การสื่อสารทางการเมืองผ่านการสอนหน้าที่พลเมืองและการเมืองการปกครองในชั้นเรียนช่วงชั้นที่สี่ในโรงเรียนมัธยมของจังหวัดสมุทรปราการ
Keywords:
Education, Grade 10-12, Political Communication, CurriculumAbstract
บทคัดย่อ การศึกษาวิจัยเรื่องการสอนหน้าที่พลเมืองและการเมืองการปกครองในชั้นเรียนช่วงชั้นที่สี่ในโรงเรียนมัธยมของจังหวัดสมุทรปราการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตรวจสอบและวิเคราะห์หลักสูตรสาระหน้าที่พลเมืองการเมืองการปกครองในหลักสูตรสำหรับนักเรียนในช่วงชั้นที่ 4 (ม.4-ม.6) เพื่อศึกษากระบวนการสื่อสารทาง การเมืองผ่านการสอนสาระหน้าที่พลเมืองและการเมืองการปกครองของครูในชั้นเรียน เพื่อศึกษาทัศนะและความตระหนักรู้ของนักเรียนเกี่ยวกับสาระหน้าที่พลเมืองและการเมืองการปกครอง และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อเผยแพร่ผลการวิจัยไปสู่สาธารณะถึงความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหน้าที่พลเมืองและการเมืองการปกครองของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 เป็นการกระตุ้นเตือนให้ประชาชนมีจิตสำนึกเป็นพลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตยอีกด้วย
ผลการศึกษาพบว่า หลักสูตรหน้าที่พลเมืองและการเมืองการปกครองในชั้นเรียนช่วงชั้นที่ 4 เป็นหลักสูตรที่ถูกกำหนดโดยกระทรวงศึกษาธิการให้ใช้ทั่วประเทศ มีเนื้อหาเหมาะสมนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ การสื่อสารทางการเมืองที่เหมาะสมผ่านการสอนและความร่วมมือระหว่างครูกับนักเรียนนำไปสู่สัมฤทธิ์ผลในการเรียน สภาพสังคมและการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัวมีอิทธิพลต่อทัศนะทางการเมืองของนักเรียน
Abstract
The objectives were (1) to inspect and analyze the content of the subject (2) to study the teachers’ political communication through teaching Civic Education and Politics (3) to study the students’ efficacy and using in daily life (4) to distribute the discovery to public and also promote recognition of being good citizens. Documentary research was conducted: content analysis, in-depth interview and focus group. Those were used in order to get a clear picture of the study. It was founded that the subject was designed by the Ministry of Education, and demanded to teach in high schools over the country. The content was written to teach students to become good citizens in the Thai democracy system.
The school administrators, teachers and students agreed that the subject was appropriate and able to use in daily life. Proper political communication through teaching and learning cooperation made productive outcomes. Social circumstances and family raising influenced students’ political attitude.
Downloads
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences is licensed Under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivs 4.0 International (CC-BY-NC-ND 4.0) License, Unless Otherwise Stated. Please Read Journal Policies Page for More Information on Open Access, Copyright and Permissions.