การพัฒนารูปแบบการบรรเลงดนตรีแตรวงชาวบ้านร่วมสมัยในจังหวัดอุตรดิตถ์ (THE DEVELOPMENT ON CONTEMPORARY MUSIC PLAYING MODEL OF COMMUNITY BRASS BAND IN UTTARADIT PROVINCE)

Authors

  • สมบัติ เวชกามา คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุตรดิตถ์

Keywords:

The Development Model, Music Playing, The Contemporary Community Brass Band

Abstract

บทคัดย่อ

     การศึกษาวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการบรรเลงดนตรีแตรวงชาวบ้านร่วมสมัยในจังหวัดอุตรดิตถ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติความเป็นมาและการถ่ายทอดดนตรีแตรวงชาวบ้านในจังหวัดอุตรดิตถ์ 2) ศึกษารูปแบบการบรรเลงดนตรีแตรวงชาวบ้านในจังหวัดอุตรดิตถ์ 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการบรรเลงดนตรีแตรวงชาวบ้านร่วมสมัยในจังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งการดำเนินวิจัยครั้งนี้ได้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยมีลักษณะรูปแบบวิจัยศึกษาจากภาคสนาม(Field Research) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมีรูปแบบที่แตกต่างกัน เช่น แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) การจัดสนทนากลุ่ม (Focus Group) การสัมมนาพิจารณ์ (Public Forum) และการประชุมเชิงทดลองปฏิบัติการร่วมกัน (Participation Action Seminal) แบบสอบถาม (Questionnaire)

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ วงดนตรีแตรวงชาวบ้านในจังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 5 วง มีสมาชิกร่วม จำนวน 58 คน และผู้ที่มีประสบการณ์ตามบทบาทหน้าที่การบรรเลงดนตรีแตรวงชาวบ้าน หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการแตรวงชาวบ้าน จำนวน 10 คน และตัวแทนผู้ใช้บริการ (Stakeholders) แตรวงชาวบ้านในจังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 40 คน

ผลการศึกษาวิจัยพบว่า แตรวงชาวบ้านได้รับอิทธิพลมาจากท้องถิ่น 2 แห่ง คือ อิทธิพลที่มาจากกลุ่มแตรวงในจังหวัดอุตรดิตถ์ และอีกส่วนหนึ่งได้รับอิทธิพลมาจากกลุ่มแตรวงจังหวัดพิษณุโลก นอกจากนี้แรงบันดาลใจที่ทำให้ต้องการเป็นนักดนตรีมาจากอิทธิพลของดนตรีประเภทรำวงชาวบ้าน แตรวงชาวบ้านมีการสืบทอดและถ่ายทอดให้กันเป็นรุ่นๆ โดยเริ่มจากกลุ่มภายในครอบครัวและถ่ายทอดสู่บุคคลทั่วไปที่สนใจซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนในชุมชน การเรียนรู้ดนตรีครูจะถ่ายทอดหลักการปฏิบัติพื้นฐานเบื้องต้น เช่น การอ่านโน้ต วิธีการฝึกปฏิบัติเครื่องดนตรี จากนั้นผู้ฝึกต้องไปหาประสบการณ์การบรรเลงเพลงกับวงดนตรีแตรวงต่างๆเพิ่มเติม พิธีกรรมไหว้ครูและการให้ความเคารพต่อผู้อาวุโสมีความสำคัญต่อนักดนตรีแตรวงชาวบ้านมาก นักดนตรีแตรวงชาวบ้านมีจำนวน 12-18 คน อาชีพหลักประจำ คือ ทำนา ทำไร่ ทำสวน และอาชีพรับจ้างทั่วไป

การบรรเลงดนตรีแตรวงชาวบ้านพบว่า มีการนำเครื่องดนตรีมาผสมหลากหลายรูปแบบ เช่น การนำเครื่องดนตรีสากลผสมกับเครื่องดนตรีไทย หรือมีการนำเอาเครื่องดนตรีไฟฟ้าสมัยใหม่มาร่วมประสมวง และเพลงที่ใช้บรรเลง เช่น เพลงไทยเดิม เพลงลูกทุ่ง เพลงลูกกรุง สมัยเก่าและสมัยปัจจุบันที่กำลังนิยมนำมาบรรเลงร่วมกัน และเพื่อให้มีการเปลี่ยนพฤติกรรมอารมณ์ผู้ฟังได้เพิ่มการขับร้องเพลงสลับสอดแทรกกับการบรรเลงดนตรี มีการบันทึกตัวโน้ตเป็นของตนเองโดยใช้สัญลักษณ์ตัวเลขและสัญลักษณ์พยัญชนะภาษาไทย การบรรเลงเพลงเน้นการใช้เสียงให้ดังมาก ลักษณะดนตรีมีทำนองแนวเดียว (Monophonic Texture) ไม่มีรูปแบบการประสมวงดนตรีที่ชัดเจน ขาดความรู้ความเข้าใจในการบรรเลงเพลง

การพัฒนารูปแบบการบรรเลงดนตรีแตรวงชาวบ้านร่วมสมัยในจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้รับความพึงพอใจจากผู้ใช้บริการ (Stakeholders) ของแตรวงชาวบ้านร่วมสมัยในจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมีการพัฒนา ปรับปรุง ดังนี้ 1) พัฒนาการนั่งบรรเลง 2) พัฒนาการเดินบรรเลง 3) พัฒนาการประสมวงเครื่องดนตรี 4) พัฒนาวิธี การบรรเลง การขึ้นต้นบทเพลง (Intro) พัฒนาการจบเพลง (Ending) และพัฒนาการเชื่อมต่อบทเพลง 5) พัฒนาคุณภาพของเสียง (Quality) 6) พัฒนาความเข้มของเสียง (Intensity) เรียนรู้เครื่องหมายทางดนตรี (Dynamic) 7) พัฒนาจังหวะ (Rhythm) ความช้า-เร็วเพลง เทปโป (Tempo) และการจัดกลุ่มจังหวะของบทเพลง 8) พัฒนาทำนอง (Melody) 9) พัฒนาการประสานเสียง (Harmony)โดยการนำคอร์ด (Chord) มาใช้ เพื่อสร้างความกลมกลืน (Consonance) เสียงให้มากขึ้น 10) พัฒนาพื้นผิว (Texture) ขยายการสร้างแนวทำนองแบบ โฮโมโฟนี (Homophony) และแบบเฮเทอโรโฟนี (Heterophony) 11) พัฒนาโครงสร้าง (Form) และการสร้างความเป็นเอกภาพ (Unity) ในบทเพลง 12) พัฒนาเทคนิควิธีการบันทึกตัวโน้ตเป็นของตนเอง

 

 

Abstract



     This combined research, qualitative and quantitative study on development on contemporary music playing model of community brass band in Uttaradit province aimed at: 1) Historical study background community brass band handed down in Uttaradit province. 2) Model study of community brass band playing in Uttaradit province. 3) Develop Contemporary music playing model of community brass band in Uttaradit province. The study based on field research character. The tools of the study were different strategies such as in-depth interview, focus group, public forum, participation action seminar and questionnaire.

The sample groups of this study were 5 community brass bands, with 58 subjects altogether, in Uttaradit including 10 experienced experts dealing with community brass band and 40 stakeholders.

The research result indicated that there were 2 sources influenced community brass band, Uttaradit community brass band and Pitsanuloke community brass band. The musicians got the motivation from local folk dance. Besides, the family had great influence in handed down the musical performance to local people who were interested in. The musical learning was made through actual performing on basic background such as musical note reading and instrumental playing. The learners would go to join playing with some other bands for more experience. The respectful ritual or “Wai-kru” was very important for these local musicians especially the senior leaders. The community brass band usually contains 12-18 people in each band. However, they would play the music as a sideline. Their stable profession were all kinds of farming and general employees.

At present the playing of community brass band was mixed up with various playing styles such as international combined with Thai musical instruments or sometimes mixed up with modern electrical instruments. They also combined the song playing among classical Thai, country, old and current urban or pop songs. They might motivate the listeners by making interchange between song singing and musical playing. Moreover, they created their musical notes using numeral symbols and Thai alphabets. They focussed on loud noise waking in the same way as monophonic texture. However, they had no clear musical band mixing and understanding of musical song playing.

The development of community brass band playing model in Uttaradit satisfied the Stakeholders, and the development processes were as follow: 1) sitting play 2) walking play 3) band mixing up 4) introduction and ending 5) sound quality 6) sound intensity and dynamic learning 7) rhythming, tempo and song tempo grouping 8) melody and ranging of songs 9) harmonying using chord for more consonance 10) texture by creation based on homophony and heterophony 11) form and unity creation in song words and 12) musical note for personal property.


Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

สมบัติ เวชกามา, คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุตรดิตถ์

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

 

 

 

Downloads

Published

2015-03-30

How to Cite

เวชกามา ส. (2015). การพัฒนารูปแบบการบรรเลงดนตรีแตรวงชาวบ้านร่วมสมัยในจังหวัดอุตรดิตถ์ (THE DEVELOPMENT ON CONTEMPORARY MUSIC PLAYING MODEL OF COMMUNITY BRASS BAND IN UTTARADIT PROVINCE). Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences, 3(5, January-June), 128–146. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/32597