ประสิทธิผลการบริหารจัดการคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ (EFFECTIVENESS OF THE MANAGEMENT SCIENCES FACUITY, RAJABHAT UNIVERSITIES)
Keywords:
Management Effectiveness, Leadership, Quality of Personnel, Quality of Technology, Personnel’s Competency, Quantity of Technology, ValueAbstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลการบริหารจัดการคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการบริหารจัดการคณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏ 3) เพื่อวิเคราะห์การพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏ 4) เพื่อนำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการบริหารจัดการคณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏ วิธีการศึกษาประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ โดยการสุ่มตัวอย่างจากอาจารย์คณะวิทยาการจัดการ 40 แห่งทั่วประเทศ จำนวน 338 ตัวอย่าง และทดสอบข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกคณบดี และทีมผู้บริหารคณะวิทยาการจัดการจำนวน 11 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียรสัน (Pearson’s Product Moment Coefficient) การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1) ในภาพรวม คณะวิทยาการจัดการมีประสิทธิผลในการบริหารจัดการอยู่ในระดับดี และพบว่าในทุกด้านที่ศึกษาคือ ด้านการเรียนการสอน ด้านการวิจัย ด้านการบริการวิชาการแก่ชุมชน และด้านการประกันคุณภาพ มีประสิทธิผลการบริหารจัดการในระดับดีเช่นเดียวกัน
2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการบริหารจัดการ เรียงระดับความสัมพันธ์ดังต่อไปนี้ ภาวะผู้นำ (r = 0.737) คุณภาพบุคลากร (r = 0.688) คุณภาพเทคโนโลยี (r = 0.642) ความสามารถของบุคคล (r = 0.508) ปริมาณเทคโนโลยี (r = 0.642) ค่านิยม (r = 0.468) วิสัยทัศน์ร่วม (r = 0.516) การเรียนรู้เป็นทีม (r = 0.481) งบประมาณ (r = 0.676) ความคิดอย่างเป็นระบบ (r = 0.499) กรอบความคิด (r = 0.516)
3) ตัวแปรอิสระทั้ง 6 ตัว ซึ่งประกอบด้วย ภาวะผู้นำ คุณภาพบุคลากร คุณภาพเทคโนโลยี ความสามารถของบุคคล ปริมาณเทคโนโลยี และค่านิยม สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารจัดการได้ร้อยละ 69.70 (R = 0.697, F= 126.707 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ เท่ากับ 0.01)
4) รูปแบบที่นำเสนอประกอบด้วยตัวแปรอิสระที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลคณะวิทยาการจัดการได้ทั้ง 6 ตัวแปร
Abstract
The objectives of this research aim at 1) the studies of effective management level of Management Science faculty, Rajabhat Universities, 2) the correlation of effective management and the variables of the studies. 3) the significant variables in predicting the effective management levels, 4) propose the management models associating to those levels. The methods of studies comprise quantitative analysis by sampling techniques from many instructors totaling 40 Rajabhat Universities of all Kingdom with 388 samples, and verified the quantitative data techniques by indepth interview Dean and Management Team from the Faculty of Management Science amounting to 11 persons. Tools used for data collecting are questionnaires with the analytical statistics, Mean, Standard Deviation, Pearson’s Product Moment Coefficient, and Stepwise Multiple Regression Analysis.
The research results revealed that the Faculty of Management Science, in general, is effective in a high level, as well as the learning and teaching techniques, research, academic services for communities. In addition, the quality assurance is in high condition. For factors relating to the management effectiveness, the management techniques sequential by the relationship are as follows. Leadership (r = 0.737), quality of personnel (r = 0.688), quality of technology (r = 0.642), personnel’s competency (r = 0.508), quantity of technology (r = 0.642), value (r = 0.468), mutual vision (r = 0.516), learning in team (r = 0.481), budget (r = 0.676), systematic thinking (r = 0.499), conceptual framework (r = 0.516). All of 6 independent variables comprising leadership, quality of personnel, quality of technology, personnel’s competency, quantity of technology, value are able to predict the Management effectiveness with 69.70% (R= 0.697, F= 126.707 with significant level of 0.01). The model presented consist of the independent variables that are able to predict the effectiveness with all of 6 variables for the Faculty of Management Science.
Downloads
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences is licensed Under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivs 4.0 International (CC-BY-NC-ND 4.0) License, Unless Otherwise Stated. Please Read Journal Policies Page for More Information on Open Access, Copyright and Permissions.