การวัดประเมินในชั้นเรียน: วิวัฒนาการและแนวคิดใหม่เพื่อพัฒนาการเรียนรู้

Authors

  • องอาจ นัยพัฒน์ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Abstract

Abstract

      ในปัจจุบันนี้บทบาทและแนวคิดสำคัญด้านการวัดและประเมินการเรียนรู้ (Learning assessment) ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากและเป็นไปอย่างรวดเร็วในวงการศึกษาของหลายประเทศ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา รวมทั้งไทย จะเห็นได้จากการปรับเปลี่ยนวิธีการวัดประเมินการเรียนรู้แบบอิงหลักสูตรเป็นฐาน (Curriculum-based assessment) ที่ดำเนินการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ข้อมูลสารสนเทศที่ย้อนกลับไปพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน นอกจากนี้ การวัดประเมินการเรียนรู้ตามทฤษฎีการเรียนเพื่อรอบรู้ (Mastery learning theory) ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในวงการศึกษาของหลายประเทศนับตั้งแต่ปลายปี ค.ศ. 1970 เป็นต้นมา (พ.ศ. 2520-ปัจจุบัน) พบว่า ในทางปฏิบัติจริงมักมุ่งเน้นการวัดและประเมินผลเพื่อสรุปรวบยอดความรู้ของผู้เรียนตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่กำหนดไว้ล่วงหน้าอย่างเฉพาะเจาะจง โดยใช้แบบทดสอบเลือกตอบเป็นเครื่องมือวัดหลักเมื่อสิ้นสุดภาคเรียนหรือปลายปีการศึกษา (Summative assessment) มากกว่าการวัดและประเมินผลเพื่อตรวจสอบความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดขึ้นระหว่างการเรียนการสอน (Formative assessment) ได้เปลี่ยนแปลงมาสู่การวัดและประเมินผลที่มีลักษณะผ่อนคลายข้อจำกัดของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามแบบดั้งเดิม รวมทั้งขยายขอบข่ายมิติของการวัดและประเมินผลกว้างขวางขึ้นกว่าเดิม โดยมีผู้เรียนในฐานะผู้ถูกวัดและประเมินผลเป็นผู้มีส่วนร่วมอันสำคัญยิ่งในกระบวนการวัดและประเมิน รวมทั้งการใช้ผลการวัดและประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของตนอย่างต่อเนื่อง โดยมีครูในฐานะผู้สอนและผู้วัดประเมินคอยอำนวยการหรือเสริมพลังให้เกิดการเรียนรู้ (Learning empowerment) และสนับสนุนให้ผู้เรียนแต่ละคนหรือกลุ่มสามารถพัฒนาความรู้ความสามารถหรือทักษะไปได้สูงสุดตามศักยภาพของที่มีอยู่ การวัดและประเมินการเรียนรู้ตามแนวคิดใหม่นี้ จึงมุ่งเน้นไปที่ผู้เรียนเป็นสำคัญหรือเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอันสำคัญ (Student-centered or student-involved assessment)มากกว่ามุ่งเน้นไปที่ตัวครูผู้สอน (Teacher-centered assessment) หรือการวัดผลเป็นสิ่ง “ขับเคลื่อน” (Measurement-driven assessment) ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ ดังที่เกิดขึ้นในหลายช่วงทศวรรษที่ผ่านมา

บทความนี้เขียนขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อเสนอมโนทัศน์เกี่ยวกับการวัดประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียน โดยมุ่งเน้นกล่าวในเรื่องวิวัฒนาการและแนวคิดสำคัญของการวัดประเมินการเรียนรู้ตามกระบวนทัศน์ (Paradigm) สำคัญที่ใช้เป็นฐานคิดหรือกรอบเหตุผลทำความเข้าใจประเด็นปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวัดประเมินการเรียนรู้

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

องอาจ นัยพัฒน์, คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Downloads

Published

2015-04-01

How to Cite

นัยพัฒน์ อ. (2015). การวัดประเมินในชั้นเรียน: วิวัฒนาการและแนวคิดใหม่เพื่อพัฒนาการเรียนรู้. Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences, 2(3, January-June), 1–12. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/32690