การศึกษาทัศนคติด้านความรุนแรงต่อสตรีของสตรีในชุมชนเมือง (A STUDY OF ATTITUDES ON VIOENCE AGAINST WOMEN OF WOMEN IN URBAN COMMUNITY)

Authors

  • หทัยรัตน์ มาประณีต ภาควิชาสังคมวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Keywords:

Attitude, Violence against Women, Urban Community

Abstract

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้ศึกษาระดับทัศนคติเกี่ยวกับความรุนแรงต่อสตรีของสตรีที่อาศัยในชุมชนเมือง และความแตกต่างทางลักษณะภูมิหลังและทัศนคติความเสมอภาคระหว่างสตรีและบุรุษต่อทัศนคติเกี่ยวกับความรุนแรงต่อสตรี 5 ด้าน ได้แก่ 1) ทัศนคติด้านสาเหตุของความรุนแรงต่อสตรี 2) ทัศนคติด้านความรุนแรงในครอบครัว 3) ทัศนคติด้านความรุนแรงทางเพศ 4) ทัศนคติด้านความรุนแรงทางจิตใจ และ 5) ทัศนคติด้านการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อสตรี โดยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามของสตรีที่อาศัยอยู่ในชุมชนนวลจิต เขตวัฒนา กรุงเทพฯ จำนวน 200 คน

ผลการวิจัยระดับทัศนคติพบว่า สตรีมีทัศนคติด้านความรุนแรงทางเพศ และด้านการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อสตรีอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านสาเหตุของความรุนแรงต่อสตรี ด้านความรุนแรงในครอบครัว และด้านความรุนแรงทางจิตใจอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างทางลักษณะภูมิหลังและทัศนคติความเสมอภาคระหว่างสตรีและบุรุษ ผลการวิจัยที่สำคัญพบว่า สตรีที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีทัศนคติด้านสาเหตุของความรุนแรงต่อสตรี ด้านความรุนแรงในครอบครัว และด้านความรุนแรงทางเพศต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีความต่างกันด้านความรุนแรงทางจิตใจและด้านการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อสตรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 สำหรับสตรีที่มีสถานภาพสมรสต่างกันมีทัศนคติความรุนแรงทางเพศต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 นอกจากนี้ สตรีที่มีทัศนคติความเสมอภาคระหว่างสตรีและบุรุษต่างกันมีทัศนคติเกี่ยวกับความรุนแรงต่อสตรี 5 ด้านต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01


 

Abstract


     There are two purposes of his research. The first purpose is to study the attitudinal level on violence against women (VAW) of women in urban community in five areas: 1) attitude to causes of VAW 2) attitude to domestic violence 3) attitude to sexual violence 4) attitude to emotional violence and 5) attitude to participation in protecting and  solving VAW. The second purpose is to compare the differences of demographic characteristics and attitude to gender equity in the five attitudinal areas of VAW. The total number of the sample group was 200 women living in Nualjit Community, Wattanna Distirict, Bangkok.

The research findings in the attitudinal level on VAW indicate that women highly have attitude to sexual violence and participation in protecting and solving VAW. Moreover, women moderately have attitude to causes of VAW, domestic violence and emotional violence. When comparing the differences of demographic characteristics and attitude to gender equity in the five attitudinal areas on VAW, the research finds that women having different educational levels have attitude to causes of VAW, domestic violence and sexual violence differently with the statistical significance level of 0.05, and emotional violence and participation in protecting and solving VAW differently with the statistical significance level of 0.01. For marital status, women have attitude to sexual violence differently with the statistical significance level of 0.01. Moreover, women having different attitude to gender equity have attitude to violence against women in all five areas differently with the statistical significance level of 0.01.

 

 

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

หทัยรัตน์ มาประณีต, ภาควิชาสังคมวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Downloads

Published

2015-03-27

How to Cite

มาประณีต ห. (2015). การศึกษาทัศนคติด้านความรุนแรงต่อสตรีของสตรีในชุมชนเมือง (A STUDY OF ATTITUDES ON VIOENCE AGAINST WOMEN OF WOMEN IN URBAN COMMUNITY). Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences, 3(6, July-December), 162–177. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/32540