โครงการสร้างฐานข้อมูลการศึกษาศิลปะหลังสมัยใหม่และงานประติมากรรมของแอลลิกซานเดอะ แคลเดอ เพื่อพัฒนาสู่แนวโน้มการออกแบบเครื่องประดับ

Authors

  • วรรณรัตน์ ตั้งเจริญ สาขาวิชาการออกแบบทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Abstract

Abstract

      ผลการศึกษาพบว่าปัจจุบันการออกแบบเครื่องประดับต่างประเทศ โดยเฉพาะแถบประเทศยุโรป การออกแบบเครื่องประดับรวมถึงการผลิตไม่ใช่รูปแบบเครื่องประดับแบบคลาสสิคเป็นหลักเช่นอดีต แต่เป็นเครื่องประดับแฟชั่น เครื่องประดับที่ทำจากเพชรเทียม พลอยเทียม อัญมณีสังเคราะห์ และใช้วัสดุอื่น เช่น กระจก แก้ว พลาสติก ลูกปัด มาผลิตเป็นเครื่องประดับ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากการขาดแคลนวัสดุจริงที่มีราคาสูง แต่ส่วนหนึ่งสันนิษฐานว่าแนวคิดของศิลปินยุคศิลปะหลังสมัยใหม่ มีส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการออกแบบและการใช้วัสดุผลิตเครื่องประดับด้วย แนวคิดและการสร้างงานศิลปะหลังสมัยใหม่ ที่มีเสรีภาพ อิสรภาพ และความคิดสร้างสรรค์แบบแปลกแยก แตกต่าง ผิดรูป ผิดที่ ผิดทาง ไม่อยู่ในกฎระเบียบที่ศิลปินเคยยึดถือเป็นแบบอย่างอีกต่อไป ความคิดแปลกแยกนี้ มีมาตั้งแต่ยุคศิลปะดาดา และศิลปะป็อปอาร์ต โดยการสร้างงานศิลปกรรม จิตรกรรมที่ให้ความรู้สึกประหลาด เกิดรูปแบบศิลปะที่ดูแล้วน่าตกใจ สร้างความฉงนสงสัยให้กับผู้ดู และไม่อยู่ในกฎเกณฑ์ระเบียบแบบแผนหรือประณีต เช่น ศิลปะสมัยใหม่ แต่ศิลปิน แอลลิกซานเดอะ แคลเดอ นักประติมากรที่สร้างงานประติมากรรมด้วยลวด ด้วยเหล็กแผ่น ประติมากรรมที่อยู่นอกอาคารใหญ่โต แต่ให้ความรู้สึก ถึงความแข็งแรง ใหญ่โต ให้ผู้ชมมีส่วนร่วม สัมผัสด้วยความรู้สึกจากความหนาทึบ ความสูงใหญ่ เป็นรูปทรงตัดทอน (Distortion) ให้ผู้ชมจินตนาการ งานประติมากรรมที่ความแปลกแตกต่างกับงานประติมากรรมของศิลปินอื่น ประติมากรรมที่สร้างชื่อเสียงให้กับแอลลิกซานเดอะ แคลเดอ คืองานประติมากรรมเคลื่อนไหว ซึ่งสามารถเคลื่อนไหวได้ด้วยแรงลมและมอเตอร์ งานประติมากรรมของเขา มีทั้งชนิดตั้งบนพื้น ติดผนัง และเพดาน งานประติมากรรมขนาดใหญ่ประดับหน้าสถาปัตยกรรม ให้ผู้ชมมีส่วนร่วม งานประติมากรรมของแอลลิกซานเดอะ แคลเดอ เปลี่ยนรูปแบบงานประติมากรรมแบบคลาสสิคที่เน้นรูปแบบเหมือนจริงให้ความสำคัญกับบุคคลสำคัญ และเรื่องราวในประวัติศาสตร์ สู่ความเป็นประติมากรรมร่วมสมัย มีแนวคิดสอดรับกับศิลปะหลังสมัยใหม่ ให้ความสำคัญกับผู้ชม ความเคลื่อนไหวของประติมากรรม ประติมากรรมเคลื่อนไหวเป็นการเปิดกว้างของความคิดสร้างสรรค์ซึ่งสอดรับกับแนวคิดของศิลปินยุคศิลปะหลังสมัยใหม่ (Post modern) จากการนำผลงานประติมากรรมของ แอลลิกซานเดอะ แคลเดอ ได้ผลสรุปดังนี้
1. งานประติมากรรมส่วนใหญ่ได้แรงดลใจการสร้างงาน จากสิ่งแวดล้อม รูปร่างของสัตว์ เช่น แม่ไก่ สัตว์สี่เท้าขนาดใหญ่ วัว ควาย นกบิน รูปทรงคัดทอนรายละเอียดให้เรียบง่าย และรูปทรงจากเรขาคณิต รูปทรงที่ใช้ เป็นรูปทรงกลม สามเหลี่ยม รูปทรงอิสระ รูปทรงเรียบง่าย เป็นงานประติมากรรมให้ผู้ชมจินตนาการได้ด้วยตนเอง

2. การออกแบบโครงสร้าง ใช้โครงสร้างแบบอิสระ สามารถมองได้รอบด้าน รูปแบบสามารถเปลี่ยนรูปไปตามมุมมอง เส้นที่ใช้เป็นเส้นโค้งประกอบเส้นตรงเป็นส่วนใหญ่ 

3. กลวิธีการผลิต ใช้วิธีการ แกะสลัก การเชื่อม (โลหะชนิดแผ่น) การเคลื่อนไหวด้วยมอร์เตอร์ มือ แรงลม วัสดุที่ใช้ ไม้ โลหะแผ่น เส้นลวด เส้นเชือก พลาสติก และเศษวัสดุต่างๆ

สันนิษฐานว่าเสรีภาพทางความคิดของแอลลิกซานเดอะ แคลเดอ ประกอบกับการขาดแคลนอัญมณีแท้ ต้นทุนการผลิตสูง ประกอบกับความนิยมของกลุ่มเป้าหมายที่ให้ความสำคัญของคุณค่าการออกแบบ รูปแบบสร้างสรรค์ มากกว่าคุณค่าทางวัสดุมีราคา เป็นจุดที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแนวคิดของนักออกแบบเครื่องประดับรุ่นใหม่ เครื่องประดับแฟชั่น เครื่องประดับปลอมได้เข้ามามีบทบาทต่อวงการอุตสาหกรรมเครื่องประดับตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย นักออกแบบเครื่องประดับมีเสรีภาพทางความคิดมากขึ้น ไม่ยึดติดกับการออกแบบและผลิตเครื่องประดับแบบคลาสสิค รูปแบบที่ต้องสวยงามหรูหราในอดีต การออกแบบเครื่องประดับในอนาคต มีแนวโน้มที่มีรูปแบบเรียบง่าย ใช้วัสดุหลายอย่างมาบูรณาการร่วมกัน วัสดุไม่จำเป็นต้องเป็นอัญมณีราคาแพง พลาสติก แก้ว หนัง ไม้ กระดูก ลวด และเศษวัสดุต่างๆ จะกลายเป็นสิ่งที่มีคุณค่าในการทำเครื่องประดับ ความนิยมในการใช้เครื่องประดับเป็นเพียงเครื่องประดับที่มีความสวยงามอยู่ในความแปลกอย่างสร้างสรรค์ ราคาไม่แพงเป็นเครื่องประดับแฟชั่น หมุนเวียนไปอย่างรวดเร็ว กลุ่มเป้าหมายที่ใช้เครื่องประดับราคาไม่แพงจะขยายฐานมากกว่ากลุ่มผู้ใช้เครื่องประดับที่ทำจากอัญมณีแท้ที่มีราคาแพง แนวโน้มของเครื่องประดับจะแข็งขันกันที่การออกแบบเน้นความคิดสร้างสรรค์ในการเลือกวัสดุราคาถูกมาใช้ให้ดูมีราคา เครื่องประดับราคาถูกจะกลายเป็นอุตสาหกรรมที่แข็งขันอย่างสูงในระดับนานาประเทศดังจะเห็นได้จาก นักออกแบบตะวันตกที่ประสบความสำเร็จมีชื่อเสียงจากการออกแบบแฟชั่นเครื่องประดับเป็นส่วนมาก

From the research today, jewelry design from international country especially in Europe, the design and manufacturing of jewelry is totally different from the past thus fashion jewelry that is made from artificial gem and other materials for example : mirror, glass, plastic and beads to produce jewelry. The partial changes come from lack of genuine material which are highly in cost, but another is from the idea of postmodern artists involve changing design and material; the post modern's concept concern about freedom, unlike and non-tradition which is influenced by Dada and Pop Art. Those painting give the feeling of unusual, panic and wonder. Alexander Gilder, Sculptor who create his sculpture with wire and metal sheet. His exterior sculptures give the sense of strong and stable which people can perceive when they participate in it. The Gilder's arts give people use their imagination to sense the information of distorted shape which differ from other artist's sculptures. Gilder's well known sculpture is movable sculpture which moves by wind and motor. Most of his sculpture install on the ground and mount on the wall or ceiling. For large sculptures, they decorate in front of architectures which people can walk through or participate in it. The sculptures from Alexander Gulider has change the classic styles which emphasize in individual, realistic and history to contemporary art. He give precedence to audience and movement of the sculpture. Moving sculptures opens up creativity, which shows ideas of postmodern artists. From analysis Gilder's work, these are the result of summarize:
1. Most of the creation was inspired from nature, for example: animals body-from hens, cows, to flying birds by distortion in order to make them as geometric forms. The types of geometric forms used are circles, squares, and free-forms for the audience to imagine.

2. The designing of structure uses the free-form style which enables to focus and transform in all sides. Lines that are used as curves associates mostly with the straight lines.

3. The methods of production are engraving, weld (metal sheets), hand, and usage of wind and motors to produce the movement. Types of materials being used are metal sheets or plates, wires, ropes and other raw materials. With the lack of genuine gems and high production cost, new generation turn to the new idea of design. It is assumed that the freedom of thinking of Gilder is the point to change young jewelry designer's idea which trendy design or creativity is more value than expensive materials.

Newsday, costume jewelry play an important role in industrial fashion jewelry follow the need of target group. Jewelry designers have more freedom of idea than the past. They are not attach themselves with the luxury or classic style to create the piece of art. From the research, it shows the trend of jewelry design in the near future. It has to be simple forms or several objects to integrate. It does not need to be an expensive material. The plastic, glass, leather, wood, bone, wire or a piece of paper can be valuable Jewelry in those designs. Popularity in costume Jewelry usage is for beauty and distinction. Moreover, the Jewelry themselves are inexpensive and fashionable. The Consumer of costume jewelry expand rate more than classic jewelry which made from costly materials. Inexpensive Jewelry will be high competitive in the worldwide industry. As in Europe, most well know designers are successful from fashion jewelry design or costume design.

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

วรรณรัตน์ ตั้งเจริญ, สาขาวิชาการออกแบบทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

 

 

 

Downloads

Published

2015-04-02

How to Cite

ตั้งเจริญ ว. (2015). โครงการสร้างฐานข้อมูลการศึกษาศิลปะหลังสมัยใหม่และงานประติมากรรมของแอลลิกซานเดอะ แคลเดอ เพื่อพัฒนาสู่แนวโน้มการออกแบบเครื่องประดับ. Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences, 1(2, July-December), 14–23. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/32738