ทัศนะต่อประสบการณ์ในมหาวิทยาลัยของนักศึกษามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (THE STUDENTS’ OPINIONS TOWARD EXPERIENCE AT ASSUMPTION UNIVERSITY)
Keywords:
Opinions, Experience, Assumption UniversityAbstract
บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อการศึกษาทัศนะต่อประสบการณ์ในมหาวิทยาลัยของนักศึกษามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ใน 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการเรียนและด้านสังคม และเพื่อเปรียบเทียบทัศนะต่อประสบการณ์ในมหาวิทยาลัยของนักศึกษา จำแนกตามเพศ ชั้นปี คณะ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักศึกษามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญที่ลงทะเบียนเรียนในปีการศึกษา 2553 จำนวน 350 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น และกำหนดจำนวนกลุ่มตัวอย่างตามวิธีของนีย์มาน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม จำนวน 60 ข้อ ลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่าห้าระดับตามแนวของไลเคิร์ท สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ที-เทสต์ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และในกรณีที่ F มีนัยสำคัญ วิเคราะห์ความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยใช้วิธีของเชฟเฟ่
ผลการวิจัยพบว่า
1. นักศึกษามีทัศนะที่ดีต่อประสบการณ์ในมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีอยู่ในระดับมาก ทุกด้าน
2. นักศึกษาที่มีเพศต่างกันมีทัศนะที่ดีต่อประสบการณ์ในมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลจากการเปรียบเทียบไม่พบว่า มีความแตกต่างกัน
3. นักศึกษาจากชั้นปีต่างกัน มีทัศนะที่ดีต่อประสบการณ์ในมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างชั้นปีไม่พบว่า แตกต่างกัน
4. นักศึกษาจากคณะต่างกันมีทัศนะที่ดีต่อประสบการณ์ในมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ผลการเปรียบเทียบพบว่า นักศึกษาจากคณะต่างกันมีทัศนะที่ดีต่อประสบการณ์ในมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่านักศึกษาจากต่างคณะมีทัศนะแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งในด้านการเรียนและด้านสังคม โดยที่นักศึกษาจากคณะศิลปศาสตร์ มีทัศนะแตกต่างจากนักศึกษาจากคณะบริหารธุรกิจ และนักศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ นอกจากนี้ยังพบว่า นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีทัศนะแตกต่างกับนักศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
5. การศึกษาทัศนะของนักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกัน พบว่าโดยรวมนักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกันมีทัศนะต่อประสบการณ์ในมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ อยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบไม่พบว่า นักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกันมีทัศนะต่อประสบการณ์ในมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญแตกต่างกัน
The purpose of this research were 1) to study students’ opinions toward experience at Assumption University in two aspects: learning and social, and 2) to compare students’ opinions toward experience at Assumption University according to their gender, class level, faculty, and grade point average. The sample used in this study included 350 students enrolled during academic year 2553. The sample was selected using stratified random sampling and allocated through Neyman allocation Method. The instrument used for collecting data was a Likert-type five-point rating scale questionnaire of 60 items. The statistical procedures used to analyze the data included percentage, mean, standard deviation, t-test, one way analysis of variance and Scheffé for multiple comparison in case there was a significant F.
The results showed that:
1. Students had good opinions toward experience at AU as a whole and also in each aspect.
2. Students with different gender had good opinions toward experience at AU, and when compared, there was no difference.
3. Students from different class level had good opinions toward experience at AU and did not differ on their opinions.
4. Students from different faculty held good opinions toward experience at AU. When compared in whole, it was found that there was a significant difference among students from different faculty. When compared on each aspect, it was found that students from different faculty had some statistically significant differences on both learning and social aspects: students from faculty of Arts had different opinions from students from faculty of Business Administration and students from faculty of Architecture, besides students from faculty of Science and Technology had a significant difference from Architecture students.
5. A study of students with different grade point average showed that in the whole, they have a good opinion toward experience at AU. When compared among these groups, there was neither a significant difference in whole nor in each aspect.
Downloads
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences is licensed Under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivs 4.0 International (CC-BY-NC-ND 4.0) License, Unless Otherwise Stated. Please Read Journal Policies Page for More Information on Open Access, Copyright and Permissions.