การศึกษาอัตลักษณ์แห่งตนของวัยรุ่นที่ครอบครัวแตกแยก (A STUDY OF SELF-IDENTITY OF BROKEN HOME ADOLESCENTS)

Authors

  • พิมพ์ชนก กลิ่นสุทโธ สาขาจิตวิทยาการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • นันทนา วงษ์อินทร์ สาขาจิตวิทยาการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • มณฑิรา จารุเพ็ง สาขาจิตวิทยาการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Keywords:

A Study of Self-identity

Abstract

บทคัดย่อ

 

     การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์แห่งตนของวัยรุ่นที่ครอบครัวแตกแยก โดยการศึกษารายกรณี กลุ่มตัวอย่างเป็นวัยรุ่นที่ครอบครัวแตกแยกที่ศูนย์ค้นหาสมรรถนะการคิด สำนักงานอาสากาชาด สภากาชาดไทย จำนวน 5 คน ที่ครอบครัวแตกแยก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การสังเกต การสัมภาษณ์ แบบทดสอบ อัตชีวประวัติ บันทึกประจำวัน สังคมมิติ แบบสอบถาม และการเยี่ยมบ้าน การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ สังเคราะห์ แปลความหมาย และสรุปผล ผลการศึกษาลักษณะใน 5 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านความเป็นตัวของตัวเอง พบว่าวัยรุ่นในบางครั้งขาดความมั่นใจในตนเอง รู้สึกลังเลที่จะต้องตัดสินใจ ไม่กล้าแสดงออก อีกทั้งไม่กล้าแสดงความคิดเห็น ตลอดจนไม่มีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น 2) ด้านการรู้จักตนเอง พบว่าวัยรุ่นรู้สึกขาดความมั่นใจในตนเอง รู้สึกสับสนต่อตนเอง และวิธีทางดำเนินชีวิต อีกทั้งไม่รู้ว่าตนเอง ถนัดสิ่งใด 3) ด้านวุฒิทางอารมณ์ พบว่าวัยรุ่นเมื่อมีอารมณ์โกรธ โมโห หรือไม่พอใจจะมีการแสดงทางอารมณ์ด้วยคำพูด และท่าทางที่ไม่เหมาะสม 4) ด้านการตั้งเป้าหมายในชีวิต พบว่าวัยรุ่นขาดการวางแผนการเรียน การวางแผนอาชีพ และการวางแผนชีวิต เพราะยังขาดข้อมูล คำแนะนำ และผู้ที่ให้คำปรึกษาที่ชัดเจนและถูกต้อง 5) ด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคล พบว่าวัยรุ่นมีการเลือกคบเพื่อนเพศเดียวกัน และเพื่อนต่างเพศ จะช่วยเหลือเฉพาะเพื่อนที่อยู่ในกลุ่มของตนเอง ไม่ค่อยยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เมื่อมีปัญหาจะมีความรู้สึกไม่กล้าที่จะปรึกษากับคนในครอบครัวของตนเอง ขาดปฏิสัมพันธ์ในครอบครัว และกับผู้อื่น

 

 

Abstract



     The purposes of this research were to study the self-identity of broken home adolescents.The samples were five adolescents at the KM Drugs Abuse Institute in Red Cross Volunteers Bureau of Thai Red Cross Society. The research instruments and case study techniques used for gathering data were observation, interview, questionnaire, autobiography, diary, sociometry, testing, and home visit. The collected data were analyzed, synthesized, interpreted, and concluded. The results of this study were as follows. 1) The Self-acceptance: broken home adolescents lack of confidence, hesitate to make decision, unassertive and irresponsibility to give one’s opinion. 2) The Self-awareness: broken home adolescents were self-confusion lack of self-understanding, unpurposion of life and lack of aptitude. 3) The Emotional Intelligence: broken home adolescents shown inappropriate words and action when they were angry. 4) The Goal Setting: broken home adolescents are unplanning in education; career and life because of lose information, suggestion and best instruction. 5) The Interpersonal Relationship: broken home adolescents had their own peer group, don’t get one’s opinion. If they had any problems, they won’t consult their families, lack of interaction with their families and the others.



Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

พิมพ์ชนก กลิ่นสุทโธ, สาขาจิตวิทยาการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

นันทนา วงษ์อินทร์, สาขาจิตวิทยาการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

มณฑิรา จารุเพ็ง, สาขาจิตวิทยาการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

 

 

 

Downloads

Published

2015-03-26

How to Cite

กลิ่นสุทโธ พ., วงษ์อินทร์ น., & จารุเพ็ง ม. (2015). การศึกษาอัตลักษณ์แห่งตนของวัยรุ่นที่ครอบครัวแตกแยก (A STUDY OF SELF-IDENTITY OF BROKEN HOME ADOLESCENTS). Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences, 4(7, January-June), 81–88. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/32492