พัฒนาการในงานเขียนของวินทร์ เลียววาริณ (THE DEVELOPMENT OF WIN LYOVARIN’S LITERARY WORK)

Authors

  • อรนัช สมสิทธิ์ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • พรธาดา สุวัธนวนิช ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • บรรพต ศิริชัย ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Keywords:

Development, Themes, Techniques, Factors affect

Abstract

บทคัดย่อ

 

     ปริญญานิพนธ์เรื่องนี้มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวินทร์ เลียววาริณ ผลงานกับบริบททางสังคมซึ่งมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และศึกษาพัฒนาการในงานเขียนของวินทร์ เลียววาริณ ตลอดจนปัจจัยที่มีผลต่อการนำเสนองานเขียนของวินทร์ เลียววาริณ ที่ตีพิมพ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535-2550 จำนวน 25 เล่ม ผลจากการศึกษาพบว่างานเขียนของวินทร์ เลียววาริณ มีพัฒนาการทั้งทางด้านแนวคิดและกลวิธี อย่างชัดเจน 3 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 พ.ศ. 2535-2538 ช่วงที่ 2 พ.ศ. 2539-2547 และช่วงที่ 3 พ.ศ. 2548-2550 ด้านแนวคิด พบว่าแนวคิดที่วินทร์ เลียววาริณ นำเสนออย่างต่อเนื่องทั้งสามช่วง ได้แก่ แนวคิดเกี่ยวกับสังคม แนวคิดเกี่ยวกับการเมืองและข้าราชการ และแนวคิดเกี่ยวกับวรรณกรรม แนวคิดที่วินทร์ เลียววาริน เริ่มต้นนำเสนอในงานเขียนช่วงที่สอง คือ แนวคิดเกี่ยวกับครอบครัว แนวคิดเกี่ยวกับวัตถุนิยม แนวคิดเกี่ยวกับการมองโลกในแง่ดีและเห็นคุณค่าของตนเอง แนวคิดที่วินทร์ เลียววาริณ ได้นำเสนอในช่วงที่หนึ่งและนำมาเสนออีกครั้งในช่วงที่สาม คือ แนวคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ แนวคิดที่วินทร์ เลียววาริณ ได้นำเสนอเพิ่มขึ้นในช่วงที่สามคือ แนวคิดเกี่ยวกับความแปลกแยกของคนในสังคมปัจจุบัน ด้านกลวิธี วินทร์ เลียววาริณ ใช้กลวิธีตามขนบการเขียนทางวรรณกรรมทั้งสามช่วง ขณะเดียวกันวินทร์ เลียววาริณ ใช้กลวิธีการนำเสนออย่างสร้างสรรค์ มีรูปแบบที่หลากหลาย ควบคู่กับกลวิธีตามขนบวรรณกรรมแบบเดิมมาโดยตลอด กลวิธีการนำเสนอเชิงสร้างสรรค์ในช่วงแรก คือ การใช้สัญลักษณ์ การแบ่งบทหรือตอนเพื่อแยกแนวคิดของเรื่องการจัดวางตัวอักษร การใช้กลวิธีและรูปแบบในเชิงวารสารศาสตร์ การใช้ภาพประกอบ และการใช้เทคนิคของภาพยนตร์ ในช่วงที่สองกลวิธีการนำเสนอแบบสร้างสรรค์มาใช้เป็นกลวิธีหลักในการเขียนเพิ่มเติมจากช่วงแรก ได้แก่ การใช้วรรณรูป การใช้พยัญชนะและเครื่องหมาย การใช้บทความเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องเล่าและการใช้ประโยคหรือวลี ในช่วงที่สามใช้กลวิธีการนำเสนออย่างอิสระไม่ยึดติดกับกฎเกณฑ์ทางวรรณกรรมโดยพบกลวิธีการนำเสนอแบบสร้างสรรค์ที่เพิ่มเติมจากช่วงที่หนึ่งและสอง ได้แก่ การใช้ภาพลายเส้นประกอบเรื่อง การใช้การเล่าเรื่องแบบล้อเลียนและการใช้คำคมสั้นๆ ทั้งนี้ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่องานเขียนของวินทร์ เลียววาริณ ได้แก่ ภูมิหลัง ความถนัดและความสนใจ บริบททางสังคมและการเมือง และปรัชญาความคิดแบบตะวันตก งานเขียนวินทร์ เลียววาริณ แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาการทางด้านแนวคิดที่ไม่หยุดนิ่งและมีการนำเสนอที่โดดเด่นแสดงถึงความคิดสร้างสรรค์อยู่เสมอ ทำให้งานเขียนของวินทร์ เลียววาริณ มีคุณค่าและน่าสนใจติดตาม    Abstract 
      The thesis had three main objectives: first, to investigate the relationship between Win Lyovarin’s works and the social context; second, to study the development of his works; and finally, to analyze factors affecting his writing. The study included 25 of Win Lyovarin’s works from 1992-2007. The results revealed that the writer’s thematic and stylistic development can be divided into three periods: the first one from 1992-1995; the second from 1996-2004; the third from 2005-2007. In terms of thematic development, the main themes presented in his writing in all the three periods were about society, the government and officials and literature. In the second period, the main themes found were about family life, materialism, optimism and self esteem. In the third period, Win Lyovarin presented again the scientific theme, which had been presented before in the first period, and at the same time, he offered another theme: people’s alienation. In terms of writing styles, Win Lyovarin used the traditional style along with some creative writing styles to present his works in all three periods. Creative presentations found in the first period of works included the use of symbolism, separation of the writing after its theme, arrangement of letters, adoption of strategies and techniques used in periodicals, illustrations, and movie techniques. In the second period, the creative writing techniques became the main writing strategies. The techniques included concreat poetry, shaped poems, the use of alphabets and punctuation marks; the use of a journal article as part of the narrative, and the use of sentences as well as phrases in the writing. In the last period, he freed himself from all literary restrictions. Some creative presentations included using sketches as illustrations as well as satires and catch phrases. Regarding factors affecting his writing, his background, aptitude and interest, social and political contexts and Western philosophy all affected his writing. Win Lyovarin demonstrated a non-stop thinking development. Being distinguished as experimental and creative, Win Lyovarin’s works were found valuable and enticing.



Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

อรนัช สมสิทธิ์, สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

 

 

 

พรธาดา สุวัธนวนิช, ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

 

 

 

บรรพต ศิริชัย, ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

 

 

 

Downloads

Published

2015-04-02

How to Cite

สมสิทธิ์ อ., สุวัธนวนิช พ., & ศิริชัย บ. (2015). พัฒนาการในงานเขียนของวินทร์ เลียววาริณ (THE DEVELOPMENT OF WIN LYOVARIN’S LITERARY WORK). Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences, 2(3, January-June), 180–188. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/32733