฉบับใหม่ ซึ่งจากการพิจารณาเนื้อหาของร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวแล้ว พบว่าร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมด โดยปัญหาที่ได้รับการแก้ไขอย่างชัดเจนจะมีเพียงประเด็นเดียวคือ สถานพยาบาลเอกชนจะมีความชัดเจนเพิ่มมากขึ้นว่าตนตกอยู่ภายใต้บังคับของร่างกฎหมายฉบับใด แต่ปัญหาอื่นๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นก็ยังคงเป็นปัญหาอยู่เช่นเดิม โดยผู้เขียนได้จัดทำข้อเสนอแนะบางประการสำหรับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้มีความเหมาะสมต่อไป

 

Abstract


     Hospitals, nowadays, deal with problems from many requests for disclosure of patient’s health information, especially from patient’s family. These problems are easily resolved upon receiving the patient’s consent. On the other hand, if a patient does not consent the hospital to disclose his health information or a patient is unconscious, uncertainties arise as to whether the hospital is entitled to disclose such information. One reason is that the relevant laws which are not clear and proper. They are too strict, scattered, improper for current society, and, finally, cause some practical problems. All relevant governmental departments, therefore, try to solve this problem by enacting a new law which they think it is more proper. The Private Information Protection Act B.E… is, thus, being drafted in order to improve the protection of private information. The purpose of this paper is to compare and give some opinions regarding existing legal problems. The author, moreover, proposes some resolutions pursuant to the Drafted law. According to author’s consideration, we find that such Drafted law cannot resolve all of existing problems. The only one resolution is that the private hospitals will know clearly which laws will enforce to them. The other problems still exist. The author, therefore, proposes some suggestions to relevant governmental departments for their consideration in order to improve relevant laws in the future.

   

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

รัชดาพร สังวร, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

 

 

 

Downloads

Published

2015-03-25

How to Cite

สังวร ร. (2015). การแก้ไขปัญหาการเปิดเผยข้อมูลสุขภาพในสถานพยาบาล: ศึกษากรณีร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. (RESOLVING PROBLEMS RELATED TO DISCLOSURE OF HEALTH INFORMATION IN HOSPITALS: CASE STUDY IN THE DRAFT OF PRIVATE INFORMATION PROTECTION ACT B.E.). Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences, 4(8, July-December), 202–215. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/32458