การสร้างแบบฝึกเพื่อพัฒนาการรับรู้ทางศิลปะสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนคลองบางแวก (มนต์ จรัสสิงห์) สำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร

Authors

  • กนต์ธีรา หิรัญยะมาน สาขาการประถมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Keywords:

Exercises, Perception in Art

Abstract

บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเพื่อพัฒนาการรับรู้ทางศิลปะ และเพื่อเปรียบเทียบความสามารถทางการวาดภาพระบายสีของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังการได้รับการฝึกโดยใช้แบบฝึกเพื่อพัฒนาการรับรู้ทางศิลปะซึ่งกลุ่มประชากรได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนวิชาศิลปะ (ทัศนศิลป์) โรงเรียนคลองบางแวก (มนต์ จรัสสิงห์) สำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร 2 ห้องเรียน จำนวน 60 คน โดยมีการจัดชั้นเรียนแบบคละความสามารถของผู้เรียนและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนคลองบางแวก (มนต์ จรัสสิงห์) สำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร จำนวน 30 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย

ผู้วิจัยได้ดำเนินการฝึก โดยใช้แบบฝึกเพื่อพัฒนาการรับรู้ทางศิลปะกับกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 7 ครั้ง ครั้งละ 120 นาที มีรูปแบบการวิจัยแบบกลุ่มตัวอย่างเดียวมีการสอบก่อนและหลังการทดลอง (One-Group Pretest-Posttest Design) โดยใช้แบบทดสอบการรับรู้ทางศิลปะ และแบบฝึกเพื่อพัฒนาการรับรู้ทางศิลปะในการพัฒนาการรับรู้ทางศิลปะของนักเรียน

ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกเพื่อพัฒนาการรับรู้ทางศิลปะเท่ากับ 81.26/80.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้

2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความสามารถทางการวาดภาพระบายสีเพิ่มขึ้น ภายหลังได้รับการฝึกโดยใช้แบบฝึกพัฒนาการรับรู้ทางศิลปะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

 

 

Abstract



     The study of this time has the purpose to search for efficiency the exercise pattern of perception in Art and to compare their capability of perception in Art, for Prathorm 4 before and after taking the practice by using the exercise pattern of perception in Art. The Sample group that to be experimented for this study is student form Prathorm 4, Khong Bangwak (Mont Jarassingh) School, Nongkham District Office, Bangkok Metro Province Politant, 30 students in class, selected by simple random sampling.

The Research had proceeded the practice by using the exercise pattern of perception in Art to the instance group altogether 7 times at 120 minutes and there was experimentation in One-Group Pretest-Posttest Design by using the test pattern of perception in Art and the exercise pattern of perception in Art and in development the perception in Art on these students. 

According to the research result, the result of the research was as follows.
1. The efficiency of the exercise pattern of perception in Art were standard 75/75

2. The Prathom 4 students are capable to perceive the knowledge of Art more after taking the practice buy using the exercise pattern in development of perception in Art upon having the significant data in statistic at 0.01 level. 

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

กนต์ธีรา หิรัญยะมาน, สาขาการประถมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Downloads

Published

2015-03-31

How to Cite

หิรัญยะมาน ก. (2015). การสร้างแบบฝึกเพื่อพัฒนาการรับรู้ทางศิลปะสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนคลองบางแวก (มนต์ จรัสสิงห์) สำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร. Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences, 2(4, July-December), 25–33. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/32618