สืบสานวัฒนธรรมการสร้างเรือนหลวง: สายใยแห่งความรักต่อผู้วายชนม์
Abstract
Abstract จากผลงานวิจัยเรื่องรูปแบบเรือนหลวง ในจังหวัดจันทบุรี พบว่า พระเมรุมาศและพระเมรุที่ถูกสร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระเมรุที่อยู่ในอาคาร โบสถ์ วิหารของวัด ศิลปะการฉลุสลักหยวก ปราสาทรามัญหรือโลงมอญ และการทำหนังตะลุงเป็นงานศิลปะที่มีเอกลักษณ์ โดดเด่นของชาติไทย ที่หาชาติใดในโลกเสมอเหมือนมิได้ ความงามอันวิจิตรที่บรรจงสร้างสรรค์นี้ นับเป็นแรงบันดาลใจที่ ก่อให้เกิดอิทธิพลต่อชนรุ่นหลังในการสร้างเรือนหลวงเป็นศิลปะตกแต่งเพื่อใช้ในงานพิธีศพของสามัญชนทั่วไป ที่มีมาแต่โบราณของท้องถิ่นเมืองจันทบุรี แสดงให้เห็นถึงความนิยม และความพึงพอใจของผู้ที่เป็นเจ้าภาพ เป็นการสร้างสรรค์ความงามอันวิจิตรตระการตาเพื่อแสดงความเคารพต่อผู้ล่วงลับและนิยมที่จะเผาเมื่อเสร็จสิ้นงานฌาปนกิจศพ ด้วยเหตุผลดังกล่าวผู้วิจัยจึงได้รวบรวมผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่มาของการสร้างเรือนหลวง ดังนี้
1. ความเชื่อ
2. สิ่งบันดาลใจในการสร้างรูปแบบเรือนหลวงของช่าง
3. การตกแต่งรายละเอียดของเรือนหลวง
Downloads
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences is licensed Under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivs 4.0 International (CC-BY-NC-ND 4.0) License, Unless Otherwise Stated. Please Read Journal Policies Page for More Information on Open Access, Copyright and Permissions.