การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการกับความมีวินัยในตนเองของนิสิตระดับปริญญาตรี หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Keywords:
Relationship, Self-disciplines, Undergraduate Students, Business Administration CurriculumAbstract
บทคัดย่องานวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการกับความมีวินัยในตนเองของนิสิตระดับปริญญาตรี หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต ภาคสมทบกับภาคปกติ ปีการศึกษา 2550 คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พร้อมทั้งเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของปัจจัยบางประการกับความมีวินัยในตนเอง ของนิสิต ภาคสมทบกับภาคปกติ ตลอดจนศึกษาน้ำหนักความสำคัญของปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อความมีวินัยในตนเองของนิสิต ภาคสมทบ กับนิสิตภาคปกติ และเปรียบเทียบน้ำหนักความสำคัญของปัจจัยบางประการของนิสิต ภาคสมทบ กับนิสิตภาคปกติ กลุ่มตัวอย่าง ได้มาจากการสุ่มอย่างเจาะจงเป็น นิสิตภาคสมทบ ชั้นปีที่ 4 จำนวน 219 คน กับ ภาคปกติ ชั้นปีที่ 4 จำนวน 171 คน รวมจำนวน 390 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การทดสอบค่า t ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ การทดสอบค่า F ค่าน้ำหนักความสำคัญ และค่าไค-สแควร์ (Chi-Square)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของปัจจัยบางประการของนิสิตภาคสมทบพบว่า ทุกปัจจัยมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยส่วนใหญ่สัมพันธ์กันทางบวก ยกเว้นปัจจัยด้านลักษณะมุ่งอนาคต มีความสัมพันธ์ทางลบกับปัจจัยด้านอื่นๆ ทุกด้าน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการกับความมีวินัยในตนเองของนิสิต ทุกปัจจัยมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความมีวินัยในตนเอง ยกเว้นปัจจัยด้านลักษณะมุ่งอนาคตมีความสัมพันธ์ทางลบกับความมีวินัยในตนเองของนิสิต
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณระหว่างปัจจัยบางประการทั้ง 9 ด้านกับความมีวินัยในตนเอง มีค่าเท่ากับ 0.707 ซึ่งสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยปัจจัยดังกล่าวสามารถทำนายความมีวินัยในตนเองได้ถูกต้องร้อยละ 49.9
2. สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของปัจจัยบางประการของนิสิตภาคปกติ ส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนปัจจัยด้านอิทธิพลของตัวแบบสัญลักษณ์ กับบุคลิกภาพความเป็นผู้นำ สัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทุกปัจจัยสัมพันธ์กันทางบวก ยกเว้นปัจจัยด้านลักษณะมุ่งอนาคตสัมพันธ์ทางลบกับปัจจัยด้านอื่นๆ ทุกด้าน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการกับความมีวินัยในตนเองของนิสิต ทุกปัจจัยมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความมีวินัยในตนเองของนิสิต ยกเว้นปัจจัยด้านลักษณะมุ่งอนาคตมีความสัมพันธ์ทางลบกับความมีวินัยในตนเองของนิสิต
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณระหว่างปัจจัยบางประการทั้ง 9 ด้าน กับความมีวินัยในตนเองมีค่าเท่ากับ 0.680 ซึ่งสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยปัจจัยดังกล่าวสามารถทำนายความมีวินัยในตนเองได้ถูกต้องร้อยละ 46.2
3. สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณของปัจจัยบางประการกับความมีวินัยในตนเอง ของนิสิตทั้ง 2 กลุ่ม แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
4. น้ำหนักความสำคัญของปัจจัยด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความรับผิดชอบ และอิทธิพลของตัวแบบสัญลักษณ์ของนิสิตภาคสมทบ ส่งผลทางบวกต่อความมีวินัยในตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และปัจจัยด้านความอดทนส่งผลทางบวกต่อความมีวินัยในตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยด้านอื่นๆ ส่งผลต่อความมีวินัยในตนเอง อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
5. น้ำหนักความสำคัญของปัจจัยด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความรับผิดชอบของนิสิตภาคปกติ ส่งผลทางบวกต่อความมีวินัยในตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และปัจจัยด้านอิทธิพลของตัวแบบสัญลักษณ์ส่งผลทางบวกต่อความมีวินัยในตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยด้านอื่นๆ ส่งผลต่อความมีวินัยในตนเอง อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
6. น้ำหนักความสำคัญของปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อความมีวินัยในตนเองของนิสิตทั้ง 2 กลุ่ม แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
Abstract
This research aims to study the relationships between some factors and self-discipline of part time and full time undergraduate students in Business Administration Curriculum,2550 academic year, Faculty of Social Science at Srinakharinwirot University. Also to compare the relationships between some factors and self-discipline, Including to study the weight of importance of some factors that effected on self-discipline, and to compare the weight of importance of some factors between the part time and full time students.
The sample comprised of 219 part time students and 171 full time students totaling 390 students through purposive sampling. The instrument used to collect data were two sets of questionnaires. The statistics used for analyzing data were coefficient, t-test, coefficient of multiplication, F-test, the weight of importance and chi-square.
The research finding were as follows:
1. The coefficient of some factors from the part time students found that all factors had relationships with statistically significance difference at 0.01 level, largely with positive relationship. Only factor that aim at future showed negative relationships with all other factors. The coefficient between some factors and self-discipline found that all factors had positive relationships with self-discipline except factor that aim at future.
The coefficient of multiplication between some factors of the 9 sectors and self-discipline was 0.707 with relationships statistically significance difference at 0.01 level. Such factors had a combination measurement with self-discipline which can demonstrate a 49.9 correctness.
2. The coefficient of some factors from the full time students found that the majority had relationships with statistically significance difference at 0.01. The effects on the symbol and the leadership characteristic had relationships with statistically significance difference at 0.05, all of which with positive relationship except the factors that aim at future which have negative relationship with all sectors. The coefficient between some factors and self-discipline of students showed that all factors had a positive relationship with self-discipline except the factors that aim at future.
The coefficient of multiplication between some factors of the 9 sectors was 0.680 with statistically significance difference relationship at 0.01 level. Such factors had a combination measurement with self-discipline which can demonstrate a 46.2 correctness.
3. There was no statistically significance difference between the coefficient of multiplication of some factors and self-discipline of the part time and full time students.
4. The weight of importance of the part time students on learning achievement,responsibility and the effects of symbol which had positive results on self-discipline with statistically significance difference at 0.01 level, and the endurance factor also had positive results on self-discipline with statistically significance difference at 0.05 level.
5. The weight of importance of the full time students on learning achievement and responsibility had positive results on self-discipline with statistically significance difference at 0.01 level, and the effects of symbol had positive results on self-discipline with a statistically significance difference at 0.05.
6. There was no statistically significance difference on the weight of importance of some factors that had effects on self-discipline between the part time and full time students.
Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2015-04-03
How to Cite
สนธิรัตน์ ฉ. (2015). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการกับความมีวินัยในตนเองของนิสิตระดับปริญญาตรี หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences, 1(1, January-June), 41–53. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/32783
Issue
Section
บทความวิจัย
License
Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences is licensed Under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivs 4.0 International (CC-BY-NC-ND 4.0) License, Unless Otherwise Stated. Please Read Journal Policies Page for More Information on Open Access, Copyright and Permissions.