การศึกษากลวิธีการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนที่มีคะแนน O-NET สูงสุด 10 อันดับแรก (A STUDY OF ENGLISH LEARNING STRATEGIES USED BY MATTHAYOMSUKSA 6 STUDENTS OF THE TOP TEN O-NET SCORING SCHOOLS)

Authors

  • Yaowadee Jones Faculty of Humanities. Srinakharinwirot University, Bangkok
  • Chaleosri Pibulchol Faculty of Humanities. Srinakharinwirot University, Bangkok
  • Somsan Wongyounoi Educational and Psychological Test Bureau, Srinakharinwirot University, Bangkok

Keywords:

English Learning Strategies, O-NET Top Ten O-NET School

Abstract

บทคัดย่อ
     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนที่มีคะแนน O-NET สูงสุด 10 อันดับแรก 3 ปีอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548-2550 และเป็นโรงเรียนที่เปิดสอนแผนการเรียนทั้งสาม คือ แผนการเรียน วิทย์คณิต ศิลป์ภาษาและ ศิลป์คำนวณ จำนวน 5 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนจำนวน 333 คน ซึ่งเรียนแผนวิทย์คณิตจำนวน 111 คน ศิลป์ภาษาจำนวน 111 คน และศิลป์คำนวณจำนวน 111 คน โดยแบ่งนักเรียนในแต่ละแผนออกเป็น 3 กลุ่มตามผลการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ กลุ่มที่มีการเรียนระดับดีมาก ดี และพอใช้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบบันทึกการสัมภาษณ์ครูและนักเรียน

ผลการวิจัยพบว่า
1. กลวิธีการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่มีการใช้มากที่สุด คือ กลวิธีการชดเชยข้อบกพร่อง ตามด้วยกลวิธีด้านปัญญา กลวิธีด้านสังคม กลวิธีด้านอภิปัญญา กลวิธีด้านอารมณ์ และกลวิธีด้านการจดจำ

2. นักเรียนที่มีผลการเรียนภาษาอังกฤษดีมากใช้กลวิธีด้านปัญญาและกลวิธีด้านอภิปัญญามากที่สุด ส่วนนักเรียนที่มีผลการเรียนภาษาอังกฤษดีและพอใช้ ใช้กลวิธีการชดเชยข้อบกพร่องมากที่สุด และนักเรียนทุกระดับผลใช้กลวิธีด้านการจดจำน้อยที่สุด

3. การใช้กลวิธีการเรียนรู้ภาษาอังกฤษไม่มีความสัมพันธ์กับแผนการเรียนของนักเรียน โดยนักเรียนในทุกแผนมีการใช้กลวิธีการเรียนรู้ภาษาอังกฤษไม่แตกต่างกัน แต่พบว่าการใช้กลวิธีการเรียนรู้ภาษาอังกฤษมีความสัมพันธ์กับระดับผลการเรียนภาษาอังกฤษ กล่าวคือนักเรียนที่มีผลการเรียนภาษาอังกฤษในระดับสูงกว่ามีการใช้กลวิธีการเรียนรู้ภาษาอังกฤษมากกว่านักเรียนที่มีผลการเรียนภาษาอังกฤษในระดับต่ำกว่า

4. นักเรียนที่มีผลการเรียนภาษาอังกฤษในระดับดีมากมีศักยภาพในการประยุกต์ใช้กลวิธีด้านอภิปัญญาได้มากกว่านักเรียนที่มีผลการเรียนภาษาอังกฤษในระดับดีและพอใช้ นักเรียนที่มีผลการเรียนภาษาอังกฤษในระดับดีมากให้ความใส่ใจทั้งขั้นตอนการเรียนรู้และผลจากการเรียนรู้ ในขณะที่นักเรียนที่มีผลการเรียนภาษาอังกฤษในระดับดีให้ความใส่ใจเฉพาะขั้นตอนการเรียนรู้ ส่วนนักเรียนที่มีผลการเรียนภาษาอังกฤษในระดับพอใช้ให้ความใส่ใจผลของการเรียนรู้เท่านั้น นอกจากนี้ยังพบว่า นักเรียนที่มีผลการเรียนภาษาอังกฤษในระดับดีมากมีลักษณะการเรียนรู้แบบด้วยตนเอง ในขณะที่นักเรียนที่มีผลการเรียนภาษาอังกฤษในระดับดีและพอใช้มีลักษณะการเรียนรู้แบบพึ่งผู้อื่น

  Abstract

     This study aimed to identify English learning strategies used by Thai Matthayomsuksa 6 (12th grade) students of five top-ten English subject’s O-NET (Ordinary National Educational Test) scoring schools in the three consecutive academic years of 2005-2007, which offered three academic programs: Science, Arts and Arts-Math. The participants were 333 students selected according to their academic programs and English proficiency levels: very high (VH), high (H) and moderate (M). The research instruments were a questionnaire and interviews.

The results revealed that:
1. The most-used English learning strategies used were compensation strategies, followed by cognitive strategies, social strategies, metacognitive strategies, affective strategies, and memorization strategies respectively.

2. The most-used strategies of the VH proficiency students were cognitive strategies and metacognitive strategies, whereas the ones shared by the H and the M proficiency students were compensation strategies. All three different proficiency students employed memorization strategies as the least-used ones.

3. English learning strategy use was found not significantly correlated to students’ academic programs; there was no different in strategy use among students in the three academic programs. However, it was found significantly correlated to the English proficiency levels; the higher proficiency students used more strategies than the lower proficiency students.

4. The VH proficiency students showed a greater potential ability than the other groups in applying metacognitive strategies. The VH proficiency students focus on both learning process and product, whereas the H and the M proficiency students concentrated only on learning process and product respectively. The VH proficiency students also employed the characteristics of self-learning while the H and the M proficiency students relied on others.


Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

Yaowadee Jones, Faculty of Humanities. Srinakharinwirot University, Bangkok

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Chaleosri Pibulchol, Faculty of Humanities. Srinakharinwirot University, Bangkok

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Somsan Wongyounoi, Educational and Psychological Test Bureau, Srinakharinwirot University, Bangkok

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Downloads

Published

2015-04-01

How to Cite

Jones, Y., Pibulchol, C., & Wongyounoi, S. (2015). การศึกษากลวิธีการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนที่มีคะแนน O-NET สูงสุด 10 อันดับแรก (A STUDY OF ENGLISH LEARNING STRATEGIES USED BY MATTHAYOMSUKSA 6 STUDENTS OF THE TOP TEN O-NET SCORING SCHOOLS). Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences, 2(4, July-December), 138–152. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/32683