ยุทธศาสตร์ในการจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาในประเทศไทย (STRATEGIC MANAGEMENT OF BASIC EDUCATION FOR INTELLECTUALLY IMPAIRED STUDENTS IN THAILAND)

Authors

  • แสงจันทร์ ยิ่งสัมพันธ์เจริญ สาขาการจัดการการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
  • ผดุง อารยะวิญญู สาขาการศึกษาพิเศษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
  • ประกฤติ พูลพัฒน์ สาขาการศึกษาพิเศษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
  • ธีระ จันทรรัตน์ สาขาการบริหารการศึกษา สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Keywords:

Management of Basic Education for Intellectually Impaired Students, Management of Basic Education, Strategic Management of Basic Education, Intellectually Impaired Students

Abstract

บทคัดย่อ
      ในการวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ถึงสภาพปัจจุบันของการจัดการศึกษา การดำเนินการ ผลการดำเนินงาน อุปสรรค และปัญหา ในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ในสถานศึกษาและองค์กรที่เกี่ยวข้อง และเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาในประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods) เชิงวิเคราะห์พรรณนา (Descriptive Analysis) โดยใช้การวิเคราะห์ SWOT Analysis วิธีการวิจัย เชิงคุณภาพ (Qualitative Methods) และวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Methods) สร้างกระบวนการและวางแผนในการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods) โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) การสนทนากลุ่ม (Focus Group) การสร้างแบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือใน การวิจัยและอาศัยการตีความข้อมูลเอกสาร (Documentary Study) ที่มีผู้รวบรวมไว้แล้ว ส่วนผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) ได้แก่ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารงานการศึกษาพิเศษ เลขาธิการมูลนิธิช่วยคนปัญญาอ่อนแห่งประเทศไทย ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษส่วนกลาง ที่ปรึกษาทางด้านการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิการและเด็กด้อยโอกาส ผู้อำนวยการส่วนวิชาการและมาตรฐานการศึกษาท้องถิ่นกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ผู้บริหารโรงเรียนศึกษาพิเศษเฉพาะทาง (โรงเรียนที่จัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา นักวิชาการ คณาจารย์ด้านการศึกษาพิเศษ ครูผู้สอนเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ตัวแทนผู้ปกครองเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา จำนวน 10 คน เก็บรวบรวมข้อมูลได้มาสรุปสังเคราะห์นำไปดำเนินการ สนทนากลุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (Focus Group) กับกลุ่มนักวิชาการ ผู้ที่มีหน้าที่ หรือมีความเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการสอนกลุ่มเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ซึ่งประกอบด้วย ประธานหลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาการศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต อาจารย์หลักสูตรการศึกษาพิเศษ คณะครุศาสตร์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ โรงเรียนปัญญาวุฒิกร หัวหน้าฝ่ายการศึกษาพิเศษ โรงเรียนวัดหนัง ผู้อำนวยการ โรงเรียนประชาบดี หัวหน้าฝ่ายการศึกษาพิเศษ โรงเรียนวัดรวก สังกัดกรุงเทพมหานคร นักวิชาการการศึกษาพิเศษโรงเรียนราชานุกูล (สถาบันราชานุกูล) กรมสุขภาพจิต รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการโรงเรียนฉะเชิงเทราปัญญานุกูล ผู้ปกครองเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ครูผู้ดูแลศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดเขาคันธมาทย์ เทศบาลตำบลสัตหีบ ครูการศึกษาพิเศษ โรงเรียนวัดเวตวันธรรมาวาส จำนวน 12 คน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์เป็นระบบ) โดยการสร้างแบบสอบถาม(Questionnaire) สอบถามความคิดเห็นผู้บริหารที่จัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาในประเทศไทย เกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน และปัญหาการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาในปัจจุบัน จำนวน 40 คน 40 โรง นำผลที่ได้จากทั้งสองส่วนมารวมกันก่อนนำไปกำหนดยุทธศาสตร์และรูปแบบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาในประเทศไทย มีการตรวจสอบความถูกต้องและความเหมาะสมของยุทธศาสตร์และรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมาด้วยการจัดสนทนากลุ่ม (Focus Group) กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา จากนั้นนำเสนอยุทธศาสตร์และรูปแบบที่ได้รับการตรวจสอบและแก้ไขแล้วต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นขั้นตอนสุดท้าย

ผลการวิจัยพบว่า
1. เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาในประเทศไทยมีจำนวนมากขึ้น อีกทั้งผู้ปกครองไม่มีความรู้ในเรื่องของการฟื้นฟูในระยะแรกเริ่มและไม่ได้ส่งเสริมให้เด็กเรียนไปตามวัยแต่พบปัญหาก็เมื่ออายุมากจึงเข้ามาเรียน (15 ปีขึ้นไป) จึงเป็นสิ่งที่ต้องสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นกับพ่อแม่โดยการจัดการความรู้ให้แก่พ่อและแม่ของเด็กเกี่ยวกับสิทธิในด้านต่างๆ ให้แก่บุตรของตนเองที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาที่ยังขาดโอกาสทางการศึกษา และสวัสดิการที่รัฐจัดให้ยังไม่ทั่วถึง เช่น ค่ารถ ค่าใช้จ่าย ค่านม ค่าอาหาร รวมถึงค่าเลี้ยงดู เป็นต้น

2. เมื่อเข้าสู่วัยเรียนผู้ปกครองที่มีลูกเป็นเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาจะหาที่เรียนให้เด็กยากมาก โอกาสเข้าโรงเรียนใกล้บ้านไม่มีเลย ผนวกกับผู้ปกครองไม่มีความรู้ความเข้าใจในการส่งเด็กไปเรียนในโรงเรียนปกติและไม่สามารถดูแลได้ใกล้ชิด

3. ด้านหลักสูตร ไม่เป็นทิศทางเดียวกัน หลักสูตรกว้าง บางสถานศึกษาเน้นวิชาการมากเกินไป บางที่ก็อ่อนเกินไป ต้องการให้มีหลักสูตรที่เป็นส่วนกลางที่มีมาตรฐาน เป็นหลักสูตรที่เน้นความสำคัญเฉพาะ ที่เน้นทางด้านการประกอบอาชีพ หลังจากจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อสามารถนำความรู้ที่ได้เรียนไปประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้

4. บุคลากรไม่พอเพียงกับจำนวนเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา (การผลิตบุคลากรด้านการศึกษาพิเศษ) ที่เป็นกำลังที่สำคัญในการพัฒนาเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญารวมถึงการให้ขวัญกำลังใจบุคลากรทางการศึกษาพิเศษในเรื่องของเงินค่าตอบแทน โดยติดกับระเบียบการรับเงินค่าตอบแทนครูการศึกษาพิเศษ (ผู้ที่ทำการปฏิบัติการสอนไม่ได้รับค่าตอบแทน แต่ผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติการสอนได้ค่าตอบแทน) โดยประเด็นนี้สำคัญมากไม่ใช่เฉพาะในระดับกระทรวงที่ต้องมีบทบาทแต่รัฐบาลจะต้องมองเห็นว่าเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญในด้านปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาในประเทศไทย 

จากการสังเคราะห์ผลการวิจัยในขั้นสุดท้าย ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ที่ได้จากการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณ การวิเคราะห์ตามหลัก SWOT ทำให้ได้ข้อค้นพบเพื่อเสนอเป็นยุทธศาสตร์ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาในประเทศไทยที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพทั้งหมด 5 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การจัดการความรู้ คือ การสร้างความตระหนักให้แก่ผู้ปกครองที่มีลูกเป็นเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาโดยให้ความรู้เพื่อให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจลูกในช่วงวัยระยะแรกเริ่มจัดการความรู้เพื่อให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจ ในเรื่องเกี่ยวกับสิทธิทางการศึกษาของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การบริหารจัดการในการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร คือ การวางแผนกำลังคน หลักสูตร กระบวนการการจัดการเรียนการสอน เครื่องมือและอุปกรณ์ในการสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้แก่เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาเพื่อพัฒนาสมรรถภาพของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาคุณภาพการศึกษาเน้นการส่งเสริมในด้านการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ๆ เกี่ยวกับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การมีส่วนร่วมเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนและองค์กรต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา การประสานการทำงานในลักษณะเครือข่ายผู้ปกครองมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสานงานกันเพื่อจุดมุ่งหมายในการจัดการศึกษาสำหรับ เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา

ยุทธศาสตร์ที่ 5 การประชาสัมพันธ์ข่าวสาร มีการประชาสัมพันธ์ข่าวสารในสังคม ในด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในชุมชนจัดทำสื่อเผยแพร่เพื่อให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้สังคมยอมรับและเห็นศักยภาพและคุณค่าในตัวเด็ก    Abstract

     The objective of this research is to analyze the current state of educational administration, processes, outcomes, difficulties and problems in educational administration for intellectually impaired children in educational institutes and related organizations in order to set up strategic management appropriate for Basic Education administration for children with intellectual disability in Thailand. The design in this research is a Mixed Method design in which qualitative and quantitative data was analyzed descriptively with the SWOT analysis. Qualitative data was collected from documentary study, in-depth interviews and a focus group, whilst quantitative data was collected from a questionnaire. Participants in in-depth interviews included the Director of Bureau of Special Education Administration, the Secretary-General of the Foundation for the Welfare of the Mentally Retarded of Thailand under the Royal Patronage of Her Majesty the Queen, the Director of Special Education Central Region-the Consultant of Educational Administration for Disabled and Disadvantaged Children, the Director of the Division of Local Education Standards and Technical Services-the Department of Local Administration, an executive of a segregated special school, academics, lecturers in Special Education, teachers of intellectually impaired students, representatives from related governmental and private sectors and parents of intellectually challenged children. The findings from the in-depth interviews were later applied to a focus group. Participants in the focus group included academics and related people who were responsible for educational administration for intellectually impaired children in Thailand, particularly the President of Doctor of Education Program in Special Educational Administration of Suan Dusit Rajabhat University, the Director of Special Education Center of Suan Dusit Rajabhat University, a lecturer from Special Education Program from Faculty of Education of Suan Dusit Rajabhat University, the Director of Academic Affairs of Punyawudhikorn School, the Chief of Special Education Subdivision of Wat Nang School, the Director of Prachabodee School, the Director of Special Education Subdivision of Wat Ruak Bangkok Metropolitan Administration School, an academic in Special Education of Rajanukul School (Rajanukul Institute) of the Department of Mental Health, the Deputy Director of Academic Affairs of Chachoengsao Panyanukul School, a teacher of Wat Kao Kanthamas Child Development Center of Sattahip Subdistrict Municipality, a Special Education teacher of Wat Wetawan Thamamas and a parent of an intellectually challenged child. Data collected from the focus group was analyzed and synthesized in order to construct a questionnaire of which the items were related to current state and problems in intellectually impaired students’ educational administration in Thailand. The questionnaires collected data from 40 executives of 40 schools, who were responsible for educational administration for students with intellectual disabilities. The qualitative and quantitative findings were merged and applied to design strategic management for Basic Education administration for intellectually impaired children. With another focus group, the developed strategic management and approach were reviewed by the experts from the related fields. The reviewed and revised management and approach were finally delivered to the related organizations.

The findings of this study are as follows.
1. The number of intellectually impaired students in Thailand is increasing whereas their parents have no knowledge of early intervention. In addition, these parents have not provided proper education to their intellectual disabled children until they are becoming adolescents (15 years old and up) and their problems obviously appear. Therefore, it is necessary to make the parents realize this important matter by means of providing information about claiming various benefit rights for their own children, including educational opportunity together with uncovered state welfares, namely transportation, meal and milk expenses including living allowance etc.

2. When the children reach school age, it is extremely difficult for parents either to find a school for their intellectually impaired children or a one which is near homes. Moreover, they do not understand that normal schools the children sent to could not provide special care for them.

3. Because curriculums are not standardized and not well defined, each school heads for different directions. Some educational institutes put too much emphasis on academic purposes, and vice versa. There should be a shared standard curriculum which focuses on vocational purposes. Then, after completing Mathayom 3, these adolescents would be equipped with applicable knowledge that would help them find jobs and eventually could support their own lives.

4. The available number of personnel is not enough comparing to the present number of intellectually impaired children. The personnel in Special Education are significant for developing these intellectually impaired children. Giving them morale support with financial benefits is also essential, but it is hindered by payment regulations. This issue is of vital importance to not only the Ministry itself as a key role but also the Government that need to regard this as a crucial factor in developing intellectually impaired students in Thailand.

The synthesis of final research findings resulting from strategic analysis conducted by three different methods, i.e. qualitative, quantitative and SWOT, led to five appropriate and effective strategies of basic educational management for intellectually impaired students in Thailand.
The 1st strategy Knowledge managing-by providing information to parents of intellectually impaired children, their awareness would be raised with respect to gaining more understanding in both their children at the early stages and the claim for their children’s educational rights.

The 2nd strategy Personnel organizing-the staff’s readiness is organized in terms of personnel planning, curriculums, instructional processes, equipment and tools in order to facilitate and support intellectually impaired students for their ability development.

The 3rd strategy Developing-the educational quality can be developed through research in order to construct knowledge and innovations for intellectually impaired children.

The 4th strategy Cooperating-local communities, related organizations and parent networks should cooperatively exchange information, work and engage in educational administration for intellectually impaired children.

The 5th strategy Public service advertising-advertising in various forms is an approach for a society to understand, accept and see the potentials and values in children with intellectual impairment.


Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

แสงจันทร์ ยิ่งสัมพันธ์เจริญ, สาขาการจัดการการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ผดุง อารยะวิญญู, สาขาการศึกษาพิเศษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ประกฤติ พูลพัฒน์, สาขาการศึกษาพิเศษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ธีระ จันทรรัตน์, สาขาการบริหารการศึกษา สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Downloads

Published

2015-04-01

How to Cite

ยิ่งสัมพันธ์เจริญ แ., อารยะวิญญู ผ., พูลพัฒน์ ป., & จันทรรัตน์ ธ. (2015). ยุทธศาสตร์ในการจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาในประเทศไทย (STRATEGIC MANAGEMENT OF BASIC EDUCATION FOR INTELLECTUALLY IMPAIRED STUDENTS IN THAILAND). Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences, 2(4, July-December), 122–137. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/32682