การศึกษาข้อบกพร่องในการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาในโครงการความร่วมมือทางวิชาการวิชาเอกภาษาไทย ชั้นปีที่ 3 ภาควิชาภาษาไทย คณะภาษาและวัฒนธรรมตะวันออก มหาวิทยาลัยภาษาและการค้าต่างประเทศ กวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน พ.ศ. 2552

Authors

  • จินตนา พุทธเมตะ ภาควิชาภาษาไทยและภาาาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Keywords:

An Error Analysis of Thai Writing, Guangdong University

Abstract

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาข้อบกพร่องในการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาวิชาเอกภาษาไทย ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยภาษาและการค้าต่างประเทศ กวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาวิชาเอกภาษาไทยชั้นปีที่ 3 ภาควิชาภาษาไทย คณะภาษาและวัฒนธรรมตะวันออก มหาวิทยาลัยภาษาและการค้าต่างประเทศ กวางตุ้ง ซึ่งมาเรียนภาษาไทยที่ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 22 คน ข้อมูลที่ใช้วิเคราะห์ คือ เรียงความภาษาไทย จำนวน 132 ชิ้นงาน และเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์

ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามีข้อบกพร่องด้านการเขียน ได้แก่ การวางรูปสระและรูปวรรณยุกต์ไม่ถูกตำแหน่ง การสะกดการันต์ การใช้คำไม่ถูกต้อง การใช้ประโยค การเว้นวรรคตอนและการเขียนย่อหน้า ดังนี้
1. การวางรูปสระและรูปวรรณยุกต์ไม่ถูกต้องพบว่า มีข้อบกพร่อง 3 ลักษณะ ได้แก่ การวางรูปสระไม่ถูกตำแหน่ง ซึ่งพบมากที่สุด รองลงมาคือ การวางรูปวรรณยุกต์ไม่ถูกตำแหน่ง และพบน้อยที่สุด คือ การวางทั้งรูปสระ และรูปวรรณยุกต์ไม่ถูกตำแหน่ง

2. การสะกดการันต์พบว่า มีข้อบกพร่อง 5 ลักษณะ เรียงลำดับจากลักษณะที่พบมากไปหาน้อย ได้แก่ การเขียนพยัญชนะท้ายหรือตัวสะกดไม่ถูกต้อง การเขียนพยัญชนะต้นไม่ถูกต้อง การเขียนสระไม่ถูกต้อง การเขียนวรรณยุกต์ไม่ถูกต้อง และการเขียนการันต์ไม่ถูกต้อง

3. การใช้คำไม่ถูกต้องพบว่า มีข้อบกพร่อง 7 ลักษณะ เรียงลำดับจากลักษณะที่พบมากไปหาน้อย คือ การใช้คำไม่ถูกต้องในลักษณะอื่นๆ ซึ่งพบมากที่สุด รองลงมาคือ การใช้คำกริยาไม่ถูกต้อง การใช้คำนามไม่ถูกต้อง การใช้คำวิเศษณ์ไม่ถูกต้อง การใช้คำบุพบทไม่ถูกต้อง การใช้คำลักษณนามไม่ถูกต้อง และการใช้คำสันธานไม่ถูกต้อง

4. การใช้ประโยคไม่ถูกต้องพบว่า มีข้อบกพร่อง 4 ลักษณะ ได้แก่ การใช้คำเกินในประโยค ซึ่งพบมากที่สุด รองลงมาคือ การใช้รูปประโยคสำนวนภาษาต่างประเทศ การขาดคำที่จำเป็นในประโยค และพบน้อยที่สุด คือ การลำดับคำในประโยคไม่ถูกต้อง

5. การเว้นวรรคตอนและการเขียนย่อหน้าไม่ถูกต้องพบว่า มีข้อบกพร่อง 3 ลักษณะ ได้แก่ การใช้เครื่องหมายยัติภังค์ไม่ถูกต้องซึ่งพบมากที่สุด รองลงมาคือ การเว้นวรรคตอนไม่ถูกต้อง และพบน้อยที่สุด คือ การเขียนย่อหน้าไม่ถูกต้อง

การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยต้องการนำผลการวิจัยไปพัฒนาการเขียนของนักศึกษา และเพื่อให้นักศึกษาสามารถเขียนวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาเมื่อกลับไปศึกษาต่อที่ภาควิชาภาษาไทย คณะภาษาและวัฒนธรรมตะวันออก มหาวิทยาลัยภาษาและการค้าต่างประเทศ กวางตุ้ง

 

 

Abstract


     This research aimed to study errors in Thai writing of Third Year Thai-major Exchange Students from Department of Asian Languages and Culture, Guangdong University of Foreign Studies, People’s Republic of China. The subjects of this study were 22 exchange students who had studied Thai at the Department of Thai and Eastern Languages, Faculty of Humanities, Srinakharinwirot University in the second semester of the academic year 2009. Data for the error analysis were gathered from 132 pieces of Thai composition and the detailed research data would be shown in descriptive analysis format.

The research showed that those students have problems in the following five areas:
1. Positions of Vowels and Tone Mark. Three types of mistakes were found. Displacement of vowel position only was most often found and it was followed by the tone mark displacement. Displacement of both vowel and tone marks was least commonly found.

2. Application of Silent Mark. Five types of common mistakes found in the use of silent mark (aka Ka-Ran in Thai) were listed in order of frequency: misuse of first character, misuse of last character, vowel misusage, tone mark misusage, and silent mark misusage.

3. Word Choice. Seven types of common mistakes found in word choice were listed in order of frequency: miscellaneous misusage, verb misusage, noun misusage, adjective misusage, preposition misusage, classifier misusage and conjunction misusage.

4. Sentence Formation. Four types of mistakes often found in sentence formation were listed in order of frequency: redundant words in sentence, foreign language-influenced sentence formation, lack of important words in sentence, and words ordering.

5. Space and Paragraph. Three types of mistakes in space and paragraph were listed in order of frequency: hyphen misusage, spacing misusage, and incorrect paragraphing.

Researcher would apply the research result to improve students’ writing skills so that they could proficiently write their research paper when they go back to study in their Thai-Major in the Department of Asian Languages and Culture, Guangdong University of Foreign Studies, People’s Republic of China.


Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

จินตนา พุทธเมตะ, ภาควิชาภาษาไทยและภาาาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

 

 

 

Downloads

Published

2015-03-30

How to Cite

พุทธเมตะ จ. (2015). การศึกษาข้อบกพร่องในการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาในโครงการความร่วมมือทางวิชาการวิชาเอกภาษาไทย ชั้นปีที่ 3 ภาควิชาภาษาไทย คณะภาษาและวัฒนธรรมตะวันออก มหาวิทยาลัยภาษาและการค้าต่างประเทศ กวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน พ.ศ. 2552. Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences, 3(5, January-June), 23–30. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/32567