โครงการศึกษาและพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางสมุนไพรเพื่อการส่งออก (RESEARCH AND DELOPMENT OF THE HERBAL-COSMETICS PACKAGE DESIGN TO EXPORT)

Authors

  • สินีนารถ เลิศไพรวัน สาขาวิชาการออกแบบทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Keywords:

Cosmetics Package, Herbal, Export

Abstract

บทคัดย่อ

      วัตถุประสงค์ของการทำวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษารูปแบบบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางธรรมชาติที่มีจำหน่ายในประเทศที่มีความนิยมสินค้าเครื่องสำอางและแฟชั่น ผู้วิจัยดำเนินการค้นคว้าข้อมูลการส่งออกในประเทศไทยพบว่า ความต้องการในการส่งออกสินค้าเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี ผู้บริโภคมีความสนใจในเครื่องสำอางที่บริสุทธิ์ปราศจากสารเคมีหรือมีส่วนผสมของสารเคมีน้อยที่สุด ในตลาดการค้าเครื่องสำอางแถบยุโรปและอเมริกามีเครื่องสำอางที่นำเข้ามาจำหน่ายตราสินค้าเดียวกันอยู่ 4 ตราสินค้า และตราสินค้าเหล่านั้นจำนวน 60% มีที่มาจากประเทศในแถบเอเชีย จากประเทศญี่ปุ่นเป็นอันดับหนึ่ง ต่อมาเป็นประเทศจีน อินเดีย และไทย และที่เป็นสินค้าสมุนไพรจะมีมากที่ประเทศอินเดียและไทย รูปแบบของบรรจุภัณฑ์เป็นส่วนหนึ่งที่ผู้บริโภคให้ความเชื่อมั่นโดยเฉพาะสินค้าทำการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้แบรนด์เป็นที่รู้จัก 80% ของเครื่องสำอางสมุนไพรมาจากแบรนด์ประเทศญี่ปุ่น ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคด้านรูปแบบบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง คือ ความทันสมัยและความสะอาด รวมทั้งความบริสุทธิ์ของส่วนผสม จากผลของงานวิจัยพบว่า บรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางธรรมชาติจากประเทศยุโรปมีความคล้ายคลึงกับความนิยมในแถบอเมริกา รูปแบบเรียบง่ายและดูสะอาด สะดุดตาที่ภาพของพืชและสมุนไพร การพัฒนางานออกแบบบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางสมุนไพรเพื่อการส่งออกของประเทศไทยนั้นต้องสร้างความเชื่อมั่นในตัวสินค้าด้วยการเน้นอัตลักษณ์ของภูมิปัญญาสมุนไพรท้องถิ่นนั้นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์ส่งออกของไทยต้องอาศัยการสื่อสารความเป็นไทยเพื่อเป็นการจูงใจผู้บริโภค ในขณะเดียวกันต้องมีความทันสมัย ใช้วัสดุและกรรมวิธี การผลิตที่ได้มาตรฐาน และสะอาดปลอดภัย งานออกแบบบรรจุภัณฑ์จึงต้องอาศัยความรู้มาตรฐานการผลิต การคิดต้นทุนเพื่อประโยชน์ทางการตลาด และรูปแบบที่มีอัตลักษณ์ตามถิ่นกำเนิดของสมุนไพร


 

Abstract


       The purpose of this study was to study the herbal-cosmetic packages which are best selling products in the fashion center city such as Milan and New York City. The research found that the natural cosmetic products have been increasing year by year. The consumer’s behavior nowadays mostly prefer to the natural ingredient rather than the old fashion ingredient which were fully chemical mixture. There are the same 4 famous brands within Europe and America. 60% are imported from Asia and the leader is Japan following by China, Korea, India and Thailand. Styles of packages are important for product’s loyalty especially the promotion strategy. 80% of herbal-cosmetic packages are from Japan. The brand loyalty is reflected to the modernized and purified ingredients of products. The Cosmetic packages from Europe are similar to America which is simplicity and cleanness. The picture of herbals is impacted. The herbal cosmetic packages have to be developed by increasing loyalty from local herbal’s wisdom. However, Thai product development Thai images and produce them to the product’s loyalty itself. Therefore, the packaging style of Thai herbal-cosmetic should present the new technology. The strategy of cosmetic product marketing is to produce value added of packages with standard manufacturer process and technique. In addition, designer has to concern about the image of the raw material (herbal), the identity of the product wisdom qualities to be export.


Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

สินีนารถ เลิศไพรวัน, สาขาวิชาการออกแบบทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

 

 

Published

2015-03-30

How to Cite

เลิศไพรวัน ส. (2015). โครงการศึกษาและพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางสมุนไพรเพื่อการส่งออก (RESEARCH AND DELOPMENT OF THE HERBAL-COSMETICS PACKAGE DESIGN TO EXPORT). Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences, 3(5, January-June), 147–158. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/32600