สำนึกพลเมือง หัวใจสำคัญของประชาสังคมไทย (CITIZEN CONSCIOUSNESS THE CORE OF THAI CIVIL SOCIETY)
Keywords:
Citizen Consciousness, Civil societyAbstract
บทคัดย่อ ในอดีตที่ผ่านมานั้นรัฐบาลเข้าใจว่าปัญหาสังคมไทยเป็นปัญหาชนชั้น ซึ่งไม่เป็นความจริง เนื่องจากมีบทพิสูจน์ว่าปัญหาส่วนใหญ่นั้นเกิดจากระบบราชการ ระบบพรรคการเมือง ระบบการศึกษาซึ่งเป็นการบริหารงานแบบแนวดิ่ง ที่ไม่ได้พัฒนาภาคประชาสังคมให้เข้มแข็งขึ้น จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการร่างแผนฯ อันเป็นการขานรับแนวคิด "ประชาสังคม" ให้เป็นที่รู้จักกันทั่วประเทศ
ภาคีขบวนการประชาสังคมไทย คือ การก่อรูปและการประสานเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายของกลุ่มประชาสังคมในระดับต่างๆ เป็นโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ (Civic Infrastructure) อันเป็นปัจจัยเกื้อหนุนพัฒนาการของขบวนการประชาสังคม ที่ต้องอาศัยการพบปะของผู้คนได้มาสัมพันธ์ร่วมกันทำงานก่อให้เกิดเป็นองค์กรร่ม(Umbrella Organization) ที่เชื่อมโยงองค์กรสมาชิกและสมาชิกเข้าด้วยกัน และเป็นช่องทางในการสื่อสารระหว่างกัน (Channels of Communication)
วิถีชีวิต วัฒนธรรมและภูมิปัญญาของชุมชนล้วนเป็นทุนทางสังคม (Social Capital) หรือ ทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Capital) ที่มีส่วนสำคัญในการสร้างประชาสังคม (Civil Society) ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาประเทศ ดังนั้น การแก้วิกฤติสังคมไทยในยุคปัจจุบันที่เกิดจากปัญหาการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและความขัดแย้งของคนในชาติ จึงอยู่ที่การปรับเปลี่ยนมาเป็นการให้ความสำคัญกับการเมืองภาคประชาชน และการสร้างจิตสำนึกของพลเมือง ที่เป็นหัวใจสำคัญของประชาสังคมไทย
Abstract
Consideration of Thai social problems indicates the influence of vertical organization system in Thai bureaucracy, political party and educational systems, which do not strengthen Thai civil society. On the other hand, a base class problem has been concerned and misunderstood by Thai government as a core factor of social problem. So, the eighth National Economic and Social Development Plan (1997-2001) has been considered a landmark in terms of the degree of public participation involved in its drafting as well as enlightened the concept of civil society.
The movement of an associate member of Thai civil society is the establishment and networking of civil society groups at all levels to form the Civic Infrastructure. It is the one factor that supports the development of the civil society process. This factor depends on the relationship of those who communicate in the organizations. The result is an Umbrella Organization connecting group members and members of organizations together, consequently gaining channels of communication.
Social or cultural capital, which is an essential factor in establishing civil society by means of the key to country development. The way to solve Thai social crisis caused by the political, economical, social and conflict among people problems would be to give priority to citizen politic and to arouse the consciousness of population which is the core of Thai civil society.
Downloads
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences is licensed Under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivs 4.0 International (CC-BY-NC-ND 4.0) License, Unless Otherwise Stated. Please Read Journal Policies Page for More Information on Open Access, Copyright and Permissions.