การจัดการความรู้เกษตรประณีตของสมาชิกเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน (KNOWLEDGE MANAGEMENT OF “KASET PRANEET” OF THE LOCAL WISDOM MEMBERS NETWORK)

Authors

  • อุทัย อันพิมพ์ สาขาวิชาเศรษฐกิจพอเพียง คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • นรินทร บุญพราหมณ์ สาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทนาลัยอุบลราชธานี

Keywords:

Knowledge Management, Kaset Praneet, Local Wisdom Network, Buriram

Abstract

บทคัดย่อ

     งานวิจัยการจัดการความรู้เกษตรประณีตนี้ มุ่งเน้นศึกษากระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองและชุมชนในการทำเกษตรผสมผสานตามแนวทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการความรู้ในการทำเกษตรประณีต และศึกษารูปแบบการทำเกษตรประณีตของเกษตรกรสมาชิกเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน จังหวัดบุรีรัมย์ ระหว่างปี พ.ศ. 2550-2552 ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบบันทึกการสังเกต การประชุมกลุ่มย่อย และประเมินความเที่ยงตรงของข้อมูลด้วยเทคนิคการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า กลุ่มศึกษาคือเกษตรกรสมาชิกเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านอีสาน จำนวน 42 คน จาก 3 เครือข่ายใน 4 อำเภอ ของจังหวัดบุรีรัมย์ ประกอบด้วย อำเภอสตึก อำเภอพุทไธสง อำเภอแคนดง และอำเภอลำปลายมาศ ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรสมาชิกมีรูปแบบการสังเคราะห์การจัดการความรู้เกษตรประณีตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงจากความรู้ฝังลึกที่มีอยู่ผ่านการสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้กับสมาชิกทั้งในและนอกเครือข่าย แล้วนำความรู้ที่สังเคราะห์ขึ้นย้อนกลับไปเป็นความรู้ฝังลึกที่ยกระดับความรู้ของตนขึ้นอีกระดับหนึ่ง ซึ่งทำให้ได้ชุดความรู้ที่สามารถนำมาใช้ในการประกอบอาชีพของตนได้ นอกจากนี้การจัดการความรู้ของเกษตรกรแต่ละคนจะมีความหลากหลายตามบริบทในเชิงพื้นที่ของชุมชนและทรัพยากรที่มีอยู่ของสมาชิกแต่ละคน และจากการศึกษากระบวนการจัดการความรู้ของสมาชิกเครือข่ายพบว่า มีรูปแบบการจัดการความรู้ ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน คือ 1) การค้นหาความรู้ 2) การสร้างความรู้ 3) การใช้ความรู้ 4) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 5) การประเมินผลความรู้ 6) การจัดเก็บความรู้ และ 7) การเผยแพร่ความรู้ สำหรับรูปแบบของการจัดการความรู้เกษตรประณีตนั้น พบว่ามี 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) แบบพออยู่พอกิน เป็นรูปแบบที่เกษตรกรผลิตเพื่อ การบริโภคในครัวเรือนเป็นหลักและไม่เน้นการจำหน่าย 2) แบบเหลืออยู่เหลือกิน เป็นรูปแบบการผลิตเพื่อการบริโภคครัวเรือนและการจำหน่าย และ 3) แบบก้าวหน้า เป็นรูปแบบการนำใช้ความรู้สู่การผลิต โดยเกษตรกรจะผลิตเพื่อการบริโภค และสร้างรายได้แก่ครัวเรือน

 

 

Abstract


     A research on “Kaset Praneet” (KP) was emphasized to study the learning process of farmers and community development on integrated farming based on sufficient economy theory. The aim of this study was perceive the patterns of knowledge management (KM) and patterns of intensive farming activity of the farmers of the local wisdom network. The study was conducted during 2007-2009 with 42 farmers of 3 groups of the local wisdom network in 4 districts of Buriram Province (Satuek, Putthaisong, Kaen-Dong and Lam Plaimas districts) as the samples of this study. The quantitative research method was done by using of the indept interview, the record of observation, focus group discussion session, and the triangulation technique were practiced to monitor the data collection accuracy and precision. The results showed that the farmers had synthesized their own KM of KP based on sufficient economy theory from their implicit knowledge through share and learning process of farmers within network and between networks, then transformed their explicit knowledge and to elevated their own implicit knowledge, respectively. These knowledge outcome packages had benefited for the farmers to earn their living. Furthermore, it was found that the knowledge management process of farmers was diversely depending on individual spatial context and their available resources. Concerning to the knowledge management process of local network farmers, it composed of 7 steps process 1) knowledge acquisition, 2) knowledge creation, 3) knowledge utilization, 4) knowledge sharing, 5) knowledge evaluation, 6) knowledge storage and 7) knowledge expansion. It was also found that there were 3 models of knowledge management in Kaset Praneet such as 1) subsistence farm production model: farm production mainly for household consumption, 2) surplus farm production model: farm production for household consumption and for sale and 3) advance farm production model: farm production based on the knowledge, produce for consumption and sale the product to gain more family income.


Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

อุทัย อันพิมพ์, สาขาวิชาเศรษฐกิจพอเพียง คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

นรินทร บุญพราหมณ์, สาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทนาลัยอุบลราชธานี

 

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

 

Downloads

Published

2015-03-26

How to Cite

อันพิมพ์ อ., & บุญพราหมณ์ น. (2015). การจัดการความรู้เกษตรประณีตของสมาชิกเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน (KNOWLEDGE MANAGEMENT OF “KASET PRANEET” OF THE LOCAL WISDOM MEMBERS NETWORK). Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences, 4(7, January-June), 174–191. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/32502