แนวทางการพัฒนาศักยภาพมัคคุเทศก์ทั่วไปอิสระเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (FREELANCE TOUR GUIDE COMPETENCY DEVELOPMENT GUIDELINES FOR ECOTOURISM)

Authors

  • สุภาพร สุกสีเหลือง ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ไสว รักษาชาติ สถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ชวิศร์ อรรถสาสน์ บริษัท ดีทแฮล์ม แทรเวิล ประเทศไทย

Keywords:

Freelance tour guide, Ecotourism

Abstract

บทคัดย่อ
      การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล แรงจูงใจในการประกอบอาชีพ จิตสำนึกในการรักษาระบบนิเวศและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รวมทั้งความพึงพอใจในการประกอบอาชีพมัคคุเทศก์ทั่วไปอิสระ 2) ปัญหาและอุปสรรคในการประกอบอาชีพมัคคุเทศก์ทั่วไปอิสระ และ 3) นโยบายในการบริหารจัดการของบริษัทนำเที่ยว ด้านค่าตอบแทน สวัสดิการ และแรงจูงใจ ซึ่งถือว่ามีความจำเป็นในยุคที่ชาวโลกประสบปัญหาวิกฤติการณ์โลกร้อนและสภาพอากาศปรวนแปร เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางการพัฒนาศักยภาพมัคคุเทศก์ทั่วไปอิสระเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ มัคคุเทศก์ทั่วไปอิสระประเภทนำเที่ยวภายในประเทศแก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ (Inbound) จำนวน 107 คน และผู้บริหารบริษัทนำเที่ยว จำนวน 5 คน โดยใช้แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการพัฒนามัคคุเทศก์ทั่วไปอิสระเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศนั้นควรประกอบด้วยพื้นฐาน 6 ด้าน ได้แก่ 1) การพัฒนาความรู้ มัคคุเทศก์ส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี แต่หลักสูตรในระบบเก่าไม่ได้มุ่งเน้นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มัคคุเทศก์ควรศึกษาหรืออบรมเพิ่มเติม เนื่องจากปัจจุบันการท่องเที่ยวสีเขียวเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น 2) การให้ค่าตอบแทน หน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องควรวางเกณฑ์การให้ค่าตอบแทนแก่มัคคุเทศก์เพื่อเป็นมาตรฐาน วิธีนี้จะช่วยแก้ปัญหามัคคุเทศก์ที่ได้รับค่าตอบแทนต่ำแล้วหาทางชดเชยด้วยการเอารัดเอาเปรียบนักท่องเที่ยวโดยพาไปซื้อสินค้าราคาแพงในร้านค้าที่ให้ค่าตอบแทนสูงแก่มัคคุเทศก์โดยไม่คำนึงถึงคุณภาพสินค้าเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ไม่ดีแก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ 3) การพัฒนาจริยธรรมและจิตสำนึกสาธารณะ การอบรมที่จัดขึ้นควรมีการสอดแทรกและปลูกฝังเรื่องจริยธรรม เพราะคุณสมบัติเหล่านี้จะทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความเชื่อถือ ไว้วางใจ 4) การสร้างแรงจูงใจและสวัสดิการ การให้รางวัลหรือเพิ่มค่าตอบแทนให้มัคคุเทศก์ที่ทำงานดีจะสามารถสร้างขวัญและกำลังใจทำให้มัคคุเทศก์ปฏิบัติงานได้ดีขึ้น 5) ควรมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ในกลุ่มมัคคุเทศก์ และ 6) ควรมีการจัดตั้งกองทุนสงเคราะห์หรือมูลนิธิเพื่อช่วยเหลือมัคคุเทศก์ในยามที่ประสบความเดือดร้อน บาดเจ็บ ทุพพลภาพ การให้กู้ยืมเงินในช่วงที่ไม่มีงานทำ หรือจำเป็นต้องใช้เงินเพื่อรักษาพยาบาลตนเองหรือบุคคลในความดูแล หรือการให้ความช่วยเหลือในยามชราหรือเมื่อหมดความสามารถในการทำงาน เพื่อสร้างความมั่นคงในอาชีพการงานสาขามัคคุเทศก์โดยเฉพาะ


  Abstract
      The purposes of this research were to study 1) personnel information, the motivation, the consciousness in environmental conservation and the satisfaction of tour guides in working 2) the obstacles and the problems in working as freelance tour guides and 3) management policy of tour companies including allowance, welfare and motivation. The sampling groups of the study consist of 107 inbound freelance tour guides and 5 executives of the recognized tour companies by using the questionnaire and interview methods. The data analysis was carried out through the application of percentage, arithmetic mean, and standard deviation whereas the qualitative data using the content analysis. The result of this study can generate the guidelines to develop freelance tour guide competency for ecotourism as follows; 1) Knowledge training-the tour companies should provide training courses on the essential knowledge related to environmental preservation and eco-system to free lance tour guides. 2) Standard allowance and welfare-the concerned government sectors should set the same standard of wages, allowances and other fringe benefits to freelance tour guides. 3) Motivation and primary welfares-the tour companies should provide primary welfares to create motivation to freelance tour guides for the sake of their security in career and their loyalty to the company. 4) Regularly provide trainings on both ecotourism and ethics in career to freelance tour guides. 5) It is advisable for freelance tour guides to exchange ideas, point of view among themselves and share working experience or the problems occurred while working in order to find possible solution in particular issue. Lastly, a foundation should be established to assist the freelance tour guides in need such as when sick, hurt, handicapped or get laid off from their job. In addition, the foundation will also increase the job security and help out during retirement, especially for a freelance tour guide.


Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

สุภาพร สุกสีเหลือง, ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ไสว รักษาชาติ, สถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ชวิศร์ อรรถสาสน์, บริษัท ดีทแฮล์ม แทรเวิล ประเทศไทย

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Downloads

Published

2015-04-03

How to Cite

สุกสีเหลือง ส., รักษาชาติ ไ., & อรรถสาสน์ ช. (2015). แนวทางการพัฒนาศักยภาพมัคคุเทศก์ทั่วไปอิสระเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (FREELANCE TOUR GUIDE COMPETENCY DEVELOPMENT GUIDELINES FOR ECOTOURISM). Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences, 1(2, July-December), 116–127. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/32767