ลูก: วัตถุมงคลแห่งครอบครัวชาวพุทธ (CHILD: MAGIC OBJECT OF BUDDHIST FAMILY)

Authors

  • มนตรี วิวาห์สุข สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

Keywords:

magic object, support to child, service to parents, highest blessing, Buddhist family

Abstract

บทคัดย่อ
     บทความชิ้นนี้เป็นการรวบรวมเรียบเรียงความหมาย ประเภท ฐานะ และหน้าที่ที่ลูกพึงกระทำต่อแม่พ่อ ซึ่งจะส่งผลทำให้การสงเคราะห์ลูกของแม่พ่อเป็นอุดมมงคลตามหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก และคัมภีร์ชั้นรองลงมารวมทั้งที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์มังคลัตถทีปนี การศึกษาทำให้พบว่า ลูกมี 2 ประเภท คือ ลูกแท้และลูกเทียม ฐานะของลูกมี 2 ประการ คือ วัตถุและอัคคี หน้าที่ที่พึงกระทำมี 2 อย่าง คือ หน้าที่ต่อแม่พ่อโดยตรงและหน้าที่ต่อการดำรงอยู่ของวงศ์สกุล ดังนั้นจึงทำให้ได้ครอบครัว 27 ประเภท จำแนกตามสมาชิกของครอบครัว คือ แม่พ่อลูก ซึ่งครอบครัวที่เจริญที่สุดและเสื่อมที่สุดมีเพียงอย่างละหนึ่งครอบครัว ตามทัศนะของพระพุทธศาสนาถือว่าลูกทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในสถานะใดก็ต้องเลี้ยงแม่พ่อ ซึ่งการเลี้ยงที่จะถือว่าเป็นการตอบแทนคุณของท่านคือการเลี้ยงใจ ได้แก่ การทำให้แม่พ่อเป็นคนดีนำไปสู่การกำจัดเหตุแห่งทุกข์ ด้วยหลักการนี้การสงเคราะห์ลูกจึงเป็นอุดมมงคลเพราะเป็นปัจจัยหนึ่งซึ่งจะทำให้หนทางแห่งความพ้นทุกข์ประจักษ์ต่อแม่พ่อและหากเป็นเช่นนี้ทุกครอบครัวก็เท่ากับว่าหนทางแห่งการพ้นทุกข์จะไม่สูญสิ้นไปจากเผ่าพันธุ์มนุษย์   Abstract

     The article compiled the meanings, types, statuses, and duties that should be undertaken by children toward their parents. These, in turn would convert parents sympathy into the highest blessing according to the Buddha's teaching. The data were collected from the primary source, Pali canons; secondary sources such as commentaries including the Manggalatthatipani. From the study, we had learned there were two types of children either true or fake; two statuses: Vatthu (object or foundation) and Aggi (fire); and two duties: parent-oriented and clan-oriented. Parents and child composed and categorized twenty-seven types of families. Two of these: one with highest rising future, and the other, lowest falling were found. In whatever families, the Buddha taught child whoever monk or layman had to take care of parents without any exception. Among the grateful children, the only one was considered as the returned was whom cultivated parents' mental quality, leading toward a better place and an extinction of causes of suffering. Accordingly, the support to children was the highest blessing because it was one of factors maintained the way leading to extinction of suffering for parents. If, all families realized and were able to do this, the way would not disappear from human races.


Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

มนตรี วิวาห์สุข, สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

 

 

 

Downloads

Published

2015-04-01

How to Cite

วิวาห์สุข ม. (2015). ลูก: วัตถุมงคลแห่งครอบครัวชาวพุทธ (CHILD: MAGIC OBJECT OF BUDDHIST FAMILY). Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences, 2(3, January-June), 27–43. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/32693